ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 05-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,392
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ค่ามลพิษทางอากาศในนิวเดลี วิกฤติหนัก สูงกว่าเกณฑ์ WHO ถึง 100 เท่า

วิกฤติหนัก ค่ามลพิษทางอากาศในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย พุ่งทะลุ 500 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สูงกว่าเกณฑ์ปลอดภัยที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ถึง 100 เท่า



สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน ฤดูฝุ่นเริ่มแล้ว ประชาชนในอินเดียเผชิญวิกฤติมลพิษทางอากาศเหมือนกับหลายปีที่ผ่านมา โดยสภาพอากาศที่กรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ต้องเผชิญกับวิกฤติมลพิษทางอากาศเข้าขั้นรุนแรงหนัก โดยพบว่า ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI ในกรุงนิวเดลี เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2566 พุ่งทะลุ 500 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สูงกว่าเกณฑ์ปลอดภัยที่องค์การอนามัยโลก(WHO) กำหนดไว้ถึง 100 เท่า หรือเฉลี่ยไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้ทางการอินเดียต้องสั่งปิดโรงเรียน และหยุดการก่อสร้างที่ไม่จำเป็นทั่วกรุงนิวเดลี

คุณภาพอากาศในกรุงนิวเดลี เริ่มแย่ลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากการเผาพื้นที่การเกษตร สำหรับเตรียมการเพราะปลูกในฤดูต่อไป ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรัฐหรยาณา และรัฐปัญจาบ ทางตอนเหนือของประเทศ ประกอบกับลมแรงที่พัดพามลพิษเข้าสู่กรุงนิวเดลี และอุณหภูมิที่เย็นลงมีมวลหนักดักจับฝุ่น

คณะกรรมการเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศแห่งภูมิภาค ระบุเมื่อวันพฤหัสบดี (2 พ.ย.) ว่า "สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย การจุดไฟเผาพื้นที่เกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดพามลพิษไปยังนิวเดลี เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดัชนีคุณภาพอากาศเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน"

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าระบบเตือนภัยล่วงหน้าด้านมลพิษในกรุงนิวเดลีก็ไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะสามารถคาดคะเนคุณภาพของอากาศได้อย่างแม่นยำ

ทั้งนี้ กรุงนิวเดลีถือเป็นเมืองที่ติดอันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลกเป็นประจำ ซึ่งผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยชิคาโก ประเทศสหรัฐฯ พบว่า ผลจากวิกฤติมลพิษทางอากาศ ทำให้ประชาชนที่อาศัยในกรุงนิวเดลีมีอายุขัยสั้นลง 11.9 ปี


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2738112


******************************************************************************************************


เผยผลการวิจัยขนาดตัวที่เติบโตของจระเข้ทะเลจูราสสิก



พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ ในเมืองสตุตการ์ต เยอรมนี เป็นแหล่งรวบรวมซากสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลที่สำคัญทั่วโลก มีตัวอย่างมากมายตั้งแต่ช่วงที่เรียกว่า ?โพสิโดเนีย เชล? (Posidonia Shale) ซึ่งตะกอนโคลนถูกบีบอัดจากการฝังและน้ำหนักของชั้นหินที่อยู่ด้านบน ล่าสุด ทีมนักบรรพชีวินวิทยาของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งนี้ เผยว่า หลังตรวจสอบฟอสซิล 62 ชิ้นจากโพสิโดเนีย เชล ทำให้สามารถศึกษาอัตราการเติบโตของจระเข้ทะเลโบราณในยุคจูราสสิกได้

เนื่องจากสิ่งที่ยังเป็นข้อสงสัยก็คือ จระเข้ทะเลยุคจูราสสิกเหล่านี้เติบโตจากช่วงเป็นทารกที่มีขนาด 50 เซนติเมตร ไปเป็นจระเข้โตเต็มวัยขนาด 5 เมตรได้อย่างไร ทีมนักบรรพชีวินวิทยามุ่งไปที่จระเข้ทะเลดึกดำบรรพ์กลุ่ม Macrospondylus bollensis อยู่ในวงศ์ Teleosauroidea เป็นวงศ์ใหญ่ของทาแลตโตซูเชียน (Thalattosuchian) คือกลุ่มของสัตว์คล้ายจระเข้ที่อาศัยในทะเลยุคจูราสสิกตอนต้นจนถึงยุคครีเตเชียสตอนต้น และสูญพันธุ์ไปแล้ว ซากของมันพบได้ทั่วไปในชั้นโพสิโดเนีย เชล อายุ 182 ล้านปีทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี

ผลการวิจัยนี้ถือเป็นการค้นพบที่สำคัญ เพราะนักบรรพชีวินวิทยาเผยว่า Macrospondylus bollensis ทั้งในตอนเป็นเด็ก วัยก่อนโตเต็มวัย และโตเต็มวัย มีการเติบโตเกือบเท่ากันในหลายส่วนของร่างกาย เรียกสิ่งนี้ว่า การเจริญเติบโตแบบมีมิติเท่ากัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติในสัตว์มีกระดูกสันหลัง และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมจระเข้ Macrospondylus bollensis วัยเด็กจึงดูค่อนข้างคล้ายจระเข้โตเต็มวัย.

Credit : Papers in Palaeontology (2023). DOI: 10.1002/spp2.1529


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2737583

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม