ดูแบบคำตอบเดียว
  #5  
เก่า 15-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,248
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


ครบรอบหนึ่งปีอุบัติการณ์น้ำมันรั่วที่รัสเซีย : ถึงเวลาหันหลังให้เชื้อเพลิงฟอสซิลหรือยัง? ................ โดย Olesya Vikulova

เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว น้ำมันกว่าสองหมื่นตันรั่วไหลลงสู่ดินและน้ำที่เมืองนอริลสก์ในเขตวงกลมอาร์กติก นับเป็นภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์


สภาพแม่น้ำ Ambarnaya ที่กลายเป็นสีแดงเพราะน้ำมัน ? Anonymous / Greenpeace

หายนะทางธรรมชาติครั้งนี้ก่อให้เกิดแรงกดดันมหาศาลจากทั้งประชาชนและสื่อมวลชน ผนวกกับหลักฐานของกรีนพีซ รัสเซีย ทำให้เรื่องดำเนินไปถึงชั้นศาล

ในที่สุดบริษัทนอริลสก์ นิกเกิล (Norilsk Nickel) ซึ่งทำให้เกิดอุบัติการณ์ครั้งนี้ ต้องจ่ายค่าชดใช้เป็นเงินประมาณ 6.2 หมื่นล้านบาท นับเป็นค่าปรับในประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซีย

อย่างไรก็ดี ราคาดังกล่าวไม่สามารถชดเชยผลกระทบต่อชนพื้นเมืองและชนกลุ่มน้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้


ชาวประมงพื้นบ้านถือแหที่เรียกว่า Kresti บริเวณใกล้แม่น้ำ Pyasina ? Greenpeace / Dmitry Sharomov

เหตุการณ์เวียนมาครบรอบหนึ่งปี เราพาย้อนดูว่าหลังจากหายนะครั้งนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และรัสเซียมีแผนรับมือกับเหตุการณ์ลักษณะนี้อย่างไรในอนาคต


อุบัติการณ์ครั้งนี้ แท้จริงแล้วแค่หนึ่งในหลายร้อย

จริงๆแล้ว เหตุการณ์น้ำมันรั่วเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 เป็นแค่หนึ่งในหลายร้อยครั้งที่เกิดขึ้นทั่วรัสเซียทุกปี

อย่างสัปดาห์ที่แล้ว ที่สาธารณรัฐโคมี (Komi Republic) ก็มีคลังน้ำมันที่ถูกทิ้งร้างทำน้ำมัน 50-70 ลิตรรั่วลงแม่น้ำก่อนไหลลงมหาสมุทรอาร์กติก จนรัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในบริเวณใกล้เคียง


การทำความสะอาดแม่น้ำ Kolva จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ? Greenpeace Russia

น้ำมันรั่วกลายเป็นปัญหาการเมืองระดับสูงของรัสเซีย เมื่อปี 2561 มีสารจากประธานาธิบดี ระบุว่ามีอุปกรณ์ 60-70% ที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย มีการใช้งานเกินอายุของมัน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมจากอุบัติเหตุคิดเป็นมูลค่ากว่า 600-700 ล้านรูเบิลต่อปี (ประมาณ 300 ล้านบาท) และจะส่งผลเสียต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ


อุดรอยรั่ว

หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว กรีนพีซยื่นข้อเรียกร้องต่อ มีฮาอิล มีชุสติน (Mikhail Mishustin) นายกรัฐมนตรีรัสเซีย เพื่อให้มีการตรวจสอบคลังน้ำมันที่เป็นระบบและเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบให้มากขึ้น ทำให้รัฐบาลสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบคลังน้ำมันอื่นๆทันที

สิบเดือนให้หลัง Rostekhnadzor ซึ่งเป็นองค์กรด้านนิเวศวิทยา เทคโนโลยี และนิวเคลียร์ของรัฐบาลรัสเซีย รายงานผลการตรวจสอบคลังน้ำมัน โดยแจงว่าพวกเขาพบการฝ่าฝืนมาตรฐานความปลอดภัยกว่า 3626 จุด และมีการปรับเงิน 6.5 ล้านบาท


นักกิจกรรมกรีนพีซ Elena Sakirko ที่หน้า Nornickelplant ซึ่งเป็นสถานที่ๆเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วในรัสเซียวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ? Greenpeace / Dmitry Sharomov


สิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน

หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่เป็นหายนะต่อสิ่งแวดล้อม กรีนพีซเลยสร้าง แผนที่ระบุแห่งกักเก็บน้ำมันในอาร์กติก และจะส่งผลการตรวจสอบล่าสุดให้ Rostekhnadzor พร้อมข้อเรียกร้องให้ตรวจสอบคลังน้ำมันทั่วประเทศ

แม้ปัจจุบันจะมีการเข้มงวดเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น แต่เราก็ยังเชื่อว่าแค่นี้ยังไม่พอ อุบัติเหตุที่เกี่ยวกับน้ำมันก็ยังเกิดขึ้นบ่อยๆ การตรวจสอบอยู่ตลอดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ รวมไปถึงความโปร่งใส เพื่อให้ประชนชนคนทั่วไปเห็นว่าความเสี่ยงอยู่ตรงไหนและต้องไหนต้องปรับปรุง

แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด รัฐบาลรัสเซียควรยกเลิกการใช้น้ำมันเป็นแหล่งเชื้อเพลิงและหันมาใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หันหลังให้เศรษฐกิจที่อิงกับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลและมาพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวแทน

เมื่อปีที่แล้ว กรีนพีซรัสเซียและพันธมิตร ได้เสนอแผนการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด โดยใช้ชื่อว่า The Green Deal ซึ่งจะเป็นแผนพัฒนาในระยะยาวให้รัสเซียใช้รับมือกับวิกฤติสภาพภูมิอากาศและรับมือกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วอย่างที่ผ่านๆมา

รายงานฉบับนี้ช่วยให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ไม่อิงกับเชื้อเพลิงฟอสซิล และสร้างอุตสาหกรรมใหม่ อาชีพใหม่ ที่ดีต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม


https://www.greenpeace.org/thailand/...ilsk-disaster/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม