ดูแบบคำตอบเดียว
  #60  
เก่า 21-07-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,159
Default


ปัญหาการประมง : “เป็นเรื่องการไร้ความสามารถที่จะคิดแตกต่างไปจากโลก ที่เห็นแก่ตัว” ....................... โดย ประสาท มีแต้ม (ต่อ)

งานวิจัยชิ้นนี้ยังได้นำเสนอด้วยว่า ในบริเวณจังหวัดเพชรบุรีสามารถจับได้เพียง 7 กิโลกรัมต่อชั่วโมงลงงานเท่านั้น ดังนั้น เราพอจะคิดกันเองได้ว่าน่านน้ำในอ่าวไทยของเรามีปัญห ารุนแรงขนาดไหนทั้งในฐานะชาวประมงและในฐานะคนกินปลา

นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า ผลการจับในปี 2549 ได้สูงกว่าในปี 2542 ซึ่งได้ 12.46 กิโลกรัม (ผมไม่ได้สรุปไว้ในตารางนี้) ว่าเป็นเพราะราคาน้ำมันในปี 2549 สูงกว่าในปี 2542 ทำให้จำนวนเรือประมงที่ออกทำการประมงในปี 2549 จึงน้อยลงด้วย แล้ว “ทำให้เรือสำรวจจับสัตว์น้ำได้สูงขึ้น”

แม้ผลการจับสัตว์น้ำในปี 2542 กับ 2549 อาจจะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ผมว่าแนวคิดของผู้วิจัยที่ซ่อนอยู่ในงานวิจัยนี้ม ีความสำคัญมาก คือจำนวนเรือประมงมีผลต่อความยั่งยืนของทรัพยากร ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสหภาพยุโรปที่ได้กล่า วมาแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้เครื่อง มือประมง (ซึ่งจะกล่าวต่อไป) คือผลการสำรวจครั้งนี้ยังพบอีกว่า ร้อยละ 46 (โดยน้ำหนัก) ของสัตว์น้ำที่จับได้เป็นปลาหน้าดิน โดยมีปลาเป็ดแท้เพียง 13% (คือปลาขนาดเล็กที่คนไม่นิยมบริโภคโดยตรง มักใช้ทำปลาป่นหรือน้ำปลา) ดังนั้น การใช้อวนลาก (ที่ทางอียูยังไม่ได้ยกขึ้นมาเป็นประเด็น) จึงเป็นการทำลายที่อยู่อาศัยอย่างถาวรของปลาจำนวนเกื อบครึ่งหนึ่งในทะเล


สี่ สิ่งที่ทางกรมประมงพยายามแก้ปัญหา

เมื่อทางสหภาพยุโรปได้ตั้งกติกาว่าด้วย IUU-fishing ทางกรมประมงจึงมีแนวคิดที่จะทำเรือที่ผิดกฎหมายอยู่แ ล้วในขณะนี้ให้ถูกกฎหมายเสีย ตามกติกาของอียู แต่ในเรื่องการติดตาม ตรวจตราและการควบคุม ทางกรมประมงก็อ้างว่าได้ทำเต็มที่แล้วตามกำลังที่มีอ ยู่

วิธีการของกรมประมงที่จะทำเรือประมงที่ผิดกฎหมายอยู่ แล้วให้ถูกฎหมายก็โดยการอ้างงานวิจัยในปี 2546 โดยองค์กรด้านอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ร่วมกับกรมประมงพบว่า จำนวนเรืออวนลากของประเทศไทยเกินศักยภาพที่ทรัพยากรจ ะรองรับได้ไป 33% หรือมีจำนวนเรืออวนลากมากเกินไปนั่นเอง โดยที่ขณะนั้นมีเรืออวนลากจำนวน7,968 ลำ

ในปี 2552 ทางกรมประมงพบว่ามีเรืออวนลากที่จดทะเบียนอย่างถูกกฎ หมายหรือมีเรืออวนลากที่ได้รับอาชญาบัตรไปแล้ว 3,619 ลำ ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามงานวิจัยในปี 2546 และกติกาของสหภาพยุโรป ทางกรมประมงจึงได้จิ้มเครื่องคิดเลขแล้วได้ข้อสรุปว่ า สามารถอนุญาตให้เรืออวนลากที่เป็นเรือเถื่อนอยู่ในขณ ะนี้ สามารถขึ้นทะเบียนเป็นถูกกฎหมายได้อีกประมาณ 2,300 ลำ

น่าเสียดายที่ทางกรมประมงได้เลือกเอาเฉพาะงานวิจัยบา งชิ้นมาปฏิบัติ (ชิ้นปี 2546) แต่ไม่ได้คำนึงถึงงานวิจัยในปี 2549 (ซึ่งผมนำมาสรุปไว้ข้างตน) ซึ่งแสดงอย่างชัดเจนว่าแนวโน้มของทรัพยากรสัตว์น้ำใน อ่าวไทยกำลังจะหมดไปจนเหลือแต่น้ำ และงานวิจัยชิ้นหลังนี้มีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ขอ งสหภาพยุโรปที่อยากจะรักษาทรัพยากรไว้ให้ทั้งคนรุ่นน ี้และลูกหลานในอนาคตด้วย

ผมขอหยุดเรื่องปัญหาการประมงไทยเอาไว้เพียงแค่นี้นะค รับ ต่อไปนี้ผมขอนำข้อมูลและแนวคิดของนักวิชาการในระดับโ ลกมาเล่าสู่กันฟังครับ ว่ากันแบบเบาๆ มีรูปประกอบ เผื่อว่าท่านผู้อ่านจะนำไปเล่าต่อเพื่อสร้างจิตสำนึก สาธารณะของลูกหลานต่อไปซึ่งก็เป็นวัตถุประสงค์ของสหภ าพยุโรปที่อยากให้รัฐบาลทำด้วย


ห้า ข้อมูล รูปภาพและแนวคิดของนักวิชาการระดับโลกบางคน


ผมได้เรื่องนี้มาจากการฟังคำบรรยายของศาสตราจารย์ Jeremy Jackson อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ ท่านเป็นนักนิเวศวิทยาที่เชี่ยวชาญเรื่องปะการัง ผมอยากให้ท่านผู้อ่านได้ฟังด้วยตนเอง มีคำแปล 23 ภาษารวมทั้งภาษาไทย (https://www.ted.com/talks/jeremy_jackson) ท่านพูดในเวที TED Talk ซึ่งใช้เวลาประมาณ 19 นาที

รูปแรกเป็นการเปรียบเทียบขนาดปลาจากนักกีฬาตกปลาที่ท ่าเรือแห่งหนึ่ง จากเรือลำเดียวกัน แต่เวลาต่างกันถึง 60 ปี





ภาพถัดไปเป็นร่องรอยท้องทะเลที่ถูกเรืออวนลากทำลาย





ภาพถัดมาเป็นภาพวาดแสดงการทำงานของเรืออวนลาก (ไม่ได้มาจากคำบรรยายของศาสตราจารย์ Jackson)





หลังจากได้ฟังคำบรรยายแล้ว ผมค้นคว้าเพิ่มเติม จึงได้พบสิ่งที่น่าสนใจมากซึ่งผมไม่เคยทราบมาก่อนครับ




ในตอนสรุปคำบรรยายเรื่อง “เราทำให้มหาสมุทรอับปางได้อย่างไร” ศาสตราจารย์ Jackson ว่า

เราทั้งหมดจะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร? เรามีวิธีหลายวิธีที่จะแก้ปัญหาได้ แต่ท้ายที่สุดนะครับ สิ่งที่เราต้องแก้จริงๆ คือตัวเราเอง มันไม่ใช่เรื่องของปลาไม่ใช่เรื่องของมลพิษ ไม่ใช่เรื่องของสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง แต่เป็นเรื่องของเรา เรื่องของความโลภและความกระหายการเติบโต และความไร้ความสามารถของเราที่จะนึกภาพ โลกที่แตกต่างไปจากโลกที่เห็นแก่ตัว ที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ ฉะนั้นคำถามคือ เราจะรับมือกับเรื่องนี้หรือไม่? ผมจะบอกว่าอนาคตของชีวิต และศักดิ์ศรีของมนุษยชาติ ตั้งอยู่บนการทำเรื่องนี้เลยครับ”


สรุป

ผมได้นำข้อความ “เป็นเรื่องการไร้ความสามารถที่จะคิดแตกต่างไปจากโลก ที่เห็นแก่ตัว” มาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อบทความนี้ ก็เพราะประทับใจและเห็นความจริงบางอย่าง ในฐานะที่เคยเป็นกรรมการสมาคมรักษ์ทะเลไทย ผมได้มีโอกาสเห็นชาวประมงพื้นบ้านร่วมกันตั้งธนาคารป ู โดยการเสียสละปูม้าที่ตนจับได้ที่อยู่ในสภาพไข่หน้าท ้องมาเพาะฝักต่อ แล้วปล่อยไข่ปูนับแสนๆ ฟองลงสู่ทะเล ผลที่ตามมา ภายในเวลาไม่นานปรากฏว่ามีลูกปูนับพันๆ ตัวมาวิ่งเล่นตามชายหาดเต็มไปหมด ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นที่อ่าวแห่งหนึ่งในจังหวัดประจ วบคีรีขันธ์

ผมสรุปว่า ชาวประมงพื้นบ้านเริ่มมีความสามารถในการคิดถึงในสิ่ง ที่แตกต่างไปจากความเห็นแก่ตัวได้แล้วครับ แต่กับกลุ่มอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าสัว ข้าราชการระดับสูงรวมทั้งนักการเมือง ผมยังไม่เห็นครับ
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 21-07-2015 เมื่อ 14:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม