ดูแบบคำตอบเดียว
  #80  
เก่า 21-07-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,159
Default

มติชน
17-06-2015

สลด!! ประมงไทยชำแหละกระเบนแมนต้าสุดโหด ทั้งที่เหลือเพียง 50 ตัวในอันดามัน



ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และนักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊ก ภาพซากปลากระเบนแมนต้า ซี่งเป็นกลุ่มปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก บนท้ายรถกระบะ พร้อมกับเรียกร้องให้มีการคุ้มครองปกป้อง สัตว์ในกลุ่มนี้อย่างจริงจัง โดยเสนอให้กำหนดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามกฎหมาย

จากกรณีดังกล่าว ผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์ ได้สอบถามไปยัง ดร.ธรณ์ ซึ่งดร.ธรณ์ ได้ให้ความกระจ่างมาดังนี้

ภาพซากปลากระเบนบนท้ายรถกระบะนั้น เป็นภาพที่เพื่อนของ ดร.ธรณ์ ส่งมาให้ดู ซึ่งเป็นปลากระเบนที่ถูกล่าในจังหวัดระนอง โดยผ่านมาทางท่าเรือขึ้นปลาที่จังหวัดระนอง ซึ่ง ดร.ธรณ์ บอกว่า เป็นท่าขึ้นปลาที่ใหญ่ที่สุดในฝั่งอันดามันอยู่แล้ว อีกทั้งปลาชนิดนี้มีรายงานว่า พบในแถบจังหวัดตรัง สตูล ระนอง และภูเก็ต

ปัจจุบัน ปลากระเบนแมนต้า ยังไม่ได้เป็นสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองจากกฎหมายทางฝั่งกรมประมง ว่าด้วยการห้ามทำการประมง หรือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จาก พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ.2535 จากทางฝั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การที่จะผลักดันปลากระเบนแมนต้าให้ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย ก็อาจจะต้องผลักดันไปพร้อมๆ กับ การเสนอวาฬบรูด้า ให้เป็นสัตว์สงวน ซึ่งจะมีความเข้มข้นกว่าสัตว์คุ้มครอง เนื่องจากสัตว์สงวน จะห้ามล่า ห้ามมีไว้ในครอบครองทุกกรณี

และจากภาพที่มีคนจับฉลามวาฬ ไว้บนเรือประมง ดร.ธรณ์ กล่าวว่า นั่นก็น่าจะผิดกฎหมายเต็มๆ เนื่องจากฉลามวาฬ นอกจากจะอยู่ในความคุ้มครองตามกฎหมาย ให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในปัจจุบันแล้ว ยังเป็นสัตว์ห้ามทำการประมง ตามประกาศของกรมประมงอีกด้วย )


(ภาพจากเฟซบุ้ก Pongwat Datchtaradon ที่ระบุว่า ฉลามวาฬตัวนี้ ถูกจับมาจากการทำประมงแบบอวนลาก และเรียกร้องให้การประมงลักษณะนี้ หมดไปจากประเทศไทย)

ทั้งนี้ ดร.ธรณ์ กล่าวว่า การพยายามผลักดัน ปลากระเบนแมนต้าให้เป็นสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครอง นี้ อาจจะเป็นเรื่องยากในแง่ที่ว่า ปัจจุบันเรามีข้อมูลเกี่ยวกับปลาตัวนี้ค่อนข้างน้อย ไม่ค่อยมีใครได้พบ จากแวดวงนักดำน้ำ คาดว่า ทางฝั่งทะเลอันดามัน มีอยู่เพียง 50 ตัวเท่านั้น ซึ่งจำนวนที่มีน้อยขนาดนี้ ก็สมควรที่จะได้รับความคุ้มครองโดยเร็ว

นอกจากนี้ ดร.ธรณ์ ยังได้โพสต์ภาพ การล่าปลากระเบนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นภาพจาก เพจเฟซบุ๊ก Thailand Manta Project เพจที่ส่งเสริมการวิจัยกระเบนราหูในประเทศไทย




*********************************************************************************************************************************************************


"ดร.ธรณ์" โพสต์เฟซบุ๊ก กระเบนแมนต้า ใหญ่ที่สุดในโลก ยังทยอยถูกฆ่า เสนอให้เป็นสัตว์คุ้มครอง



ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และนักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊ก ภาพซากกระเบนแมนต้า ซี่งเป็นกลุ่มปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก บนท้ายรถกระบะ พร้อมกับเรียกร้องให้มีการคุ้มครองปกป้อง สัตว์ในกลุ่มนี้อย่างจริงจัง โดยเสนอให้กำหนดเป็นสัตว์คุ้มครอง ตามกฎหมาย ดังนี้


"ภาพอันน่าเศร้าที่เพื่อนธรณ์เห็นเกิดขึ้นที่ท่าเรือแห่งหนึ่งในประเทศไทยสัตว์ที่นอนตายกองกันอยู่ท้ายกระบะคือหนึ่งในกลุ่มปลากระเบนใหญ่ที่สุดในโลก และสัตว์ที่เป็นเพื่อนรักของนักดำน้ำทุกราย กระเบนกลุ่มนี้ทำรายได้ให้การท่องเที่ยวมหาศาล เป็นความประทับใจแห่งอันดามันที่ผู้มาเยือนไม่เคยลืมเลือน

น่าเสียดายที่ในทะเลมีเครื่องมือประมงบางอย่างที่สามารถจับแมนต้าและญาติกลุ่มนี้ที่น่ารักได้น่าเสียดายที่มีความตายเกิดขึ้นอย่างโหดร้ายในทะเล

การอนุรักษ์แมนต้าและญาติเป็นเรื่องยาก การห้ามการประมงกระเบนกลุ่มนี้เหมือนที่เคยใช้กับฉลามวาฬเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาอย่างไรก็ตามการปล่อยให้แมนต้าและญาติตายไปเรื่อยๆเป็นสิ่งที่คนรักทะเลยอมรับไม่ได้ทางออกสุดท้าย...สัตว์คุ้มครอง

ปลากระเบนกลุ่มแมนต้าและญาติเป็นสัตว์สงวนเช่นบรูด้าไม่ได้เพราะเรามีข้อมูลน้อยมากแต่เราอาจมีช่องทางในเรื่องสัตว์คุ้มครองแม้มันจะยากแสนสาหัสแต่อย่างน้อยก็น่าจะดีกว่าเราไม่ทำอะไรเลย

ผมจึงลองเสนอแผนง่ายๆดังนี้

- พวกเราช่วยกันผลักดันวาฬบรูด้าเป็นสัตว์สงวน หากสำเร็จ กระทรวงทรัพยากรฯ จะจัดประชุมเพื่อพิจารณา หากเป็นไปได้ เราจะพยายามผลักดันแมนต้าและญาติให้เป็นสัตว์คุ้มครองเข้าไปในการประชุมครั้งนี้ด้วย

- แมนต้าและกระเบนกลุ่มนี้เป็นปลาที่ออกลูกน้อยมาก หากแมนต้ารุ่นนี้ถูกฆ่าหมด โอกาสที่ปลากลุ่มนี้จะสูญพันธุ์ไปจากน่านน้ำบริเวณนี้เป็นเรื่องง่าย

- เรามีบทเรียนกับปลาฉนากกับปลาโรนินมาแล้ว ปัจจุบัน เราไม่เจอปลาฉนากอีกเลยและแทบไม่เจอโรนินอีกแล้ว (ที่นักดำน้ำพอเจออยู่บ้างคือโรนัน)

- แมนต้าและเพื่อนบางชนิดอยู่ใน CITES บัญชี 2 ถือเป็นสัตว์ที่ทั่วโลกให้การคุ้มครอง โอกาสนำเสนอเป็นสัตว์คุ้มครองในไทยเป็นไปได้

- ระหว่างนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอาจกรุณาศึกษาความเป็นไปได้ของปลากระเบนกลุ่มนี้ก่อนครับ

เอาเป็นว่าเรามาเริ่มต้นกันตรงนี้ก่อนเพื่อนธรณ์ช่วยกันได้โดยโหวตสนับสนุนให้วาฬบรูด้าเป็นสัตว์สงวนทำให้เกิดการประชุมเราจะช่วยกันผลักดันแมนต้าและญาติๆเป็นสัตว์คุ้มครองครับ"

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม