ดูแบบคำตอบเดียว
  #59  
เก่า 21-07-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,159
Default

ผู้จัดการออนไลน์
04-05-201

ปัญหาการประมง : “เป็นเรื่องการไร้ความสามารถที่จะคิดแตกต่างไปจากโลก ที่เห็นแก่ตัว” ....................... โดย ประสาท มีแต้ม

ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยได้รับคำเตือนหรือ “ใบเหลือง” เนื่องจากการทำประมงที่ผิดกฎระเบียบที่เรียกว่า “ ระเบียบ-ไอยูยู (IUU-fishing คือ ผิดกฎหมาย (Illegal), ขาดการรายงาน (Unreported), ไม่มีการควบคุม (Unregulated)” เป็นเวลา 6 เดือนจากสหภาพยุโรปเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา หากรัฐบาลไทยไม่ดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่พอใจ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งอ้างว่าเป็นผู้นำเข้าสิน ค้าจากการประมงมากที่สุดในโลกก็จะไม่รับซื้อสินค้าดั งกล่าวจากประเทศไทย

เราจึงควรมาทำความเข้าใจกับเรื่องนี้ให้ลึกกันสักหน่ อยเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมาก ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ (1) ประเทศไทยส่งออกปลาและผลิตภัณฑ์การประมงคิดเป็นมูลค่ ามากเป็นอัน 3 ของโลกรองจากจีนและนอร์เวย์ และ (2) เป็นเรื่องความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเลไม่เฉพาะแต่ สำหรับคนไทยเท่านั้น แต่เป็นเรื่องผลประโยชน์ในอนาคตของคนทั้งโลกอีกด้วย

ไม่ทราบว่าเป็นเรื่องบังเอิญหรือจงใจกันแน่ ในช่วงเวลาที่ใกล้กันนั้นได้มีข่าวการค้ามนุษย์หรือแ รงงานทาสในภาคการประมงเกิดขึ้นด้วย จึงทำให้สื่อหลายสำนักนำเสนอข่าวจนทำให้คนไทยเข้าใจค ลาดเคลื่อนว่า “ไอยูยู” มีเฉพาะปัญหาแรงงานทาสที่รัฐบาลไทยได้แก้ไขไปแล้วรวม ทั้งการผ่าน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์รวดเดียว 3 วาระในสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย

ในบทความนี้ ผมขอนำเสนอเป็นข้อๆ รวม 5 ข้อดังนี้


หนึ่ง เหตุผลของสหภาพยุโรป

สหภาพยุโรป (European Commission) ถือว่าการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU-fishing) เป็นปัญหาที่รุนแรงของโลกปัญหาหนึ่ง เพราะส่งผลให้เกิด (1) การประมงที่มากเกินไป (overfishing) (2) ทำลายการแข่งขันทางเศรษฐกิจซึ่งทำให้ชาวประมงที่ซื่อ สัตย์เสียเปรียบ และ (3) ทำให้ชุมชนชายฝั่งอ่อนแอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา

หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็เพื่อ “ส่งเสริมและสนับสนุนการทำประมงที่เหมาะสม สร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับทรัพยากรสัตว์น้ำที่เ ป็นแหล่งอาหารของคนทั้งโลก”

สหภาพยุโรปได้เริ่มบังคับใช้มาตรการ IUU-fishing ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 โดยอ้างว่าได้ร่วมทำงานกับผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ ต่างๆ ทั่วโลก โดยใช้บังคับทั้งในน่านน้ำของแต่ละประเทศและในน่านน้ ำสากลด้วย มาตรการตอบโต้ต่อประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมืออย่างจริ งจังก็คือประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปจำนวน 27 ประเทศจะไม่รับซื้ออาหารทะเลและผลิตภัณฑ์จากประเทศที ่ไม่ให้ความร่วมมือ โดยเริ่มต้นให้เวลาในการปรับตัวนาน 15 เดือน

จากเอกสารของอียูเอง (21 เมษายน 2558) ระบุว่า ในแต่ละปีปริมาณสัตว์น้ำจากการประมงที่ผิดกฎหมายทั่ว โลกมีประมาณ 11 ถึง 26 ล้านตัน หรือ 15% ของสัตว์น้ำทะเลที่จับได้ทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 8,000 ถึง 19,000 ล้านยูโร ในฐานะที่เป็นผู้นำเข้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก อียูไม่มีความปรารถนาที่จะร่วมในการกระทำความผิดนี้ และไม่ยินยอมให้สินค้าเหล่านั้นเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโร ป

คำว่า “ผิดกฎหมาย” นี้ทาง FAO ได้ให้ขยายความว่า เป็นการทำประมงในเขตของประเทศอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายประมงหรือระเบียบของประเ ทศนั้นๆ เอง เช่น ทำประมงในช่วงเวลาที่ห้ามทำ หรือในบางพื้นที่อนุรักษ์เป็นพิเศษ เป็นต้น

ในการวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมของ IUU-fishing ทั่วโลก นักวิจัยได้สรุปว่า “IUU-fishing นั้น ส่วนใหญ่ปฏิบัติกันในประเทศที่รัฐอ่อนแอ มีการคอร์รัปชันในวงกว้างมีความลังเลในการออกกฎหมาย และขาดความมุ่งมั่นหรือประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎห มายที่มีอยู่แล้ว” (ที่มา The Future of Fish – The Fisheries of the Future, world ocean review)


สอง ทำไมอียูจึงให้ใบเหลืองประเทศไทย

จากเอกสารของอียูที่ประกาศเมื่อ 21 เมษายน 2558 ได้ให้เหตุผลว่า “จากการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนและแลกเปลี่ยนความเห็นก ับทางการไทยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2554 คณะกรรมการจึงกล่าวโทษ (denounce) ข้อบกพร่องของประเทศไทยที่เกี่ยวกับระบบการติดตามสัง เกต ควบคุม และลงโทษในการทำประมง โดยสรุปว่าประเทศไทยไม่ได้ใช้มาตรการที่เพียงพอในการ ร่วมแก้ปัญหาในระดับสากลเพื่อแก้ปัญหา IUU-fishing”

มาตรการไม่ซื้อสินค้าดังกล่าวทางอียูได้ใช้มาแล้วกับ ประเทศเบลีซ (Belize ในอเมริกากลาง ประชากรไม่ถึง 3 แสนคน) ประเทศกินี (Guinea ในทวีปแอฟริกา ประชากร 8 ล้านคน) กัมพูชาและศรีลังกา ในขณะที่ประเทศเกาหลีและฟิลิปปินส์ก็เคยได้รับใบเหลื องเช่นเดียวกับไทย แต่ก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นปกติแล้ว


สาม สถานการณ์ประมงในประเทศไทย

ถ้ายึดกันตามระเบียบ IUU-fishing ตามตัวอักษรแล้ว ก็พบว่าการประมงในประเทศไทยก็มีปัญหาครบตามที่ทาง FAO ขยายความทั้งในเขตน่านน้ำไทยเอง และในน่านน้ำสากลรวมทั้งเขตของประเทศเพื่อนบ้าน กล่าวคือ เรือประมงขนาดใหญ่เข้ามาทำประมงในเขตไม่เกิน 3 พันเมตรจากชายฝั่งตามที่ระเบียบได้ห้ามไว้ ชาวประมงพื้นบ้านเล่าให้ผมฟังว่า มีเรือประมงที่ต้องห้ามเข้ามาทำประมงประมาณ 1 พันเมตรเท่านั้น แต่ทางการก็ไม่สามารถเข้าจับคุมได้ นอกจากนี้ยังมีเรือที่ไม่มีใบอนุญาตอีกจำนวนมาก บางรายมีใบอนุญาตใบเดียวแต่มีเรือหลายลำ เป็นต้น

แต่ถ้ายึดกันตามวัตถุประสงค์ของอียูที่ว่า “สร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับทรัพยากรสัตว์น้ำที่ เป็นแหล่งอาหารของคนทั้งโลก” เราจะพบว่าในเขตน่านน้ำของประเทศไทยก็ได้สูญเสียความ ยั่งยืนไปนานแล้ว

จากงานวิจัยด้วยการสำรวจของกรมประมงชิ้นล่าสุด (2549, จากวารสารวิจัยเทคโนโลยีประมง) ที่เกี่ยวกับในอ่าวไทยตอนบนโดยใช้เรืออวนลากแผ่นตะเฆ ่ พบว่า ผลการจับสัตว์น้ำต่อหนึ่งชั่วโมงลงงานได้ลดลงจาก ที่ 256 กิโลกรัมต่อชั่วโมงในปี พ.ศ. 2506 ลงมาเหลือ 14 กิโลกรัมต่อชั่วโมงลงงาน ในปี พ.ศ. 2549 หรือลดลงจาก 100% ลงมาเหลือ 5% เท่านั้น ผมได้นำรายละเอียดและผลสรุปเอาไว้ด้วยครับ



(มีต่อ)
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 21-07-2015 เมื่อ 14:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม