ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 14-05-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ไมโครพลาสติกส่งผลพฤติกรรมปูเสฉวน



มลพิษทางมหาสมุทรกำลังคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นอันตรายต่อชีวิตสัตว์ทางทะเลและผลกระทบต่อพฤติกรรมของพวกมัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแก้ไขปัญหานี้ก่อนที่จะสายเกินไป และต้องวิจัยว่าเหตุใดไมโครพลาสติกถึงเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ในทะเล เช่นสัตว์ที่ช่วยทำความสะอาดทะเลอย่างปูเสฉวนที่ถูกระบุว่าได้รับผลกระทบมลพิษพลาสติก

ปกติแล้วปูเสฉวนจะอาศัยอยู่ในเปลือกหอยเปล่า และจะเปลี่ยนเปลือกอยู่บ่อยครั้ง ถ้าเปลือกเก่าไม่เหมาะกับขนาดตัวของมันอีกต่อไป ล่าสุด นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยควีน?ส เบลฟาสต์ ในไอร์แลนด์เหนือและมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล จอห์น มัวร์ ในอังกฤษ ออกโรงเตือนว่าไมโครพลาสติกอาจมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของสัตว์โดยเฉพาะผลเสียต่อพฤติกรรมการเลือกเปลือกหอยของปูเสฉวน ซึ่งสำคัญต่อการอยู่รอดของปูเสฉวนและการสืบพันธุ์ในระยะยาว

ทีมได้ตรวจสอบผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อพฤติกรรมของปูเสฉวนเพศเมีย 35 ตัว ในถังที่ใส่น้ำทะเลพร้อมสาหร่ายและเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนเป็นเวลา 5 วัน และให้ปูเสฉวนอีก 29 ตัว อยู่ในถังที่ไม่มีพลาสติก หลังจากนั้นก็ส่งปูเสฉวนไปให้เลือกเปลือกหอย นักวิจัยพบว่าปูเสฉวนที่สัมผัสกับพลาสติก มีแนวโน้มตรวจสอบการเข้าไปอยู่ในเปลือกหอยที่ดีที่สุด พวกมันยังใช้เวลานานในการเคลื่อนย้ายตัวเองเข้าไปในเปลือกหอย มากกว่ากลุ่มปูเสฉวนที่ไม่สัมผัสพลาสติก เป็นไปได้ว่าไมโครพลาสติกจะรบกวนพฤติกรรมการอยู่รอดที่สำคัญของปูเสฉวน ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีส่วนสำคัญต่อระบบนิเวศ.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1842409


*********************************************************************************************************************************************************


ล็อกดาวน์คุมโควิด ทำอินเดียปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำสุดใน 4 ทศวรรษ



มาตรการล็อกดาวน์คุมโควิด-19 พลอยส่งผลทำให้อินเดียปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ในเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ต่ำสุดในรอบเกือบ 4 ทศวรรษ

เว็บไซต์ "Carbon Brief" ที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศเปลี่ยน ระบุว่า อินเดียปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 4 ทศวรรษ โดยนับตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ชาวอินเดียเริ่มใช้ไฟฟ้ากันน้อยลง มีการใช้พลังงานที่มาจากการเผาไหม้ถ่านหินลดลง และชาวอินเดียยังหันไปใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศเพิ่มขึ้นทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้ตัวเลขการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศลดลงแต่หลังจากที่มีการออกมาตรการล็อกดาวน์เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตัวเลขก็ยิ่งลดลงไปอย่างมาก

ผลการศึกษาพบว่า อินเดียปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศลดลง 15%ในเดือนมีนาคม 2563 และลดลงถึง 30%ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบกว่า 37 ปี

ข้อมูลจากการไฟฟ้าแห่งชาติของอินเดียระบุว่า การใช้ไฟจากถ่านหินลดลง 15% ในเดือนมีนาคม และลดลง 31%ในเดือนเมษายน ในส่วนของการส่งมอบถ่านหิน จนถึงสิ้นสุดไตรมาสแรกปีนี้ ก็มีปริมาณลดลง 2%

นอกจากนี้ ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลของอินเดียลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 และพอเข้าสู่ช่วงมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้การคมนาคมได้รับผลกระทบ การใช้น้ำมันลดลงไป 18% ต่อปี ในเดือนมีนาคม 2563.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1842768
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม