ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 04-02-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


'วราวุธ' รมว.ทส. ดันกฎหมายลำดับรองกว่า 13 ฉบับรักษาทะเลไทย

'วราวุธ'รมว.ทส. ดันกฎหมายลำดับรองกว่า 13 ฉบับรักษาทะเลไทย คุ้มครองทรัพยากรทางทะเล แก้กัดเซาะชายฝั่ง ด้านรองประวิตร ให้เร่งประกาศก่อนทรัพยากรเสียหาย



เมื่อวันที่ 2 ก.พ. นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดเผยว่า หลักการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ คือ การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เนื่องจาก ทรัพยากรธรรมชาติถือเป็นสมบัติของเราทุกคน

นอกจากนี้ เครื่องมืออีกตัวหนึ่งที่เราต้องใช้เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อยู่ภายใต้ข้อกำหนดเดียวกัน มีความยุติธรรมและเท่าเทียม นั่นคือ การใช้มาตรการทางกฎหมาย สำหรับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็เช่นกัน ตนได้พยายามส่งเสริมการมีส่วนร่วมควบคู่กับการผลักดันการบังคับใช้กฎหมายเพื่อกำกับควบคุมการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ที่ผ่านมาได้มีการประกาศใช้กฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ไปแล้ว 29 ฉบับ และเตรียมประกาศเพิ่มอีก 13 ฉบับ ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว

โดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดผลักดันตามขั้นตอน เพื่อประกาศบังคับใช้กฎหมายลำดับรองทุกฉบับ ก่อนที่ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจะเสียหายและไม่สามารถฟื้นคืนได้ และให้เร่งสำรวจทุกทรัพยากร หากจำเป็นต้องใช้กฎหมายในการกำกับ ควบคุม ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการโดยด่วน ต่อไป

ด้านนายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) กล่าวเสริมว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ยกร่างกฎหมายลำดับรอง จำนวน 13 ฉบับ โดยทุกฉบับได้ผ่านการกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

โดยกฎหมายลำดับรองทั้ง 13 ฉบับ ประกอบด้วย การประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล จำนวน 6 ฉบับ การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน จำนวน 4 ฉบับ การป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 3 ฉบับ

บางฉบับได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วและเตรียมการประกาศ และบางฉบับอยู่ในกระบวนการเสนอตามขั้นตอน ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะได้เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกาศบังคับใช้กฎหมายลำดับรองทุกฉบับ

นอกจากนี้ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดทส. ได้สั่งการให้กรมฯ เสนอแผนการศึกษาและสำรวจในพื้นที่ เพื่อเตรียมการจัดทำร่างกฎหมายเพื่อคุ้มครองทรัพยากรและพื้นที่ที่มีความสำคัญเร่งด่วน รวมทั้ง ให้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ภาคประชาชนและผู้มีส่วนส่วนเสีย ให้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งและให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน


https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_5870226


*********************************************************************************************************************************************************


สาวงง ซื้อหมึกจากตลาดมาต้ม ก่อนพบว่าหมึก "ละลาย" หายเหลือแต่น้ำสีขุ่น

หญิงคนหนึ่งในเมืองเฉิงตู ซื้อหมึกมาจากตลาด แต่เมื่อนำไปต้มก็พบว่าหมึกละลายหายไปเกือบหมด เหลือเพียงแค่เศษเล็ก ๆ เท่านั้นที่ยังเหลืออยู่ภายในหม้อ



เมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมาหญิงคนหนึ่งในเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวนได้ไปซื้อหมึกมาสองตัวจากตลาด แต่ก่อนที่เธอจะนำไปปรุงอาหารเธอได้นำหมึกเหล่านั้นไปลวกก่อน แต่หลังจากที่ใส่มันลงไปในหม้อต้มสักพักหมึกเหล่านั้นก็หายไป เหลือเพียงเศษซาก และน้ำขาวขุ่นที่ตกตะกอนได้

ทำให้คลิปวิดีโอที่เธอได้บันทึกไว้ ทำให้ชาวเน็ตจีนต่างพูดถึง "หมึกที่หายไป" กันอย่างดุเดือดบนโซเชียลมีเดีย "ความปลอดภัยของอาหารคือปัญหาที่ใหญ่ที่สุด" "ฉันพึ่งไปกินบุฟเฟ่ต์มาแล้วหมึกก็มีรสชาติเหมือน 'บุก' " "ฉันอ่านเจอว่าเป็นมันไม่สดถูกแช่แข็งซ้ำ ๆ" และชาวเน็ตบางส่วนก็ตั้งคำถามว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นเรื่องที่หญิงสาวแต่งขึ้นเพื่อเรียกร้องความสนใจก็เท่านั้น

ในวันรุ่งขึ้นเธอจึงกลับไปที่ตลาดเดิม ซื้อหมึกจากร้านเดิมอีกครั้ง และลวกพวกมันด้วยวิธีเดียวกันกับเมื่อวาน ทั้งยังมีการจับเวลาการต้มเมื่อเวลาผ่านไป 5 นาที ก็พบว่าหมึกในหม้อเหล่านั้นเริ่มกลายเป็นสีชมพู ก่อนจะละลายหายไป และเหลือเพียงชิ้นส่วนเล็ก ๆ เท่านั้น และน้ำที่ใช้ต้มก็กลายเป็นสีขาว ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดเธอได้อัดวิดีโอคลิปเอาไว้



จากเหตุการณ์ดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะ "หมึกไม่สด" และความเป็นไปได้มากว่าเซลล์ในหมึกนั้นถูกทำลายหลังที่หมึกเหล่านั้นถูกแช่แข็ง และละลายซ้ำไป ซ้ำมาหลายครั้งจนทำให้ความสดของวัตถุดิบลดลง ซึ่งในทางชีววิทยาจะทำให้ของเหลวภายในเซลล์ไหลออกมา เมื่อประกอบกับการปรุงอาหารเป็นเวลานาน จึงทำให้หมึกเหล่านั้นเปื่อยจนเหมือนกับว่าพวกมันละลายหายไป

ทั้งนี้การนำอาหารไปแช่แข็งนั้นจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ หรือโครงสร้างของอาหารได้ ทำให้อาหารเสื่อมสภาพ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำชนิดอื่นได้ เช่นปลิงทะเล ส่วนความเป็นไปได้ว่า หมึกที่เธอนำมาต้มอาจจะเป็น 'หมึกปลอม' เหมือนในกรณีวัตถุดิบปลอมที่พบได้บ่อยในจีนนั้น

ถึงแม้ว่าจะมีความเป็นไปได้อยู่ แต่ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่าการทำหมึกปลอมนั้นมีต้นทุนสูง และยากที่จะเลียนแบบได้ในทางเทคนิค ทั้งนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น หน่วยงานที่กำกับดูแลตลาดเขตเหวินเจียงระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นจริง และอยู่ในระหว่างสุ่มตรวจสอบร้านขายอาหารทะเล


https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_5875749

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 04-02-2021 เมื่อ 04:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม