ดูแบบคำตอบเดียว
  #5  
เก่า 26-07-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,159
Default




อาการปวดหูจากการดำน้ำ










การที่เราปวดหู ระหว่างที่ลงดำน้ำนั้น...เป็นเพราะ เราได้รับอันตรายจากความกด ( Pressure ) ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งหมายถึงความกด(ของอากาศเหนือผิวน้ำบวกกับความกดของน้ำ) รอบตัวนักดำน้ำ นั่นคือทุกๆ ความลึก 33 ฟุตน้ำทะเล (10 เมตร) หรือ 34 ฟุตน้ำจืด (10.1 เมตร) ความกดจะเพิ่มขึ้น 1 บรรยากาศ หรือ14.7 psi



ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็น การดำน้ำแบบตัวเปล่า (Snorkel,Skin Dive, Free Dive) หรือ ดำน้ำด้วยอุปกรณ์ดำน้ำ (SCUBA) ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะของร่างกายที่เป็นโพรงอากาศ อันได้แก่ ช่องหูชั้นกลาง โพรงอากาศรอบๆ จมูก ( Sinus ) โพรงอากาศในร่างกายอื่นๆ เช่น ทางเดินหายใจ ฟันที่มีโพรง กระพาะหรือลำไส้ที่มีก๊าซ ปอด รวมทั้งอุปกรณ์ที่เราใช้ที่มีโพรงอากาศอยู่ข้างใน คือ หน้ากาก (Mask) และชุดกันการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกาย ที่เรียกว่า Dry Suit







ในกรณีของ ช่องหูชั้นกลาง ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีโพรงอากาศ อย่างหนึ่ง ความดันของอากาศในช่องหูชั้นกลางจะมีการเปลี่ยนแปลงได้โดยอากาศผ่านเข้าออกทาง Eustachian Tube (ท่อกลวงที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดลมที่คอ กับ ช่องหูชั้นกลาง) เมื่อนักดำดำลงไปความกดภายนอกร่างกาย จะดันให้เยื่อแก้วหูโป่งเข้าด้านใน ทำให้เกิดอาการตึงและปวดหู ถ้าฝืนดำต่อไปอาจทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้




ดังนั้นนักดำจะต้องแก้ไขโดยการเพิ่มความกดดันในช่องหูชั้นกลางให้เท่ากับความกดของน้ำรอบ ๆ ตัวให้ได้ (หรือที่เราเรียกว่า Pressure Equalization หรือเรียกง่ายๆว่า "การเคลียร์หู" ) โดยการทำให้ท่อ Eustachian เปิด ด้วยวิธีการปิดปาก ปิดจมูก แล้วหายใจออกเบาๆ หรือทำเสียง "ฮึ" ( วิธีการนี้เรียกว่า Valsalva Maneuver ) หรือการส่ายศรีษะ การหาว การเคี้ยวฟัน หรือการกลืนน้ำลาย อากาศจะเข้าไปในช่องหูชั้นกลาง (จะได้ยินเสียง "ฟี้" เบาๆ) ทำให้ไม่เกิดอาการปวดหู







การดำน้ำแบบ Snorkel...Skin Diving...หรือ Free Diving จะดำลงไป ก็ควรจะเคลียร์หูให้ได้ก่อน โดยอาจจะใช้วิธี Valsava น่าจะได้ผลที่สุด หากไม่ได้ผลก็อาจจะใช้วิธีอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้สองวิธีผสมกันก็ได้



ถ้าเป็นการดำน้ำลึกแบบ (SCUBA)..จะต้องดำน้ำลงไปใตน้ำช้าๆ (1 ฟุต/วินาที) โดยใช้เท้าลงก่อน (อย่าทิ่มหัวลงไป) แล้วทำ Valsava หรือใช้วิธีอื่นๆ วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือผสมกัน ถ้ารู้สึกว่าหูเริ่มมีอาการอื้อๆหรือเริ่มจะเจ็บ ให้ลอยตัวสูงขึ้นสัก 2-3 ฟุต (1 เมตร) แล้วทำใหม่ จนกว่าจะเคลียร์หูได้แล้ว จึงค่อยๆดำลงไปใหม่



ส่วนเวลาขาขึ้น...เมื่อโพรงอากาศในช่องหูปรับความกดให้เท่ากับจุดที่เราอยู่ใต้น้ำได้แล้ว เมื่อจะลอยตัวขึ้น ความกดที่อยู่รอบๆจะลดลง ถ้าปรับความกดในช่องหูให้ลดลงไม่ได้ ก็จะทำให้เยื่อแก้วหูทะลุออกไปด้านนอกได้ จึงจะต้องพยายามให้อากาศออกมาจากช๋องหูชั้นกลางให้ได้ โดยวิธีขึ้นให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ (1 ฟุต/วินาที) กลืนน้ำลาย หรือเคี้ยวฟัน ไปด้วย หากรู้สึกอื้อๆหรือเริ่มจะเจ็บ ให้ดำลึกลงไปสัก 2-3 ฟุต (1 เมตร) จนกว่าจะเคลียร์หูได้แล้ว จึงค่อยๆดำขึ้นไปใหม่




วิธีป้องกันอันตราย ที่จะเกิดในช่องหูจากการดำน้ำที่ดีที่สุด คือ ก่อนการดำน้ำควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่ควรดำน้ำในขณะที่ไม่สบาย หรือเป็นหวัด หากมีอากาศหวัด มีน้ำมูกและเสมหะะมาก ควรหยุดดำน้ำ


__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-01-2013 เมื่อ 23:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม