ดูแบบคำตอบเดียว
  #39  
เก่า 10-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,159
Default



พระราชบัญญัติกรมประมงฉบับใหม่

เป้าคลี่คลายปัญหาการประมง


ผลผลิตของภาคการประมงสามารถ ทำรายได้ให้แก่ประเทศปีละกว่า 2 แสนล้านบาท แต่ปัจจุบันการประมงต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย อาทิ ภัยธรรมชาติ ความเสื่อมโทรม ของทรัพยากรประมง มลพิษในแหล่งน้ำ รวม ถึงการแย่งชิงทรัพยากรประมง โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการทาง กฎหมายว่าด้วยการประมงที่ล้าสมัย ซึ่งบังคับใช้มาเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 ทำให้ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป หลายฝ่ายจึงเห็นพ้องต้องกันว่าควรแก่ การปรับปรุงแก้ไขใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ........ โดยยกเลิกกฎหมายเดิมทั้งฉบับ และเพิ่มหลักการใหม่ ๆ ที่สำคัญ ๆ อาทิ มีการกำหนดให้มีแบ่งเขตการประมงในน่านน้ำไทยออกเป็น 3 เขต อย่างชัดเจน ได้แก่ เขตประมงน้ำจืด เขตประมงทะเลชายฝั่ง และเขตประมงทะเลนอกชายฝั่ง ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายเดิมไม่ได้กำหนดเขตพื้นที่ทำการประมง ทำให้เครื่องมือประมงที่ได้รับอนุญาตสามารถทำการประมงในทะเลได้อย่างเสรีในทุกเกือบพื้นที่ ก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงพื้นที่ทำการประมง และมีความรุนแรงมากขึ้น

กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน โดยรัฐมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนผู้ประสงค์จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของตนให้ได้มาตรฐาน และออกหนังสือรับรองให้ ซึ่งจะทำให้สัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยงของประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า

กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมด้านสุขอนามัย นับตั้งแต่ขั้นตอนการจับ การดูแลสัตว์น้ำหลังการจับ และการขนส่ง โดยรัฐออกหนังสือรับรองให้ กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมง โดยกำหนดให้มีส่วนร่วมใน 2 ลักษณะ คือ การให้ตัวแทนภาคประชาชนร่วมเป็นคณะกรรมการนโยบายประ มงแห่งชาติ และกำหนด ให้กรมประมงมีหน้าที่ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำภายในเขตประมงน้ำจืดหรือเขตประมงทะเลชายฝั่ง และกำหนดให้มี คณะกรรมการประมงนอกน่านน้ำไทย เพื่อเสนอแนะนโยบายและแนวทางการพัฒนาการประมงนอกน่านน้ำไทยต่อคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ และเสนอแนะต่อหน่วยงานในการออกกฎ ระเบียบต่าง ๆ ในการจัดระเบียบการใช้เรือไทยออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยเป็นการเฉพาะ

สำหรับหลักการอื่น ๆ ยังคงยึดถือแนวทางตามกฎหมายฉบับเดิม เพียงแต่มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันให้มากขึ้น เช่น การกำหนดอัตราโทษ อัตราค่าอากร ค่าธรรมเนียมให้มีความเหมาะสม กับสภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น ทั้งนี้ กรมประมงได้เริ่มยกร่างกฎหมายนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนหลายครั้งมาอย่างต่อเนื่อง และได้ทำการแก้ไขปรับปรุงมาเป็นลำดับ ซึ่งคณะกรรมการ กฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาและนำเสนอคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลปัจจุบันให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 และกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในเวลาไม่ช้านี้

“หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากฎหมายประมงฉบับใหม่นี้ จะเป็นคำตอบหรือเป็นกลไกที่สำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางการประมงในปัจจุบัน และพัฒนาการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ของกรมประมงที่ว่า มุ่งสู่การเป็นผู้นำทางการประมงอย่างยั่งยืนในภูมิภาค เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน” ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กล่าว.




ข้อมูลจาก....http://www.farmrachan.com/%E0%B8%81%...%E0%B9%88.html
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-06-2014 เมื่อ 20:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม