ดูแบบคำตอบเดียว
  #7  
เก่า 03-04-2023
Srinual_Zea Srinual_Zea is offline
Junior Member
 
วันที่สมัคร: Apr 2019
ข้อความ: 27
Default

ระหว่างทำกิจกรรมดำน้ำของเหล่าสมาชิก SOS (Save Our Sea) ได้มีการพูดคุยประเด็นความยากลำบากจากการขึ้นและลงเรือยางพร้อมอุปกรณ์ดำน้ำที่มีน้ำหนักมากโดยเฉพาะช่วงที่มีคลื่นลมแรงกลางทะเลอันมีผลมาจากการออกมาตรการที่ไม่ชัดเจนของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุพืชที่บังคับให้รับส่งนักดำน้ำในจุดดำน้ำโดยให้ใช้เรือยางเท่านั้น โดยเหตุผลของการออกมาตรการเพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อแนวปะการังในจุดดำน้ำและเกิดอันตรายต่อนักดำน้ำที่กำลังดำน้ำเพราะเรือใหญ่มีกำลังเครื่องยนต์สูงใบพัดเรืออาจส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและแนวปะการังรวมทั้งอาจเป็นอันตรายต่อนักดำน้ำได้ โดยที่ผ่านมาได้มีการจับกุมเรือที่ฝ่าฝืนมาตรการดังกล่าวและได้มีการเปรียบเทียบปรับเรือที่ฝ่าฝืนเป็นกรณีตัวอย่างมาบ้างแล้วทำให้ทุกครั้งที่ลงดำน้ำจะต้องขึ้นและลงจากเรือยางเท่านั้น

ทั้งนี้ได้มีสมาชิก SOS (Save Our Sea) ท่านหนึ่งคือพี่หนุ่ย อดีตข้าราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เคยได้รับทุนราชการไปศึกษาในระดับปริญญาเอก ณ สหราชอาณาจักรและกลับมารับใช้ราชการเป็นเวลา 8 ปีในกรมควบคุมมลพิษ โดยพี่หนุ่ยได้ตั้งข้อสังเกตของการบังคับใช้มาตรการและร่วมแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์หากมีการแก้ไขปรับปรุงมาตรการให้มีความชัดเจนมากขึ้นโดยแสดงความคิดเห็นดังนี้คือ การกำหนดให้นักดำน้ำขึ้นและลงดำน้ำจากเรือยางเท่านั้นเป็นการสร้างความยากลำบากจากการขึ้นและลงเรือยางพร้อมอุปกรณ์ดำน้ำที่มีน้ำหนักมากกลางทะเลและปิดกั้นหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการลงหรือขึ้นจากน้ำโดยปกติที่นักดำน้ำใช้คือการโดดลงน้ำนอกจุดดำน้ำพร้อมกันและนักดำน้ำจะดำน้ำเข้าไปยังจุดดำน้ำตามกระแสน้ำด้วยตัวของนักดำน้ำเองซึ่งวิธีนี้จะช่วยป้องกันผลกระทบต่อแนวประการังจากเรือใหญ่เพราะเรือใหญ่จะไม่เข้าไปยังจุดดำน้ำรวมทั้งปลอดภัยต่อนักดำน้ำที่ทำการดำน้ำอยู่ในจุดดำน้ำ การขึ้นจากการดำน้ำก็เช่นกันตามปกติที่นักดำน้ำใช้คือขึ้นสู่ผิวน้ำและว่ายหรือลอยไปขึ้นเรือใหญ่ที่รอรับในจุดที่ห่างจากจุดดำน้ำ

อนึ่งเห็นด้วยกับมาตรการฯในกรณีที่นักดำน้ำต้องการไปลงดำน้ำ ณ ยอดกองกลางจุดดำน้ำควรเข้าไปรับและส่งนักดำน้ำด้วยเรือยางเท่านั้นโดยห้ามเรือใหญ่เพราะอาจส่งผลกระทบตามที่กล่าวมาแต่ทั้งนี้มิควรปิดกันการขึ้นและลงจากเรือใหญ่โดยการโดดลงน้ำบริเวณนอกจุดดำน้ำ

ข้อเสนอแนะคือกรมอุทยานฯควรติดตั้งแนวทุ่นที่บ่งบอกถึงอาณาเขตของจุดดำน้ำที่ห้ามเรือใหญ่เข้าเพื่อให้ผู้ควบคุมเรือเห็นได้อย่างชัดเจนอันจะเป็นผลให้เรือใหญ่จะได้ระวังและไม่ฝ่าฝืนนำเรือเข้าไปยังจุดดำน้ำตามเจตนาที่กรมอุทยานฯออกมาตรการ หากจะรับส่งนักดำน้ำจากท้ายเรือใหญ่จะทำการรับส่งนอกแนวทุ่นแสดงอาณาเขตจุดดำน้ำเท่านั้น หรือหากนักดำน้ำต้องการจะไปลงดำน้ำบนยอดกองปะการังหรือในเขตจุดดำน้ำจะใช้เรือยางเข้าไปส่งแทนเรือใหญ่เท่านั้น รวมทั้งตั้งข้อสังเกตจากการจับกุมและเปรียบเทียบปรับผู้ฝ่าฝืนมาตรการฯที่ผ่านมาอาจมีคำถามที่ว่าไม่เคยมีทุ่นแสดงเขตจุดดำน้ำให้ผู้ควบคุมเรือเห็นได้อย่างชัดแจ้งดังนั้นการเปรียบเทียบปรับในฐานฝ่าฝืนนำเรือใหญ่เข้าไปในจุดดำน้ำนั้นอาจจะมีคำถามตามมาถึงความชัดเจนในเขตที่ห้ามเรือใหญ่เข้า

ยิ่งไปกว่านั้นการกำหนดเขตจุดดำน้ำอย่างชัดเจนยังช่วยป้องกันประเด็นการเกิดอันตรายต่อนักดำน้ำกรณีนักดำน้ำขึ้นจากน้ำหลายๆกลุ่มพร้อมกัน ซึ่งตามมาตรการที่กรมอุทยานฯประกาศนักดำน้ำจะต้องรอเรือยางมารับเท่านั้นหากเกิดเหตุคลื่นลมแรงนักดำน้ำอาจถูกพัดพาไปไกลเพราะกว่าที่จะเรือยางจะรับดำน้ำได้หมดจะต้องมีการรับส่งนักดำน้ำหลายเที่ยวรวมทั้งต้องใช้เวลานานกว่านักดำน้ำจะปีนขึ้นบนเรือยางได้ครบทั้งหมดทำให้นักดำน้ำที่ต้องลอยคอรอบนผิวน้ำมีโอกาสเกิดอันตรายได้อย่างมากทั้งจากเรือใหญ่ที่สัญจรและอันตรายจากการปีนขึ้นเรือยางในสภาพคลื่นลมแรง หากมีทุ่นแสดงอาณาเขตที่เด่นชัดเรือใหญ่จะสามารถเข้าไปรับนักดำน้ำขึ้นเรือได้เลยในกรณีที่นักดำน้ำลอยออกมาจากเขตจุดดำน้ำที่กำหนดแล้ว ????????????????
Cr: พี่หนุ่ย เรียบเรียงส่งมาให้คนความจำสั้น (ที่รักทะเลยืนยาว) อ่านค่ะ
รูปขนาดเล็ก
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	LINE_ALBUM_230403_13.jpg
Views:	0
Size:	71.7 KB
ID:	22540   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	LINE_ALBUM_Apple_230403_19.jpg
Views:	0
Size:	84.3 KB
ID:	22541   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	LINE_ALBUM_230403_239.jpg
Views:	0
Size:	75.8 KB
ID:	22542   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	LINE_ALBUM_230403_240.jpg
Views:	0
Size:	82.3 KB
ID:	22543  
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม