ดูแบบคำตอบเดียว
  #20  
เก่า 27-12-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


นักวิชาการแนะทุกฝ่ายรับมือกับภัยธรรมชาติ



นายอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา อดีตนักวิทยาศาสตร์ ผู้คิดค้นระบบการลงจอดยานอวกาศบนดาวอังคารร่วมกับองค์การนาซ่า กล่าวในงานสัมมนา “วิจัยนำการพัฒนา..เพื่อเกษตรกรไทย” ว่า จากภาวะโลกร้อนได้ทำให้อุณหภูมิบนโลกร้อนขึ้น จนน้ำแข็งขั้วโลกเหนือเกิดละลายมาต่อเนื่อง ปริมาณน้ำทะเลจึงเพิ่มขึ้นมาก น้ำหนักโลกจึงเกิดการเอียงจากปริมาณน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น จึงเกิดภาวะความโน้มเอียงเพราะการถ่วงน้ำหนักจากปริมาณน้ำมาอยู่ขั้วโลกใต้ จึงทำให้เปลือกโลกเคลื่อนตัวและจะเคลื่อนตัวเร็วขึ้นอาจทำให้เกิด จนเกิดปัญหาภัยธรรมชาติจากสึนามิตามมา

“ปัญหาสินามิในประเทศไทยรุนแรงซ้ำอีก และอาจจะมาทั้งทางอ่าวไทยและฝั่งตะวันตก แต่หากมาจากฟิลิปปินส์ เมื่อติดตั้งระบบเตือนภัยแล้วยังสามารถอพยพประชาชนหนีได้ทัน ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่รุนแรงยังเกิดขึ้นอีกหลายอย่างจึงต้องหาทางป้องกันทั้งน้ำทะเลหนุนสูงจนกรุงเทพฯจมหายใต้ท้องทะเล ดังนั้นทุกคนต้องช่วยลดปัญหาโลกร้อนไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นไปอีก” นายอาจองกล่าว

นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีความผันผวนสูงมาก และขณะนี้ไทยยังต้องเจอกับกระแสน้ำอุ่นไหลทางทะเลเข้ามาในแถบนี้ จึงต้องเผชิญกับพายุฝนตกหนักในปีหน้า และอาจมีความรุนแรงมากกว่าในปีนี้ โดยเฉพาะในแถบภาคใต้ เนื่องจากเป็นการเคลื่อนเข้าฝั่งแบบพายุที่รุนแรง ทุกฝ่ายจึงต้องเตรียมรับมือ สิ่งเหล่านี้เกิดจากภาวะโลกร้อนที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งนั้นไม่ใช่มาจากธรรมชาติ

ที่สำคัญใต้ท้องทะเลได้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ซึ่งเป็นการตายของปะการังจำนวนมากใต้ท้องทะเลในพื้นที่ทะเลแถบเอเชียในรอบตลอดชั่วอายุคนที่ผ่านมา เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลเฉลี่ยได้สูงขึ้นจาก 26-27 องศาเซลเซียส เพิ่มเป็น 32 องศาเซลเซียส เป็นสัญญาณปรากฏการลานิญญ่าและภาระโลกร้อนที่เกิดขึ้น ทำให้น้ำทะเลระเหยเป็นน้ำฝนง่ายขึ้น ฝนจะตกหนักและอากาศมีความผันผวนมาก ภัยธรรมชาติจะรุนแรงเพิ่มขึ้นอีกจากที่ผ่านมา

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า จากสถิติการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย ส่วนใหญ่มาจากการใช้พลังงานน้ำมันจากเครื่องยนต์และส่วนต่างๆ โดยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ (CO2) 193 ล้านตันต่อปี หรือมีสัดส่วนร้อยละ 56 รองลงมาคือภาคการเกษตร ปล่อยก๊าซมีเทน 83 ล้านตันต่อปี สัดส่วนร้อยละ 24 ส่วนที่เหลือเป็นภาคอุตสาหกรรมและอื่นๆ สัดส่วนร้อยละ 5-6 และภาคอุตสาหกรรมจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ในส่วนของ ธ.ก.ส.ได้มีโครงการรณรงค์ให้ประชาชนสร้างสิ่งที่ดูดก๊าซ (CO2) ที่ลอยอยู่ในอากาศ ด้วยการปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่เพราะเป็นพืชดูด CO2 มาใช้สังเคราะห์แสง ด้วยโครงการธนาคารต้นไม้ แต่ต้องส่งเจ้าหน้าที่ออกไปให้ความรู้กับเกษตรกรด้วยการลดพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนมาใช้ปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ปกติปลูกข้าวโพด 20 ไร่ ก็จะให้ลดเหลือ 15 ไร่ โดยจะช่วยแนะนำพัฒนาเพิ่มผลผลิตให้ได้เพิ่มเติมหรือมากกว่าที่ผ่านมา สำหรับพื้นที่เหลืออีก 5 ไร่จะปลูกต้นไม่ขนาดใหญ่ โดยจะชักชวนบริษัทขนาดใหญ่ช่วยแนะนำการปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ ที่สำคัญงานวิจัยของ ธ.ก.ส. พบว่าการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ พืชดังกล่าวจะช่วยดูดซับก๊าซ (CO2)ได้สูงมาก ขณะที่พืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีจะไม่ดูดซับก๊าซเรือนกระจก ภาคเกษตรจึงมีส่วนช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง



จาก .................. ข่าว อสมท. MCOT News วันที่ 26 ธันวาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม