ดูแบบคำตอบเดียว
  #6  
เก่า 28-08-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,204
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


หน้ากากอนามัย 5,500 ตันไปจบลงที่ไหน ................... โดย เจนนี เยห์

กว่าหกเดือนแล้วที่ COVID-19 ได้สร้างหายนะให้กับโลก และหน้ากากอนามัยก็ได้กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดครั้งประวัติกาลนี้ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของการใช้หน้ากากอนามัยชนิดใช้แล้วทิ้งก็ได้สร้างผลกระทบที่ไม่มีใครต้องการต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน หน้ากากอนามัยจำนวนมากที่ถูกทิ้งอยู่ตามชายฝั่งของ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส จีน และไต้หวัน คือหลักฐานของวิกฤตินี้ ในเวลานี้หน้ากากอนามัยได้กลายมาเป็นปรากฏการณ์ทางสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับปรากฏการณ์ทางสังคมโดยไม่ต้องสงสัย


หน้ากากอนามัย 5,500 ตันถูกผลิตขึ้นภายใน 3 เดือน

จากการประเมินโดย กรีนพีซ ไต้หวัน ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์จนถึงกลางเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงที่การระบาดมีความรุนแรงสูงสุดนั้น ไต้หวันได้ผลิตและใช้หน้ากากอนามัยมากถึง 1.3 ล้านชิ้นโดยประมาณ มีการประเมินว่าหน้ากากแต่ละอันมีน้ำหนัก 4 กรัม จะเทียบได้กับน้ำหนัก 5,500 ตันของขยะทั่วไปที่ถูกสร้างขึ้นภายในระยะเวลาสามเดือน และเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น รถขยะหนึ่งคันสามารถบรรทุกขยะได้เที่ยวละ 5 ตัน ดังนั้นในช่วงเวลาสามเดือนนั้นไต้หวันได้ผลิตหน้ากากมากพอที่เติมรถขยะได้ 1,100 คัน ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยกฎและข้อบังคับที่มีอยู่เกี่ยวกับการทิ้งหน้ากากอนามัย ถือว่าหน้ากากที่ใช้แล้ว "ไม่สามารถรีไซเคิลได้" เพราะอาจมีการปนเปื้อนและอาจนำไปสู่การติดเชื้อทางอ้อมและแพร่เชื่อไวรัสได้หากเข้าสู่ระบบรีไซเคิล

หน้ากากอนามัยที่ใช้ในโรงพยาบาล หรือ ศูนย์การแพทย์ต่าง ๆ จะได้รับการจัดการโดยบริษัท class-A และหน้ากากติดเชื้อก็จะถูกแยกไปกำจัดโดยเฉพาะ เนื่องจากมีกลไกควบคุมการกำจัดขยะทางการแพทย์อยู่แล้ว หน้ากากอนามัยจากศูนย์การแพทย์ต่าง ๆ ก็จะถูกจัดการเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามหน้ากากอนามัยที่ใช้โดยบุคคลทั่วไปจะยังไม่ชัดเจนว่าเป็น "ขยะทั่วไป" หรือ "ขยะทางการแพทย์"

การที่มีหน้ากากใช้แล้วจำนวนมหาศาลระหว่างการระบาด ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ (Ministry of Health and Welfare and Environmental Protection Administration) พยายามสื่อสารและให้ความรู้เรื่องการกำจัดหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีกับสาธารณชนผ่านการแถลงข่าว เว็บไซต์ และแพลตฟอร์มของสื่อสังคมออนไลน์ ในขณะเดียวกันบทลงโทษผู้ทิ้งขยะไม่ถูกที่ก็เพิ่มขึ้นจาก 1,200 มาเป็น 3,600 ดอลลาร์ไต้หวัน โดยที่โทษปรับสูงสุดอยู่ที่ 6,000 ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนั้นรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นก็ได้ยกระดับการตรวจสอบ การสื่อสารกับสาธารณชน และเครื่องมือการจัดการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน้ากากที่ใช้แล้ว ในขณะเดียวกันก็ได้เชิญชวนหน่วยงานและสำนักงานของรัฐจำนวนมากให้จัดเตรียมถังขยะสำหรับการทิ้งหน้ากากอนามัย


หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วสร้างความเสี่ยง 4 ประการที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

1. หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วสร้างความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ประการแรก สารเคมีที่อยู่ในหน้ากากอาจเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อม นอกเหนือไปจากผ้าที่ขึ้นรูปจากเส้นใยโดยตรง (non-woven fabric) และถ่านกัมมันต์ หน้ากากอนามัยยังประกอบด้วยพอลิโพรไพลีน (Polypropylene) ในปริมาณมาก ซึ่งเป็นพลาสติกที่ใช้เวลานานในการย่อยสลายและปลดปล่อยสารพิษจำนวนมากระหว่างกระบวนการนี้ เนื่องด้วยหน้ากากทั้งหมดที่ขายอยู่ตามท้องตลาดจะต้องผ่านการทดสอบที่เข้มงวด จึงพอจะคาดการณ์ได้ว่ามันจะไม่ย่อยสลายได้ง่าย ๆ และการกำจัดก็จะสร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของพวกเรา

2. หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอาจกลายเป็นขยะที่ลอยอยู่ในทะเลและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ

จากข้อมูลของ RE-THINK Taiwan ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ให้ความรู้และจัดกิจกรรมทำความสะอาดชายหาด ได้ระบุว่าพบหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วบนชายหาดเกือบทุกแห่งของไต้หวันตั้งแต่ช่วงแรกของโรคระบาด และเป็นไปได้ว่าหน้ากากส่วนหนึ่งได้อยู่ในทะเลแล้ว



Ocean Conservation Administration ได้ระบุว่าจะทำการเก็บและทดสอบหน้ากากเหล่านั้นเพื่อดูว่าโคโรน่าไวรัสสามารถอยู่รอดในน้ำทะเลได้หรือไม่ หากไม่จัดการ สัตว์น้ำอาจเข้าใจผิดว่าหน้ากากเหล่านี้คืออาหาร ยิ่งไปกว่านั้นอนุภาคพลาสติกที่ถูกปลดปล่อยระหว่างการย่อยสลายของหน้ากากจะยังคงอยู่ในน้ำและสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในห่วงโซ่อาหารเพื่อรอวันที่จะกลับมาทำร้ายสุขภาพของมนุษย์

3. พื้นที่บริเวณแม่น้ำและภูเขาอาจกลายเป็นที่สะสมของขยะ ซึ่งนอกจากจะเป็นอุปสรรคต่อความพยายามในการกำจัดหน้ากากชนิดที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งแล้ว ยังเป็นหายนะต่อสัตว์ป่าด้วย


สวนสาธารณะในฮ่องกงที่ถูกปนเปื้อนด้วยมลพิษจากขยะและหน้ากากจากการระบาดครั้งล่าสุด ? Greenpeace / Andrew Yuen

ในแต่ละปีจะมีขยะ 8 ล้านตันจากทั่วโลกไหลมาตามแม่น้ำต่าง ๆ ลงสู่มหาสมุทร จากสถิติของ Environmental Protection Administration (EPA) ขยะและเศษซากต่าง ๆ ราว 20,000 ตันจะถูกเก็บขึ้นมาจากแม่น้ำ ขยะประมาณ 2% มาจากฝีมือมนุษย์ และ 28.8% จาก 2% นั้นคือพลาสติก ซึ่งเกือบทั้งหมดคือขยะทั่วไปที่ถูกทิ้งอย่างเรี่ยราด

แม้ว่า EPA จะมีระบบจัดการและเฝ้าระวังที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ขยะลงสู่แม่น้ำ แต่เราเชื่อว่านี่เป็นเรื่องที่ควรจะตั้งคำถามว่าเพียงพอหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการทิ้งหน้ากากอนามัยซึ่งอาจจะเป็นพาหะของไวรัส และถูกทิ้งอย่างไม่เหมาสม นอกจากนี้ ยังเจอหน้ากากถูกทิ้งในพื้นที่ห่างไกล หรือในชนบท เพราะผู้คนก็เดินทางไปยังพื้นที่เหล่านั้นในช่วงที่ไวรัสระบาดซึ่งนั่นอาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบนิเวศ

4. ในด้านความเสี่ยงต่อสังคม ปริมาณหน้ากากใช้แล้วที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลอาจนำไปสู่ความต้องการเตาเผาขยะที่มากขึ้น

ที่ผ่านมาได้มีตัวอย่างการประท้วงเตาเผาขยะโดยผู้คนในท้องถิ่น หากเราจำเป็นจะต้องสร้างเตาเผาขยะเพิ่มอีก ไม่ว่าจะใช้สำหรับขยะทั่วไป หรือ ขยะทางการแพทย์ แต่สิ่งนั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่ชุมชนโดยรอบต้องการ

เป็นเรื่องยากมากที่จะสืบย้อนกลับไปว่าหน้ากากอนามัยใช้แล้วที่หลุดรอดเข้ามาในธรรมชาตินั้นมาจากไหน แล้วก็เป็นเรื่องยากพอ ๆ กันสำหรับการบังคับใช้มาตรการป้องกัน เพื่อให้สามารถจัดการกับผลกระทบในระยะยาวของโรคระบาด ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมหากมีการระบาดของโรคอื่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กรีนพีซ ไต้หวันเสนอว่าควรจะมีแนวทางและระบบที่ครอบคลุมเพื่อดูแลการใช้และกำจัดหน้ากากอนามัย ซึ่งวิธีนี้เท่านั้นที่จะช่วยสร้างสมดุลระหว่างความยั่งยืนทางสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม


มาร่วมกันต่อสู้เพื่อลดขยะพลาสติก

ผู้คนทั่วโลกกำลังตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องลดการพึ่งพาผลิตภัณฑ์พลาสติก ที่ไต้หวัน กรีนพีซได้สร้างการรับรู้เรื่องการลดใช้พลาสติกและเรียกร้องให้รัฐบาลและภาคธุรกิจเข้ามาจัดการกับปัญหาด้วยการผลักดันให้เกิดนโยบายที่เกี่ยวข้อง พวกเราประสบความสำเร็จในการรณรงค์เรื่องการแบนไมโครบีดส์ ผ่านการจัดกิจกรรมและการวิ่งมาราธอนรวมทั้งหมด 47 ครั้งภายใต้ประเด็น "ลดการใช้พลาสติก" และได้จัดตั้ง "Marine Debris Governance Platform" ร่วมกับ EPA และองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ เพื่อดูแลทิศทาง การดำเนินนโยบายและแผนการลดใช้พลาสติก


หน้ากากอนามัยที่ถูกทิ้งอย่างเรี่ยราดบนถนน ? Tracie Williams / Greenpeace

อย่างไรก็ตาม การต่อสู้ของพวกเรายังคงไม่สิ้นสุดและโครงการของพวกเราก็ต้องการการสนับสนุนจากคุณ จากภาคธุรกิจสู่สาธารณชน มาร่วมกันให้ความรู้และสร้างความตระหนักเพื่อโลกที่น่าอยู่ และอนาคตที่ปราศจากมลภาวะจากพลาสติก

เราสามารถเริ่มต้นได้ด้วยการลดใช้ผลิตภัณฑ์ใช้ครั้งเดียวทิ้งนับจากวันนี้


https://www.greenpeace.org/thailand/...-masks-end-up/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม