ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 06-11-2012
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default


มหันตภัยในซุปหูฉลาม ก่อนซด"ซุปหูฉลาม"ถ้วยต่อไป...คุณแน่ใจ !!แล้วหรือ? ของแพงดีเสมอไป ......................... โดย ศจ.เกียรติคุณนายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ราชบัณฑิต (ต่อ)



เรากลับเข้าเรื่อง มาหาบทรายงานการวิจัยต่อไปดีกว่า ผมได้อ่านพบข่าวในวารสารชื่อ AsianScientist ฉบับวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ รายงานโดยคุณ รีเบ็คคา ลิม ข่าวนี้อ้างอิงถึงรายงานวิจัยดั้งเดิมซึ่งตีพิมพ์รายงานไว้ในวารสาร Marine Drugs* ฉบับต้นตออีกทีหนึ่ง ชื่อเรื่องว่า Cyanobacterial Neurotoxin β-N-Methylamino-L-alanine (BMAA) in Shark Fins โดยผู้เขียนบทรายงานชื่อ มอนโดและคณะ (Mondo K et al) จะสรุปให้อ่านกันดังนี้

“นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยไมอามี สหรัฐอเมริกา วิจัยพบว่าในหูฉลาม มีสารพิษ ที่ก่อพิษร้ายแรงต่อระบบประสาทของมนุษย์ได้ โดยจะไปทำให้มีการเสื่อมของเซลล์ประสาท ทำให้เกิดโรคของระบบประสาทได้ เช่น “โรคอัลไซเมอร์ โรค ลู เกห์ริก หรืออีกชื่อเรียกว่าโรค อะไมโอโทรปิค แลเทอรัล สเคลอโรสิส – (Lou Gehrig disease or Amyotrophic lateral sclerosis, เรียกย่อๆว่า ALS)



การกินซุปหูฉลาม คือ การกินกระดูกอ่อนครีบของปลาฉลาม นักวิจัยได้เอาตัวอย่างครีบฉลามหลายพันธุ์ เป็นฉลามสดๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นฉลามพันธุ์ที่นิยมนำเอามาบริโภคกัน ซึ่งผมไม่ทราบว่าในภาษาไทยเรียกพันธุ์อะไรกันบ้าง ได้แก่ blacknose, blacktip, bonnethead, bull, great hammerhead, lemon, และ nurse sharks ฉลามพวกนี้ ล่ามาจากน่านน้ำทะเลฟลอริดาใต้ พบว่า มีสารที่มีชื่อว่า บีต้า-เอ็น-เมธิล อะมิโน-แอล-อะลานีน ( β-N-Methylamino-L-alanine เรียกชื่อย่อๆว่า BMAA) ซึ่งเป็นสารพิษต่อระบบประสาท

ศาสตราจารย์ แม็ชและคณะ ได้เริ่มทำการวิจัยมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๕๒ โดยศึกษาวิจัยในผู้ป่วยโรค Alzheimer’s Disease และ ALS พบว่ามีระดับสาร BMAA ในสมองสูงมากในสมอง ๑ มิลลิกรัมพบปริมาณที่สูงถึง ๒๕๖ นาโนกรัม ในขณะที่คนปกติจะตรวจไม่พบว่ามีสารนี้ในสมองหรือมีแต่เพียงกระเส็นกระสายเล็กน้อยเท่านั้นเอง การวิจัยล่าสุดรายงานว่าพบสารดังกล่าวในครีบฉลามในปริมาณตั้งแต่ ๑๔๔ ถึง ๑,๘๓๖ นาโนกรัมทีเดียว

สาร BMAA นี้ พบว่ามีความสัมพันธุ์เกี่ยวข้องกับโรคระบบประสาทเสื่อมในประชาชนชาวเกาะกวมมาก่อน กล่าวคือจะมีเซลล์ประสาทมีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและการทำหน้าที่ของเซลล์ประสาท




สาร BMAA คืออะไร แหล่งกำเนิดต้นตออยู่ที่ใหนและเกิดขึ้นได้อย่างไร

สาร BMAA มีชื่อเต็มว่า บีต้า-เอ็น-เมธิลอะมิโน-แอล-อะลานีน ( β-N-Methylamino-L-alanine) เป็นสารที่มีคุณสมบัติทางชีวเคมีเป็นกรดอะมิโน แต่ไม่ใช่โปรตีน ผลิตขึ้นในธรรมชาติโดยแบคทีเรียที่มีชื่อว่า cyanobacteria และรู้จักกันในนามว่า สาหร่ายสีน้ำเงินอมเขียว หรือ blue-green algae ซึ่งมีบางท่านเรียกเป็นภาษาไทยว่า “สาหร่ายน้ำเงินแกมเขียว” ถ้าใช้คำว่า “อม” น่าจะเหมาะกว่าคำว่า “แกม”

สาร Beta-N-Methylamino-L-alanine นี้เป็นสารพิษ หากฉีดให้แก่ลิงรีซุส จะทำให้ลิงมีพฤฒิกรรมเปลี่ยนแปลง มีกล้ามเนื้อลีบฝ่อลง ถ้าสารนี้ไปรวมเข้ากับเซลล์สมองจะทำให้ เซลล์สมองตาย สารนี้ มีคุณสมบัติคล้ายกรออะมืโนอะลานีน จึงไปรวมกับเซลล์สมองทำให้เกิดสารเชิงซ้อนและทำให้เซลล์ตายได้




cyanobacteria สาหร่ายสีน้ำเงินอมเขียว หรือ blue-green algae คืออะไร

ไซยาโนแบคทีเรีย มีลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว รูปแบบทั้งตัวเป็นเซลล์มีสารพันธุกรรมและไม่มีเยื่อหุ้มนิวนิวเคลียส ทำให้สามารถเจริญแบบเพิ่มจำนวนได้โดยการแบ่งตัว

ไซยาโนแบคทีเรีย สามารถปรับตัวได้สูงมากโดยการ สร้างเมือกห่อหุ้มเซลล์ และในเซลล์จะมีถุงลมเพือการพยุงตัว หาสภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์แสง มีเม็ดสีช่วยในการต่อต้านแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ แบคทีเรียนี้ จะอาศัยอยู่ทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเล

สาหร่ายสีเขียวอมน้ำเงินพวกที่ดำรงชีวิตอยู่อย่างอิสระ และดำรงชีวิตร่วมกับสิ่งที่มีชีวิตอื่นๆ ทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกกันว่า Blue tide ซึ่งในภาษาไทยเรียกกันว่า “ขี้วาฬ” นั่นเอง และยังมีสาหร่ายสีแดงอีกที่ทำให้เกิด Red tide ก็มี ปลาฉลามเป็นปลาที่มีอายุยืน อยู่ในธรรมชาติอยู่ได้นาน คงจะกินสาหร่ายน้ำเงินอมเขียวที่เกิดในทะเลเข้าไป จึงมีการสะสมสารพิษดังกล่าวนั้นได้มาก นักบริโภคหูฉลามน่าเพลาปากลงหน่อยนะ ได้ข่าวมาเลยเอามาเล่าสู่กันฟัง ชาวไฮโซที่นิยมบริโภคหูฉลามบ่อยๆ จะสะสมสาร BMAA ทีละน้อยๆ จนมากพอที่จะไปทำให้เป็น “อัลไซเมอร์” ได้เหมือนกันนะครับ




จาก ........................... มติชนออนไลน์ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม