ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 12-02-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,253
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศแปรปรวน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับมีหมอกหนาบางพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบน ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกในระยะนี้ สำหรับลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 12 ? 13 ก.พ. 65 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศแปรปรวน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 14 ? 16 ก.พ. 65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

หลังจากนั้นในวันที่ 17 ก.พ. 65 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณหัวเกาะสุมาตรา ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ส่วนในช่วงวันที่ 12 ? 13 ก.พ. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 ? 16 ก.พ. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2565)" ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565

ในช่วงวันที่ 12?13 กุมภาพันธ์ 2565 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้


วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง: จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด


วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม