ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 04-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ต้องเร่งจัดการ! วิกฤตสภาพภูมิอากาศ เพราะคือโอกาสมูลค่ากว่า 12.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



รายงานฉบับใหม่จาก Deloitte Economics Institute ชี้ให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องตื่นตัวในการรับมือกับสภาพอากาศที่วิกฤตขึ้นเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการสูญเสียศักยภาพทางเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 28 ล้านล้านดอลลาร์ในอีก 50 ปีข้างหน้า

รายงาน Southeast Asia?s
turning point: How climate action can drive our economic future ยังเผยวิธีที่จะทำให้ภูมิภาคแห่งนี้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นถึง 12.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเวลาเดียวกัน โดยการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก และตระหนักถึงศักยภาพในการ "ลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์" ให้กับโลกใบนี้

"ประเด็นนี้ถือเป็นวาระเร่งด่วนสำหรับประเทศต่างๆ และภาครัฐ ต้องหาวิธีในการรับมือตลอดช่วงระยะสิบปีต่อจากนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายเกินเยียวยาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าธุรกิจต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่ประเทศต่าง ๆ ดังกล่าวกลับไม่ได้เดินไปบนเส้นทางแห่งความยั่งยืนนี้อย่างสอดคล้อง เนื่องจากมีสภาวะแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจที่ต่างกันออกไป เพราะฉะนั้น ในการที่จะเริ่มการเปลี่ยนแปลงได้นับตั้งแต่ตอนนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องคว้าโอกาสเล็กน้อยที่มีนี้ เพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการดำเนินการและจัดการปัญหาด้านสภาพอากาศ โดยหยุดให้ความสำคัญแค่ในเรื่องของต้นทุน แล้วหันมาพิจารณาประเด็นของการเติบโตและความสำเร็จทางเศรษฐกิจแทน" ฟิลลิปส์ เหยิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำดีลอยท์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

หากทุกประเทศยังคงนิ่งเฉยในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี้แล้ว อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอาจสูงขึ้นถึง 3 องศาเซลเซียสเป็นอย่างน้อยภายในปลายศตวรรษนี้ ซึ่งจะทำให้ผู้คนใช้ชีวิตและทำงานหาเลี้ยงชีพได้ลำบากขึ้น เนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ผลผลิตทางการเกษตรลดลง โครงสร้างพื้นฐานได้รับความเสียหาย รวมถึงความท้าทายอื่น ๆ ที่จะตามมาอีกนับไม่ถ้วน

เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขในภูมิภาคนี้ จะเทียบเท่ากับการที่เราได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในทุก ๆ 9 เดือน ต่อจากนี้ไปจนถึงปี 2613

ยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยของดีลอยท์ยังแสดงให้เห็นว่า หากรัฐบาล ธุรกิจ และชุมชนต่าง ๆ เดินหน้ารับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็วและเด็ดขาดภายในทศวรรษหน้าแล้ว เราจะสามารถจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไว้ได้ที่ประมาณ 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี 2593 ซึ่งถือเป็นกรณีหนึ่งที่จะช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่นของโลก ในขณะเดียวกัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังสามารถบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้ด้วยการคิดค้นผลิตภัณฑ์และการบริการใหม่ ๆ รวมถึงการเตรียมโซลูชันทางการเงินไว้ให้แก่โลก ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้สิ่งเหล่านี้ในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในภายภาคหน้า

"เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถยืนหยัดเพื่อให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 12.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในระยะเวลา 50 ปีได้ หากพิจารณาถึงแค่ปี 2613 เพียงปีเดียวแล้ว เรื่องนี้จะหมายความว่า เราจะได้ประโยชน์เท่ากับ 80% ของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน" มาร์คัส เงิน หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์ของดีลอยท์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว "โลกจำเป็นต้องเปลี่ยนสู่เส้นทางใหม่ที่มีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรร่วมแรงร่วมใจเพื่อทำให้สถานการณ์โดยรวมในภูมิภาคของเราดีขึ้น เพื่อที่จะเติบโตต่อไปได้ในอนาคต"

"มันไม่ใช่เรื่องของปาฏิหาริย์ โลกของเรามีโซลูชันที่จะมาช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศนี้บ้างอยู่แล้ว องค์กรชั้นนำระดับโลกได้เข้ามามีบทบาทอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และให้บริการทางเทคโนโลยีที่ช่วยจัดการกับความเสี่ยงอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศให้กับภูมิภาคนี้และทั่วโลก"

อีวอน จาง หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืนของดีลอยท์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสริม "เราจำเป็นต้องร่วมมือกันในการกำหนดเส้นทางที่เป็นไปได้ เพื่อโลกแห่งอนาคตที่มีการปล่อยมลภาวะต่ำ โดยใช้ประโยชน์จากความช่างคิดของมนุษย์ในห่วงโซ่อุปทาน การผลิตที่มีความยืดหยุ่น และการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบเพื่อสอดรับต่อความต้องการของโลก"

รายงานของดีลอยท์ได้แบ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ออกเป็นสี่ระยะสำคัญ โดยเริ่มต้นด้วยการที่ประเทศและธุรกิจต่าง ๆ ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ในการที่จะรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเสียตั้งแต่ตอนนี้ และพัฒนาหรือขยายกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องให้มีความครอบคลุม การตัดสินใจดังกล่าวจะช่วยให้เศรษฐกิจต่าง ๆ สามารถเริ่มลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ตั้งแต่ตอนนี้ไปจนถึงปี 2573

ตั้งแต่ปี 2573 ถึงปี 2583 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโลกจะต้องเดินเคียงคู่กันไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ถือเป็นการทำงานร่วมกันในการลดการปล่อยคาร์บอนโดยแก้ปัญหาในแง่ของวิธีการผลิตและการใช้พลังงาน

ตั้งแต่ปี 2583 ถึงปี 2593 จะเป็นช่วงเวลาสิบปีแห่งการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิของโลกจะไม่พุ่งสูงขึ้นถึง 3 องศาเซลเซียส หรือมากกว่านั้น ภายในปี 2593 กระบวนการลดการปล่อยคาร์บอนที่รับนำมาใช้โดยอุตสาหกรรมมลพิษสูงน่าจะเกือบสมบูรณ์แล้ว ต้นทุนของวิธีการต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะเริ่มลดลง และเราจะเริ่มเห็นถึงผลกำไรทางเศรษฐกิจสุทธิในวงกว้าง

หลังปี 2593 เป็นต้นไป เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลและนำไปสู่ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกือบเป็นศูนย์แม้จะยังคงเดินหน้าทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไป และภายในสิ้นศตวรรษนี้ อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นก็จะถูกจำกัดไว้แค่ที่ 1.5 องศาเซลเซียสเท่านั้น


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000087194
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม