ดูแบบคำตอบเดียว
  #8  
เก่า 20-08-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,253
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


นโยบายปิดอุทยานแนวทางใหม่พักฟื้นระบบนิเวศเป็นเรื่องที่ดี แต่บทบาทนักท่องเที่ยวไม่ควรถูกมองข้าม

จากเวทีเสวนาออนไลน์ของผู้บริหารงานอุทยานแห่งชาติกับผู้ใช้บริการอย่างช่างภาพ ให้ความเห็นในประเด็นของนโยบายปิดอุทยานทั้งสองมิติว่า การปิดอุทยานสร้างผลดีระบบนิเวศได้พักฟื้น กับบทบาทของนักท่องเที่ยวดูแลระบบนิเวศที่สำคัญควรถูกนำพิจารณากับนโยบาย

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จงคล้าย วรพงศธร เผยการจัดการท่องเที่ยวโดยใช้การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวโดยผ่านแพลตฟอร์ม Application QueQ หลังเกิดเหตุการณ์ COVID-19 เห็นถึงธรรมชาติได้ถูกพักฟื้น เพื่อพัฒนาแนวทางการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศของอุทยานแห่งชาติ และ นัท สุมนเตมีย์ ได้ให้ข้อสังเกตถึงบทบาทที่สำคัญของนักท่องเที่ยวในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ อธิบายผ่านเสวนาออนไลน์?ปิดอุทยาน: เหรียญสองด้านที่ควรพิจารณา?กับสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม


เจ้าหน้าที่วัดอุณหภูมิและให้สแกน QR Code ก่อนเข้าอุทยาน / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ณิชา เวชพานิช

สืบเนื่องเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วราวุธ ศิลปอาชา เผยบนเพจเฟซบุ๊กถึงแนวคิดปิดอุทยานแห่งชาติ 133 แห่งทั่วไทย ไม่ต่ำกว่า 3 เดือนทุกปีเพื่อให้ธรรมชาติได้พักฟื้น จงคล้าย วรพงศธร อธิบายว่า สถานการณ์ช่วง COVID-19 เล็งเห็นถึงทรัพยากรธรรมชาติฟื้นฟูหลังจากการปิดบริการให้นักท่องเที่ยวที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่างปรึกษาเข้ากรรมการที่ปรึกษาอุทยาน เพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในแต่ละอุทยานตามศักยภาพแต่ละพื้นที่ ช่วงเวลาพักฟื้นจะไม่เหมือนกันบางพื้นที่ 3 เดือน หรือ 2 เดือนบางแห่ง และนำมาปรึกษาคนในท้องที่เห็นด้วยหรือไม่ เพื่อหาแนวทางร่วมกันนำมาประกาศใช้

การปรับเปลี่ยนการท่องเที่ยวเพื่อให้มีผลกระทบระบบนิเวศให้น้อยที่สุด โดยมีการใช้แอพพลิเคชั่น QueQ เพื่อจำกัดจำนวนคนเข้าเที่ยวอุทยาน โดยทำการจองเข้าใช้บริการผ่านทางแอพพลิเคชั่นในการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว เพื่อรับนักท่องเที่ยวได้ตามศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่จะรับได้ ช่วงที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวจองแอพพลิเคชั่นเข้ามาท่องเที่ยวมากถึง 2 แสนกว่าคนอันดับหนึ่ง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อันดับรอง อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง ส่วนนักท่องเที่ยวมีบทบาทเข้ามาส่วนช่วยการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้นักล่าสัตว์เข้ามาพื้นที่ลดลง จงคล้าย วรพงศธร อธิบาย

ส่วนทางด้าน นัท สุมนเตมีย์ ช่างภาพใต้น้ำ และสัตว์ป่า อธิบายว่าตน ไม่มีความคิดเห็นขัดแย้งอย่างไรในนโยบายปิดอุทยาน แต่เห็นด้วยกับการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ส่วนการปิดอุทยานทางทะเลมองว่า แทนที่จะกลายเป็นการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติดี อย่างสัตว์น้ำ ปลา จากที่ตนได้รับข่าวสารจากเพื่อน พบว่าจุดดำน้ำหลายจุดที่ไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเลย กลับพบเครื่องมือทำการประมงขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็น อวน หรือ ลอบ ในมุมหนึ่ง นักท่องเที่ยวเองก็เป็นผู้ช่วย เพราะว่าเมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเรือประมงก็ไม่กล้าเข้ามาใช้พื้นที่ซับซ้อน นักท่องเที่ยวเป็นหูเป็นตาให้กับกรมอุทยานได้เช่นกัน

นัท สุมนเตมีย์ ได้เสนอแนะการท่องเที่ยวอุทยาน การสื่อความหมายทางธรรมชาติ เดินทางไปอุทยานแห่งชาติ เพื่อเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยว ยกตัวอย่างการท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่มีรูปแบบกิจกรรมโดยมีเจ้าหน้าที่เป็นคนนำ อย่างทัวร์ถ่ายภาพ นักท่องเที่ยวพาไปที่จุดถ่ายภาพ ทัวร์ในพื้นที่ การนำการท่องเที่ยวหลายแหล่งท่องเที่ยว ในหลายๆครั้งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่รู้ข้อควรปฎิบัติในการศึกษาธรรมชาติ ซึ่งเสี่ยงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในภายหลัง

ต่อไปการท่องเที่ยวของอุทยานจะเริ่มเน้นการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศเพิ่มมากขึ้น รับนักท่องเที่ยวโดยผ่านแอพพลิเคชั่น QueQ เพื่อจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มเส้นทางการเรียนรู้ธรรมชาติและเน้นให้คนในพื้นที่เป็นมัคคุเทศก์นำศึกษาธรรมชาติ อุทยานยังคงให้ความสำคัญในศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างความเข้าใจของนักท่องเที่ยวในการใช้บริการ


https://greennews.agency/?p=21655

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม