ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 17-06-2009
chickykai chickykai is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: จุดเล็กๆในเมืองหลวงของไทย แต่ระเห็จไปทำงานไกลบ้านเล็กน้อย
ข้อความ: 424
Default

ไม่ทราบจริงๆค่ะ แต่หาข้อมูลมาได้เท่านี้ ถ้ามีอะไรเพิ่มจะมาแปะให้ค่ะ

ไอโอดีน
ไอโอดีน เป็นธาตุในหมู่ 7 ของตารางธาตุ มีน้ำหนักอะตอม 126.9 มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ พบใน หิน ดิน น้ำ น้ำทะเล อากาศ และสิ่งมีชีวิต มีปริมาณมากน้อยที่แตกต่างกัน อาหารทะเลจะมีไอโอดีนสูงกว่าแหล่งอื่น ในธรรมชาติ มักพบในรูปเกลือ ไอโอเดต ( KIO3 ) และในรูปไอโอไดด์ หรือเป็นสารประกอบอินทรีย์ ในสิ่งมีชีวิต เช่น ในเลือด เนื้อเยื่อ น้ำนม เหงื่อ และปัสสาวะ

ไอโอดีนถูกนำมาใช้ครั้งแรกในการฆ่าเชื้อโรคในรูปของทิงเจอร์ ( Tincture of iodine ) ร่างกายของคนเราใช้ไอโอดีนในรูป ไอโอไดด์ เพื่อสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ โดยไอโอไดด์ถูกออกซิไดซ์แล้วสร้างพันธะกับไทโรโกลบูลิน (Thyroglobulin ) ได้ไทโรซิน (Thyrosine ,T3 ) และไทรอกซิน ( Thyroxine ,T4) ดังรูป

ไทรอยด์ฮอร์โมน เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะไปช่วยควบคุมการเผาผลาญสารอาหารเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทอัตโนมัติ
ถ้าขาดสารไอโอดีน จะทำให้หญิงมีครรภ์แท้งบุตร เด็กคลอดออกมาไม่สมประกอบ พัฒนาการช้า ปัญญาอ่อน ระบบประสาทไม่ดี ทำให้เป็นง่อย หูหนวกเป็นใบ้ แคระแกร็น ในผู้ใหญ่ถ้าขาดไอโอดีน เป็นเวลานานจะเป็นโรคเอ๋อ และคอหอยพอก ( Goiter ; hypothyroidism )
ถ้ารับประทานเกินประมาณวันละ 2,000 ส่วนในล้านส่วนเป็นเวลานาน ทำให้เกิดโรคคอหอยพอกเป็นพิษ( Hyperthyroidism ; Grave' s disease ) มีอาการเหนื่อยง่าย ผอมผิดปกติ บริโภคโดยตรงในครั้งเดียวประมาณ 2 กรัม ทำให้ปวดท้อง คลื่นเหียน อาเจียน ท้องร่วง เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ปอดอักเสบ ไตวาย หมดสติ และตาย ไอที่ความเข้มข้นเกิน 0.1 ส่วนในล้านส่วน เมื่อสัมผัสเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการระคายเคืองตาและระบบหายใจ ( อุดมเกียรติ , วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์:2539 )
WHO / ICCIDD / UNICEF ( 1993 ) แนะนำปริมาณไอโอดีนที่ร่างกายควรได้รับคือ 150 ไมโครกรัม /คน / วัน ในหญิงมีครรภ์และให้นมบุตร ควรได้รับเพิ่มอีกวันละ 25 และ 50 ไมโครกรัม ตามลำดับ ทารกอายุ 0-6 เดือนควรได้รับ 40 ไมโครกรัม / วัน ( องค์การอนามัยโลก )
ประเทศไทยพบปัญหาประชากรเป็นโรคขาดสารไอโอดีนมาก ( Iodine deficiency disorders, IDD ) แถบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และที่ห่างไกลทะเล ปัจจุบัน มีการส่งเสริมให้บริโภคสาหร่ายทะเล คุกกี้ ขนมอบกรอบ ผสมสาหร่ายทะเลผมนาง มีการเสริมโพแทสเซียมไอโอไดด์ ( KI ) และโพแทสเซียมไอโอเดต ( KIO3 ) ในอาหาร น้ำ เครื่องดื่ม และ เกลือบริโภค เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาโรคขาดสารไอโอดีน

กระทรวงสาธารณสุขมีประกาศกำหนดการใช้ไอโอดีนในอาหาร เช่น

ชนิดอาหาร ปริมาณไอโอดีน ประกาศกระทรวงฉบับที่
นมดัดแปลงสำหรับทารก, อาหารทารก ไม่น้อยกว่า 5 ไมโครกรัม / 100 กิโลแคลอรี ฉบับที่ 85 , 86 ( พ.ศ. 2528 )
อาหารเสริมสำหรับเด็ก ไม่น้อยกว่า 5 และไม่เกิน 20 ไมโครกรัม / 100 กิโลแคลอรี ฉบับที่ 87 ( พ.ศ. 2528 )
อาหารสำหรับผู้ที่ต้องควบคุมน้ำหนัก ไม่น้อยกว่า 15 ไมโครกรัม / 100 กิโลแคลอรี ฉบับที่ 121 ( พ.ศ. 2532 )
เกลือบริโภค ไม่น้อยกว่า 30 ไมโครกรัม / กิโลกรัม ฉบับที่ 153 ( พ.ศ. 2537 )


การเสริมไอโอดีนลงในเกลือ
เพื่อแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีน โดยทั่วไป ใช้โพแตสเซี่ยมไอโดด์ (KI) หรือ โซเดียมไอโอไดด์ (NaI) หรือโพแตสเซียมไอโอเดต (KIO2 ) เติมลงในเกลือบริโภค เนื่องจากเกลือบริโภคมีราคาถูก มีการใช้ในทุกครัวเรือน โดยประมาณการว่าคนทั่วไปจะบริโภคเกลือ วันละ 5-10 กรัม การเติมไอโอดีนลงในเกลือใช้เทคนิคไม่ยุ่งยาก ประกอบกัน ความเค็มของเกลือ จะทำให้ผู้บริโภคไม่เสี่ยงต่อการได้รับไอโอดีนมากเกินไป โดยธรรมชาติเกลือสมุทร มีไอโอดีนอยู่แล้ว แต่มีในปริมาณต่ำ (น้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ซึ่งไม่พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย
การผลิตเกลือเสริมไอโอดีน ทำได้หลายวิธี ได้แก่
Dry mixing เป็นการพ่น KIO3 ลงในเกลือผ่านระบบสายพาน พ่นลงในเกลือเหมาะกับการผสมเกลือป่น
Drip feed addition ใช้กับเกลือเม็ด โดยละลาย KI หรือ KIO3 และหยดในอัตราสม่ำเสมอลงสู่สายพานลำเลียงเกลือตลอดเวลา โดยคำนวณให้มี Iodine ในปริมาณไม่ต่ำกว่า 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
Spray mixing เป็นการพ่นสารละลาย KIO3 เป็นวิธีการพ่นสารละลายไอโอดีน ภายใต้ความดันที่สม่ำเสมอลงบนเกลือที่ไหลมาตามสายพาน
Submersion process เป็นวิธีการที่เสริมสารละลายไอโอดีนลงในขบวนการผลิตเกลือเป็นสารละลาย และปล่อยให้เกลือตกผลึก วิธีนี้ใช้เวลานาน แต่เกลือที่ได้มีไอโอดีนสม่ำเสมอ
Blender process เป็นวิธีการเสริมสารละลายไอโอดีน โดยการพ่นสารละลายไอโอดีนในเครื่องผสม เหมาะสำหรับผสมเกลือในขวด 0.5 - 3 ต้น/ช.ม.

ปริมาณไอโอดีนที่กำหนดให้มีในเกลือตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 153 (พ.ศ.2537) ต้องไม่น้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ที่มา http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/B...ITY/IODINE.HTM

โดยส่วนตัวแล้วพบว่าเกลือสมุทรที่ขายโดยชาวบ้านริมทาง(เวลาไปดอนหอยหลอด) จะมีปัญหาคือความบริสุทธิ์ของเกลือค่ะ เท่าที่เคยซื้อมามันจะมีเศษดินทรายปนอยู่บ้าง ซึ่งอาจจะเป็นประเด็นที่ทำให้คนไม่ค่อยซื้อเกลือชาวบ้านไปยริโภค

แต่ถ้าจำไม่ผิดจะมีชาวบ้านนาเกลือบางกลุ่มที่นำเกลือที่เค้าผลิตได้มาแปรรูปเป็นเกลือขัดผิดส่งสปา ซึ่งก็เป็นทางเลือกอีกแบบ คิดในแง่ที่ว่าเราไม่มีกำลังไปสู้กับอุตสาหกรรมเกลือบริโภคนะคะ ก็เลี่ยงมาตลาดที่ยังพอมีช่องว่างอยู่
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม