ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 02-05-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


หุ่นยนต์ใต้น้ำช่วยการค้นพบในมหาสมุทร


Credit : AIMS

หุ่นยนต์ใต้น้ำส่วนใหญ่มักถูกใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ เพื่อตรวจสอบและบำรุงรักษาโครงสร้างที่นอกชายฝั่ง แต่การศึกษาใหม่จากนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ นำโดยสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งออสเตรเลีย (Australian Institute of Marine Science-AIMS) เตรียมปรับใช้หุ่นยนต์ใต้น้ำให้รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น

การวิจัยนี้กำลังกระตุ้นให้เกิดความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างภาคอุตสาหกรรมและนักวิทยาศาสตร์ ที่จะใช้ประโยชน์จากหุ่นยนต์ใต้น้ำให้ได้มากที่สุด คาดหวังว่าข้อมูลที่รวบรวมได้นั้นจะเพิ่มความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมอย่างมากเกี่ยวกับผลกระทบของโครงสร้างพื้นฐานทางทะเล การสร้างประโยชน์สำหรับการจัดการระบบนิเวศ และการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ

ก่อนหน้านี้มีการใช้ยานพาหนะใต้น้ำที่ดัดแปลงให้ตรวจสอบประชากรปลารอบ ๆ ภูมิภาคแหล่งน้ำมันและก๊าซทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย และในเดือน พ.ค.นี้ ทีมวิจัยจาก AIMS มีแผนขยายการศึกษาโดยใช้หุ่นยนต์ ROVs (remotely operated vehicles) ไปสำรวจสิ่งมีชีวิตในทะเลน้ำตื้น ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในระยะยาว.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1834301


*********************************************************************************************************************************************************


สร้างเมฆสดใสเพื่อปกป้องแนวปะการัง


ภาพจาก AFP

แนวปะการังถือเป็นแหล่งอาหารของโลก และยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทางทะเลหลายชนิด เมื่อน้ำทะเลอุ่นขึ้นเนื่องจากเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็ได้ทำลายสุขภาพของแนวปะการังและส่งผลต่อบรรดาสัตว์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เปรียบเหมือนป่าใต้ทะเล แต่ปะการังก็มีกลไกการรับมือกับสภาวะโลกร้อน มีการวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าแนวปะการังสามารถสร้างเมฆเพื่อลดความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ลงได้

แนวปะการังเกรท แบร์ริเออร์ รีฟ ในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นระบบนิเวศแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก พบว่ามีการปล่อยก๊าซกลุ่มไดเมทิลซัลไฟล์ (Dimethyl sulphide-DMS) ช่วยในการก่อตัวของเมฆเมื่อก๊าซนี้ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ เมฆที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่ออุณหภูมิของน้ำบริเวณแนวปะการัง แต่แนวปะการังดังกล่าวเกิดการฟอกสีเพราะความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมหาสมุทร ทำให้พวกมันขับไล่สาหร่ายที่ให้สีสดใสแก่ตนเองไป

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์น ครอสส์ ในออสเตรเลีย พยายามทดลองสร้างเมฆสดใสสำหรับกับแนวปะการังแห่งนี้ โดยทำให้น้ำเย็นขึ้นรอบๆแนวปะการัง และทำให้เมฆสะท้อนแสงอาทิตย์มากขึ้นจากการติดตั้งกังหันขนาดใหญ่หลายต้นที่จะช่วยพัดพาก๊าซที่ปะการังปล่อยออกมา ซึ่งหวังไว้ว่าอาจลดความเครียดการฟอกสีลงได้ประมาณ 70%.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1834294
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม