ดูแบบคำตอบเดียว
  #47  
เก่า 13-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,159
Default


ซีพีเอฟ” ซัด “เดอะการ์เดียน” (ต่อ)




ปลาที่เหลือจากการจับและเรือแม่เป็นประเด็นที่เดอะการ์เดียนยกขึ้นมาโจมตี

· ขณะนี้ มีแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายประมาณ 200,000 ราย ที่ทำงานในอุตสาหกรรมประมงของไทย หลายคนทำงานบน “เรือแม่” มีการกล่าวหาว่าบางราย (16% ตามรายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ) ถูกเอาเปรียบจาก “หัวหน้าแก๊งค์” และตัวแทนเพียงเพราะเรือพวกนี้ต้องอาศัยแรงงานประเภทนี้ ชาวพม่าและเขมรมักเป็นเหยื่อที่หาได้ง่ายของนายจ้างผู้เอารัดเอาเปรียบที่สามารถจัดหาแรงงานให้ได้ทันที และเรือเหล่านี้ชักธงไทยไม่ทางใดทางหนึ่ง

ซีพีเอฟทำอะไรเพื่อแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายจากปลาที่เหลือจับ รวมทั้งกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน/ใช้แรงงานผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องใน “เรือแม่”

โครงการ “ทำประมงในอ่าวไทยอย่างยั่งยืน” ของซีพีเอฟเปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2013 เพื่อคุ้มครองอนาคตของน่านน้ำของประเทศไทยและเพื่อให้ชุมชนชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ถึงรุ่นลูกหลาน

โครงการของซีพีเอฟนี้ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจของการประมงผิดกฎหมาย ซึ่งการจัดการปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนบนเรือประมงไทยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้เท่านั้น

ขณะนี้ เรากำลังร่วมมือกับหุ้นส่วน ผู้มีส่วนได้เสียรายสำคัญและองค์กรพัฒนาเอกชน ทั่วโลกที่มองโลกด้วยหลักการและเหตุผล เพื่อช่วยขับเคลื่อนโครงการนี้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังคงซับซ้อนมากและจำเป็นต้องทำทีละขั้นตอน


สรุปกิจกรรมหลักๆ จนถึงขณะนี้

แผน 10 ประการของซีพีเอฟ


เราสามารถบรรลุเป้าหมายแผน 10 ประการ – มีหลายประเด็นในแผนที่จะส่งผลต่อสังคม อาทิ การกล่าวหาว่าใช้แรงงานทาส ตามที่หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนไฮไลต์ สิ่งที่เราทำคือใช้คู่ค้าหรือซัปพลายเออร์ที่ซื้อวัตถุดิบจากผลพลอยได้ (by-product) ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ปัจจุบันเราทำได้แล้ว 42% และเป้าหมายของเราคือ 70% ภายในปี 2016 ซึ่งขณะที่เรากำลังเพิ่มสัดส่วนนี้ การพึ่งปลาที่เหลือจากการจับของเราก็ลดลงเป็นจำนวนมหาศาล ผู้ค้าปลาป่นรายใหญ่ที่สุดของเรา ซึ่งก็คือ คิงฟิชเชอร์ (Kingfisher) ใช้ผลพลอยได้จากทูน่าที่ได้จากมหาสมุทรแปซิฟิกและเป็นบริษัทปลาป่นรายแรกที่ได้รับมาตรฐานรับรองการผลิตที่ดี (GMP) และการเป็นผู้ค้าที่รับผิดชอบ (responsible supply)


การรับรองภายใต้มาตรฐานการไม่ทำประมงผิดกฎหมายของรัฐบาลไทย

ขณะนี้ คู่ค้า 40 จากทั้งหมด 55 รายของเราได้รับการรับรองตามมาตรฐานรัฐบาลไทยว่าด้วยการไม่ทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้โรงงานแปรรูปต้องยื่นเอกสารทั้งหมด รวมถึงเอกสารการซื้อสัตว์น้ำที่จับได้ หนังสือรับรองการจับสัตว์น้ำ คำแถลงของกัปตัน และหนังสือรับรองการทำประมง ซึ่งทั้งหมดคิดเป็น 73% ของคู่ค้าของเราและเราตั้งเป้าว่าจะทำให้ได้ 100%


ซีพีเอฟจ่ายค่าส่วนเพิ่มให้กับคู่ค้าที่ไม่ทำประมงผิดกฎหมาย (supplier premium for non-IUU)


ขั้นตอนหนึ่งที่ทำได้ทันทีเพื่อสนับสนุนให้ผู้ค้าปลาป่นของเราทุกรายเข้าร่วมในโครงการนี้ คือเราเป็นผู้ผลิตรายเดียวที่จ่ายค่าส่วนเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองเต็มรูปแบบว่าไม่ได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมายแก่คู่ค้า ซึ่งเมื่อสิ้นสุดปี 2013 ซีพีเอฟจ่ายค่าส่วนเพิ่มไปแล้วอีก 48.2 ล้านบาท


การรับรองห่วงโซ่อุปทานอิสระผ่านทาง Chain of Custody


ขั้นตอนที่ 2 คือขณะนี้เรากำลังทำงานกับ IFFO ในโครงการผู้ปรับปรุง IFFO RS (IFFO RS Improvers Program)http://www.iffo.net/node/493 ซึ่งเป็นโครงการตรวจสอบอิสระเพื่อสนับสนุนให้คู่ค้าทุกรายของเรานำกลไกที่ปรับปรุงการทำงานของตนมาใช้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ขั้นตอนที่ต้องทำก่อนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการผู้ปรับปรุง IFFO RS อย่างเป็นทางการคือคู่ค้าต้องได้รับมาตรฐานการรับรองการผลิตที่ดี (GMP) และการเป็นคู่ค้าที่รับผิดชอบwww.gmpplus.org ก่อน

ในเดือนนี้ โรงงานบ้านบึงของซีพีเอฟจะเป็นโรงงานอาหารสัตว์แห่งแรกในเอเชียที่จะได้รับการรับรอง IFFO RS CoC (Chain of Custody) ผ่านคู่ค้าปลาป่นรายหนึ่งของเรา และภายใน 3 ปี โรงงานแห่งนี้ตั้งเป้าว่าจะใช้ปลาป่น 100% จากคู่ค้าผู้ได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO RS ตามพันธะสัญญาที่เราทำไว้ในแผน 10 ประการของเรา


การทำงานกับรัฐบาลไทย

เราเป็นผู้ผลิตรายใหญ่รายเดียวในเอเชียที่ทำงานกับรัฐบาลไทย (กรมประมง) เพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายประมง โดยได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการกับหน่วยงานรัฐตลอดปี 2013 และในไตรมาสแรกของปี 2014 ขณะนี้ กฎหมายใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา


การผลักดันแผนปรับปรุงการทำประมง – แถบอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ผู้แปรรูปอาหารทะเลไทยรายสำคัญ 8 ราย*ลงนามในบันทึกเพื่อความเข้าใจ (MOU) (เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2014) พร้อมโครงร่างแผนที่นำทางเพื่อการพัฒนาการประมงไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งงานนี้จะมีการนำประเด็นสังคมว่าด้วยการใช้แรงงาน “ทาส” ที่ถูกกล่าวหามาแก้ไขด้วย ขณะนี้ ผู้แปรรูปกำลังจัดทำแผนปรับปรุงการทำประมง (Fishery Improvement Plan – FIP) สำหรับอ่าวไทยและทะเลอันดามัน แต่จำเป็นต้องมีเงินทุน c$500,000 ดอลลาร์เพื่อว่าจ้าง Sustainable Fisheries Partnership (SFP) http://www/sustainablefish.orgและองค...สากล (WWF) http://www.wwf.or.th/en/ซึ่งมีทั้งทั...ึกษา ซีพีเอฟอยู่ระหว่างการระดมทุนก้อนแรก


*สมาคมอาหารสัตว์ไทย สมาคมประมงแห่งชาติ สมาคมประมงไทยต่างประเทศ สมาคมผู้ผลิตปลาป่นประจำประเทศไทย สมาคมอาหารแช่แข็งไทย สมาคมกุ้งไทย สมาคมอุตสาหกรรมปลาทูน่าไทย และสมาคมผู้แปรรูปอาหารไทย


การที่บริษัทเข้าไปเกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน


หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนติดต่อบริษัทเพื่อสอบถามแผนความยั่งยืนโดยทั่วไปของเรา ซึ่งบริษัทตัดสินใจจะสื่อสารกับหนังสือพิมพ์ ด้วยเข้าใจว่าในฐานะเป็นหนังสือพิมพ์ที่รับผิดชอบ บริษัทหวังว่าเดอะการ์เดียนจะช่วยสร้างความตระหนักรู้ที่จำเป็นในงานที่บริษัทกำลังทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับแผนปรับปรุงการทำประมงที่ทั้ง SPF และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล นำเสนอ


ระหว่างการติดต่อสื่อสาร บริษัทส่งคำตอบให้กับคำถามต่างๆ ของหนังสือพิมพ์ รวมทั้งสถิติการส่งออกมหภาคและรายละเอียดการกำกับดูแลห่วงโซ่อาหารในขณะนี้ของเรา ข้อมูลคู่ค้าปลาป่นและความคืบหน้าที่ดีในการควบคุมการจัดซื้อปลาป่นของเราให้เข้มงวดขึ้น หนึ่งในตัวอย่างคืองานที่เรากำลังทำกับ IFFO เพื่อผลักดัน “โครงการ IFFO RS Improvers Chain of Custody”


อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าหนังสือพิมพ์ได้ตัดสินใจไปแล้วว่าจะเจาะประเด็นแรงงานทาสเพียงประเด็นเดียวโดดๆ โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเรื่องนี้เกี่ยวโยงกับแผนปรับปรุงการทำประมงโดยรวม


หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สามารถช่วยได้ด้วยการเขียนข่าวโดยมีบริบทผูกโยงกับงานที่ซีพีเอฟกำลังทำ แต่หากหนังสือพิมพ์เลือกที่จะแค่ตั้งเป้าไปที่ผู้ค้าปลีกที่ถูกกล่าวหาว่าใช้แรงงานทาสอย่างที่กำลังทำอยู่ งานของเราก็จะยิ่งยากขึ้น เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของทั้งอุตสาหกรรม


ซีพีเอฟมีทางเลือก เราสามารถเลือกที่จะไม่ใช้ปลาป่นอีกต่อไป ทั้งนี้ เราได้พัฒนาโปรตีนซึ่งสามารถนำมาใช้แทนปลาป่น และเรามีพันธะสัญญาที่จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จภายในปี 2021 หากจำเป็น (แผน 10 ประการของซีพีเอฟ)


หรือเราสามารถเลือกที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไปและประพฤติตัวด้วยความรับผิดชอบด้วยการใช้พลังและศักยภาพของเราเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าเดิม


สิ่งที่เราทำกำลังคืบหน้าไปด้วยดี แต่ขณะนี้เรายืนอยู่บนจุดหักเห เราสามารถเลือกที่จะไม่ทำอะไรเลยและเฝ้าดูปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมพวกนี้ทำลายน่านน้ำรอบประเทศไทยรวมทั้งอุตสาหกรรมประมงในอีกหลายรุ่นข้างหน้า หรือไม่เราสามารถช่วยผลักดันแผนปรับปรุงการทำประมงที่ SFP และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล นำเสนอ


นอกเหนือจากที่ซีพีเอฟได้ออกเงินสนับสนุนไปแล้ว ขณะนี้เราอยู่ระหว่างการพัฒนาแผนเพื่อระดมทุน ในการนำเงินไปใช้ในการจัดทำแผนและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้เพื่อความยั่งยืน


ข้อมูลจาก....ผู้จัดการออนไลน์ ประจำวันที่ 13 มิย. 57
http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9570000066612

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม