ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 18-09-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,248
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


"เรือของพ่อ ต.91" มนต์เสน่ห์แห่งอ่าวดงตาล แลนด์มาร์กท่องเที่ยวใหม่เมืองสัตหีบ

ศูนย์ข่าวศรีราชา -ถึงที่หมาย! เรือของพ่อ ต.91 มนต์เสน่ห์แห่งอ่าวดงตาล หลังกองเรือยุทธการใช้เวลากว่า 10 วัน ทำการเคลื่อนย้ายมายังอุทยานประวัติศาสตร์ แลนด์มาร์กแห่งใหม่ทางการท่องเที่ยวเมืองสัตหีบ



วันนี้ (17 ก.ย.) กองทัพเรือ โดยกองเรือยุทธการ ได้ทำการเคลื่อนย้ายเรือของพ่อ ต.91 มายังโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ เรือของพ่อ "เรือ ต.91" ซึ่งจัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ณ อุทยานประวัติศาสตร์ อ่าวดงตาล กองเรือยุทธการ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เป็นที่เรียบร้อยหลังดำเนินเคลื่อนย้ายเป็นเวลานานกว่า 10 วัน เพื่อเตรียมทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 ก.ย.นี้



สำหรับโครงการอุทยานประวัติศาสตร์เรือของพ่อ "เรือ ต.91" ถือเป็นอนุสรณ์สำหรับคัญของชาวทหารเรือ ในการรำลึกถึงพระอัจฉริยภาพในการออกแบบต่อเรือของในหลวง ร.๙ ที่ทำให้กองทัพเรือไทยได้มีเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.91 ที่ต่อขึ้นเองเป็นลำแรก

และในอนาคตยังจะเป็นแหล่งการเรียนรู้อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งยังจะเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


https://mgronline.com/local/detail/9630000095399


*********************************************************************************************************************************************************


เออาร์วี จับมือ เมอร์เมด จัดตั้ง "ซีเควสต์" พัฒนาหุ่นยนต์และเอไอให้บริการใต้ทะเล

เออาร์วีจับมือเมอร์เมดฯ ตั้งบริษัทร่วมทุน "ซีเควสต์" เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และเอไอสำหรับให้บริการงานวิศวกรรมใต้ทะเลในเชิงพาณิชย์ แก่บริษัทน้ำมันและก๊าซฯทั้งในและต่างประเทศ คาดเริ่มให้บริการในปี 2564



บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (เออาร์วี) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้ร่วมทุนกับบริษัท เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด (MSST) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) หรือเมอร์เมด จัดตั้ง บริษัท ซีเควสต์ จำกัด ขึ้น เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์สำหรับให้บริการงานวิศวกรรมใต้ทะเลในเชิงพาณิชย์ แก่บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และบริษัทด้านพลังงานทดแทนที่มีการดำเนินงานในทะเล ทั้งในภูมิภาคเอเชียและในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก

บริษัท ซีเควสต์ จำกัด (ZeaQuest Co.,Ltd) มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นจำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 155 ล้านบาท และมีสัดส่วนการถือหุ้นระหว่าง เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส และ เออาร์วี เท่ากันที่ร้อยละ 50 โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในงานบริการวิศวกรรมใต้ทะเล ที่ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ในระดับสากล

นายธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี กล่าวว่า เออาร์วี มีความเชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ที่ใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียม รวมไปถึงอุตสาหกรรมและธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือจากด้านพลังงาน ความร่วมมือของทั้งสองบริษัทฯ ในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงที่เออาร์วีพัฒนาขึ้น เพื่อให้บริการในการสำรวจ ตรวจสอบ และซ่อมบำรุงโครงสร้างและอุปกรณ์ใต้ทะเล เพื่อกลุ่มธุรกิจต่างๆ ทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก โดยมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งของเมอร์เมดฯ เป็นแรงสนับสนุน

นอกจากนี้ เออาร์วียังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น หุ่นยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติไร้สาย หรือ เอ็กซ์พลอเรอร์ (Xplorer) หุ่นยนต์ซ่อมบำรุงท่อใต้น้ำ หรือนอติลุส (Nautilus) รวมทั้งเทคโนโลยีทางด้านปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ผลตรวจสอบ หรือการใช้ Internet of Things (IoT) ในการสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลซึ่งตั้งเป้าที่จะให้บริการในเชิงพาณิชย์ภายในปี 2564 ดังนั้น บริษัท ซีเควสต์ จำกัด ที่จัดตั้งร่วมกันนี้จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ เออาร์วี และเมอร์เมดฯ ตลอดจนอุตสาหกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจากเทคโนโลยีเหล่านี้ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ประเทศไทยด้วย

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เมอร์เมดฯ ดำเนินธุรกิจในด้านการให้บริการงานวิศวกรรมใต้ทะเล มานานกว่า 30 ปี และมีฐานปฏิบัติการที่กระจายอยู่ในหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหราชอาณาจักร เป็นต้น บริการของเมอร์เมดฯ มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรือวิศวกรรมใต้ทะเล อุปกรณ์ดำน้ำแบบพิเศษ ยานสำรวจใต้ทะเล ROV เรือขุดเจาะนอกชายฝั่ง ฯลฯ เมอร์เมดฯ จึงสามารถให้บริการงานวิศวกรรมใต้ทะเลได้แบบครบวงจร และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามาโดยตลอด สิ่งที่ลูกค้าต้องการจากเมอร์เมดฯ คือ เทคโนโลยีที่ทันสมัยและบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ซึ่งการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกันของเมอร์เมดฯ และ เออาร์วี ในครั้งนี้ นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะช่วยยกระดับงานบริการงานวิศวกรรมใต้ทะเลของเมอร์เมดฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ของ เออาร์วี ในระยะเริ่มต้น บริษัท ซีเควสต์ วางแผนที่จะนำหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ไปให้บริการงานด้าน สำรวจ ตรวจสอบ ติดตั้ง รื้อถอน และซ่อมบำรุงโครงสร้างหรืออุปกรณ์ใต้ทะเล ฯลฯ แก่บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อน หลังจากนั้นจะขยายการบริการไปสู่ภูมิภาคตะวันออกกลางและทั่วโลกต่อไป


https://mgronline.com/business/detail/9630000095379


*********************************************************************************************************************************************************


'Oceanbird' เรือขนส่งสินค้าพลังงานลม! นวัตกรรมเพื่อโลกกรีนจากสวีเดน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 90%


ปีกเรือขนาดยักษ์ของ Oceanbird สามารถหดกลับได้ถึงหนึ่งในสี่ของความยาว

นับเป็นนวัตกรรมที่น่าปลื้มใจอย่างมาก เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางทะเลยังเป็นหัวใจในการส่งสินค้าระหว่างประเทศไปทั่วโลกโดยคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับการขนส่งแบบอื่นๆ

แต่ทุกวันนี้ เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ยังใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก นั่นเองที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาลทุกวันจนสร้างผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน

เมื่อไม่นานนี้ บริษัท Wallenius Marine สัญชาติสวีเดน เปิดตัว Oceanbird เรือขนส่งสินค้าพลังลมขนาดยักษ์ ความยาว 200 เมตร กว้าง 40 เมตรและสูง 100 เมตร สามารถขนส่งรถยนต์ได้มากถึง 7,000 คัน และที่สำคัญคือจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือกระจกได้ถึง 90% เพราะขับเคลื่อนด้วยพลังลมเป็นหลักโดยใช้เทคโนโลยีปีกดักลม 5 ปีก ตั้งอยู่กลางลำเรือ

อย่างไรก็ตาม ในแง่ของความเร็วแม้จะช้ากว่าเรือที่ใช้เครื่องยนต์ปกติ คือสามารถข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้ในเวลา 12 วัน เมื่อเทียบกับเรือขนส่งสินค้าปกติที่ใช้เวลา 7 วัน แต่ข้อดีกว่าคือใช้พลังงานสะอาด และมีต้นทุนต่ำกว่าในระยะยาว

ถ้าสังเกตปีกเรือที่มีความสูง 80 เมตร ทำให้เรือมีความสูงเหนือแนวน้ำประมาณ 100 เมตร แต่ด้วยโครงสร้างแบบยืดหดได้ก็ลดระดับลงได้ ส่งผลให้เรือมีความสูงเหนือแนวน้ำราว 50 เมตร ซึ่งจะมีประโยชน์ตอนลอดใต้สะพาน หรือหากจำเป็นต้องลดพื้นที่ผิวของปีกนกเนื่องจากลมแรง รวมถึงให้สามารถเข้าและออกจากท่าเรือได้ และเพื่อเป็นมาตรการด้านความปลอดภัยเรือลำนี้จะติดตั้งเครื่องยนต์เสริมซึ่งก็ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดด้วย

?เวลานี้เป็นเรื่องจำเป็นที่การขนส่งรูปแบบต่างๆ ต้องตระหนักถึงเรื่องความยั่งยืน มีการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งจากงานวิจัยของเราพบว่า ลมเป็นพลังงานที่น่าสนใจที่สุดสำหรับการขนส่งทางมหาสมุทร เรือลำแรกจะเป็นเรือบรรทุกสินค้า แต่แนวคิดนี้สามารถใช้ได้กับเรือทุกประเภทเช่นเรือสำราญ สำหรับ oceanbird เรากำลังสร้างนวัตกรรมเรือขนส่งสินค้าแห่งอนาคต? ผู้บริหารของ Wallenius Marine กล่าว

สิบปีต่อจากนี้จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทุกคนจะเห็นการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี และการปรับตัวของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เพื่อไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000095128
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม