ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 17-01-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


โครงการ SOS อนุรักษ์ปลาฉลามกบ โดยสิงห์ เอสเตท กับศูนย์วิจัยทรัพยากรทะเลฯ


ไข่ฉลามกบ

โครงการอนุรักษ์ปลาฉลามกบ หรือ SOS (Save Our Shark) เป็นโครงการที่สิงห์ เอสเตท เดินหน้าอนุรักษ์ชีวิตสัตว์ทะเล เพื่อตอกย้ำการให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยเดินหน้าร่วมมือกับศูนย์การเรียนรู้ทางทะเล (Marine Discovery Center) ในพื้นที่โรงแรมทราย พีพี ไอส์แลนด์ วิลเลจ จังหวัดกระบี่ ล่าสุดได้รับความไว้วางใจจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ให้เป็นเอกชนรายแรกๆ เข้ามาดำเนินโครงการอนุรักษ์ปลาฉลามกบอย่างยั่งยืน ตั้งแต่การฟักไข่ อนุบาลลูกฉลามวัยอ่อน ไปจนถึงการปล่อยคืนกลับสู่ธรรมชาติในพื้นที่เหมาะสม ตามคำแนะนำของศูนย์วิจัยฯ เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์สายพันธุ์ของปลาฉลามกบให้มีความสมบูรณ์ และยั่งยืนต่อระบบนิเวศทางทะเลของประเทศไทย

ฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเทต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ให้ดำเนินโครงการอนุรักษ์ปลาฉลามกบอย่างยั่งยืนในครั้งนี้ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของบริษัทที่มุ่งเน้น และให้ความสำคัญในการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs14: Life Below Water) ซึ่งการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากอย่างฉลามกบ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะปลาฉลามเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลอย่างมาก ที่สำคัญในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จำนวนปลาฉลามยังมีปริมาณลดลงมากกว่า 20 เท่า

"เรามุ่งมั่นและทำงานในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างจริงจัง เพื่อให้เราก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนพร้อมๆ กับสังคมและชุมชนโดยรอบ อีกทั้งยังสามารถส่งต่อองค์ความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ต่อไป คือหนึ่งในแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของบริษัท" นางฐิติมา กล่าว


ฉลามกบวัยรุ่นที่ทางศูนย์ฯให้การอนุบาล

ดร. ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน กล่าวว่า ศูนย์วิจัยฯ มั่นใจในศักยภาพและความเชี่ยวชาญของสิงห์ เอสเตท ในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตทางทะเล โดยดูจากประสบการณ์และโครงการต่างๆที่ได้ทำมา นอกจากนี้ บริษัทยังมีนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และบุคลากรที่มีความสามารถในการช่วยดูแลอนุบาลฉลามกบอย่างเต็มที่

สำหรับ ศูนย์เรียนรู้ทางทะเล ก่อตั้งในปี 2561 ตั้งอยู่ภายในบริเวณโรงแรมทราย พีพี ไอส์แลนด์ วิลเลจ บนเกาะพีพี โดยเป็นหนึ่งในโครงการที่สะท้อนแนวคิดการดำเนินธุรกิจของบริษัท ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจโรงแรมอย่างยั่งยืนผ่านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชิงรุก เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศทางทะเลในพื้นที่เกาะพีพี ที่ผ่านมาศูนย์ฯ ได้ทำโครงการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาหลายโครงการ เช่น พีพีกำลังจะเปลี่ยนไป เป็นโครงการฯ ที่นำพีพีโมเดล มาใช้ในการแก้ไขปัญหาปะการังฟอกขาว , โตไวไว เป็นโครงการฯ ต่อเนื่องจากโครงการพีพีกำลังจะเปลี่ยนไป ด้วยการปล่อยปลาการ์ตูน และปลูก ปะการังด้วยวิธี Coral Propagation ร่วมกับอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี และ โครงการติดตามและฟื้นฟูปะการังในพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศจากโดรน


นักวิทยาศาสตร์ประจำศูนย์ฯ กำลังให้ความรู้กับผู้ที่เยี่ยมชม

นอกจากนี้ เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2564า นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ฯ ยังได้ช่วยชีวิต "ฉลามกบ" (Bamboo shark) ขนาดเล็ก ที่ได้รับบาดเจ็บ โดยฉลามชนิดนี้อยู่ในภาวะใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened) ซึ่งจัดโดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature) ปัจจุบันฉลามดังกล่าวได้รับการดูแลอย่างดีในบ่ออนุบาลสัตว์น้ำของศูนย์การเรียนรู้ทางทะเลชองโรงแรม

ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม 2564 ศูนย์ฯ ได้ช่วยเหลือ "ปลาสิงโต" (Lionfish) ที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งชาวบ้านได้นำมาส่งให้ทางศูนย์ฯ ศูนย์ฯแห่งนี้ ยังมีบ่ออนุบาลปลาการ์ตูน (Clownfish Nursery) เพื่อเพาะขยายพันธุ์ก่อนที่จะปล่อยกลับสู่แนวปะการัง

ส่วนโรงแรม ทราย พีพี ไอส์แลนด์ วิลเลจ (SAii Phi Phi Island Village) เป็นหนึ่งในโรงแรมของบริษัท เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ "SHR" บริษัทในเครือของสิงห์ เอสเตท ตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ และอยู่ภายในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาด นพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี


https://www.thaipost.net/environment-news/65573/


*********************************************************************************************************************************************************


พบซากโลมาวัย 3 ปีลอยในแม่น้ำเจ้าพระยาย่านบางปู



16 มกราคม 2565 จ่าสิบเอก นิเวศน์ ชูปาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างความสมดุลทางธรรมชาติ สถานพักฟื้นตากอากาศบางปู สมุทรปราการ ได้เดินทางเข้าตรวจสอบซากโลมาหัวบากหลังเลียบ ที่ตายลอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาริมเขื่อนป้องกันน้ำกัดเซาะบริเวณหลังบริษัท ไทยอัมบิก้า หมู่ 3 ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ หลังรับแจ้งจากชาวบ้านที่ออกมาหาปลาตามชายฝั่ง และมาพบซากโลมาตายลอยอยู่ริมเขื่อนจึงรีบแจ้งให้มาตรวจสอบ

ที่เกิดเหตุพบซากปลาโลมาหัวบากหลังเลียบ อายุ ประมาณ 3 ปี ความยาวของลำตัวยาวประมาณ 1 เมตรน้ำหนักประมาณ 30 กิโลกรัม ที่ตายลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาริมเขื่อนป้องกันน้ำกันเซาะชายฝั่ง ในสภาพเน่าเปื่อย จึงได้ให้อาสามูลนิธิร่วมกตัญญูนำซากของโลมาตัวดังกล่าวขึ้นมาตรวจสอบบนฝั่ง เบื้องต้นตามลำตัวไม่พบบาดแผลหรือร่องรอยการถูกทำร้ายแต่อย่างใด จึงได้นำซากโลมาตัวดังกล่าวไปบรรจุถุงพลาสติกและฝังดินรอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมารับซากโลมาไปผ่าพิสูจน์หาสาเหตุการตายต่อไป


https://www.thaipost.net/district-news/65915/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม