ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 21-09-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


นักโบราณคดียัน พบซากเรือขนทาสชาวมายาลำแรก เผยอดีตดำมืดของเม็กซิโก

นักโบราณคดีเม็กซิโกยืนยัน ซากเรือที่พบเมื่อ 3 ปีก่อน เป็นเรือขนทาสชาวมายาลำแรกที่เคยพบบนโลก ซึ่งมีข้อมูลมากมายเผยให้เห็นอดีตอันดำมืดของประเทศ



สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า สถาบันมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์แห่งชาติ (INAH) ของเม็กซิโก ประกาศเมื่อวันอังคารที่ 15 ก.ย. 2563 ว่า ซากเรือที่พบนอกชายฝั่งของคาบสมุทรยูกาตัน เป็นเรือที่ครั้งหนึ่งถูกใช้เพื่อขนชาวมายาซึ่งถูกจับตัวและถูกขายเป็นทาส ทำให้นี่เป็นเรือค้าทาสชาวมายาลำแรกที่เคยถูกค้นพบบนโลกนี้

เรือดังกล่าวเป็นเรือกลไฟ ชื่อว่า 'ลา อูนิยง' ถูกพบห่างจากชายฝั่งเมืองซีซัล ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเม็กซิโก ประมาณ 2 ไมล์ทะเล เมื่อปี 2560 แต่นักวิชาการใช้เวลาถึง 3 ปีเพื่อยืนยันว่า เรือลำนี้เป็นเรือขนทาสชาวมายันจริง

INAH ระบุว่า จากหลักฐานที่ค้นพบ ลา อูนิยง จับและขนส่งชาวมายาราว 25-30 ไปยังคิวบาทุกเดือนอย่างผิดกฎหมาย โดยชาวมายาเหล่านี้ถูกบังคับให้ทำงานในไร่อ้อยระหว่างปี 2398-2404 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามวรรณะแห่งยูกาตัน

"ทาสแต่ละคนถูกขายแก่คนกลางในราคา 25 เปโซ และถูกขายต่อในกรุงฮาวานา มากสุด 160 เปโซสำหรับผู้ชาย และ 120 เปโซสำหรับผู้หญิง" นาง เฮเลนา บาร์บา เมนเนคกี นักโบราณคดีของ INAH ระบุในแถลงการณ์ซึ่งเผยด้วยว่า เรือลำนี้ถูกจมในวันที่ 19 ก.ย. 2404 ระหว่างเดินทางไปคิวบา เป็นข้อพิสูจน์ว่า การค้าทาสในเม็กซิโกยังดำเนินอยู่ แม้จะถูกยกเลิกและสั่งห้ามในปี 2372

"สำหรับนักวิจัย การค้นพบครั้งนี้มีความสำคัญมาก? INAH ระบุ ?นอกเหนือจากความยากในการระบุชื่อซากเรือลำนี้แล้ว มันยังบอกถึงอดีตอันเลวร้ายของเม็กซิโก ที่ควรจะถูกยอมรับว่ามีจริและมีการศึกษาในแง่ของบริบทและช่วงเวลาช"



ทั้งนี้ นักโบราณคดีระบุชื่อเรือลำนี้ได้จากหม้อต้มเครื่องยนต์ ซึ่งระเบิดจนทำให้เกิดไฟไม้เรือ และจากไม้ข้างล้อใบจักรซึ่งยังรักษาสภาพเอาไว้ได้ พวกเขายังพบสิ่งของหลายอย่าง เช่น เศษแก้วจากขวด, เซรามิก และช้อนส้อมทองเหลือง ที่ใช้โดยผู้โดยสารชั้น 1 ของเรือ

อุบัติเหตุครั้งนั้นทำให้ลูกเรือ 80 คนกับผู้โดยสาร 60 คน เสียชีวิตราวครึ่งหนึ่ง โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้เสียชีวิตรวมถึงทาสชาวมายา ซึ่งถูกขึ้นบัญชีเป็น สินค้า ไม่ใช่ ผู้โดยสาร ด้วยหรือไม่


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1933861


*********************************************************************************************************************************************************


จีนกู้ซากเกราะเหล็ก เรือประจัญบานสมัยราชวงศ์ชิง จมก้นทะเลกว่า 100 ปี

จีนกู้ซากเกราะเหล็ก เรือประจัญบาน ติ้งหย่วน สมัยราชวงศ์ชิง จากใต้ทะเล หลังถูกยิงด้วยตอร์ปิโดโดยกองเรือรบญี่ปุ่นที่บุกเข้ามาตั้งแต่ กว่า 100 ปีก่อน



สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมื่อวันเสาร์ที่ 19 ก.ย. 63 นักโบราณคดีในจีน เปิดเผยว่า แผ่นเหล็กจำนวน 18 ตัน ได้รับการยืนยันว่าเป็นส่วนหนึ่งของซาก เรือติ้งหย่วน เรือประจัญบานชื่อดังแห่งราชวงศ์ชิง (ปี ค.ศ.1644-1911) ได้ถูกยกขึ้นจากน้ำใน เขตมณฑลซานตงทางตะวันออกของจีนแล้ว

โดยซากเรือดังกล่าวเป็นแผ่นเหล็กขนาดยาว 2.86 เมตร กว้าง 2.6 เมตร หนา 0.33 เมตร ถูกยกขึ้นมาจากน้ำทะเลบริเวณใกล้เกาะหลิวกงในเมืองเวยไห่ ซึ่งเป็นฐานทัพเดิมของกองเรือเป่ยหยาง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 ก.ย. ซึ่งเป็นวันครบรอบ 126 ปี ของสงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 1 หรือที่รู้จักกันในจีนว่าสงครามเจี๋ยอู่

โจวชุนสุ่ย หัวหน้าคณะสำรวจทางโบราณคดีใต้น้ำของเรือรบติ้งหย่วน กล่าวว่า แผ่นเหล็กชิ้นนี้แสดงหลักฐานที่ชัดเจนว่าซากเรืออับปางเป็นส่วนหนึ่งของเรือติ้งหย่วน ซึ่งเป็นเรือธงของกองเรือเป่ยหยาง ตรงกับที่บันทึกไว้ในสัญญาการต่อเรือติ้งหย่วน ทั้งในแง่ของวัสดุและรายละเอียดอื่นๆ



ศูนย์มรดกวัฒนธรรมใต้น้ำแห่งสำนักบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน ซึ่งเป็นผู้นำในการสำรวจครั้งนี้ เผยว่าแผ่นเหล็กชิ้นนี้เป็นแผ่นเกราะที่เคยใช้ปกป้องเรือประจัญบานของกองเรือเป่ยหยางเพียงชิ้นเดียวที่เก็บกู้ขึ้นมาได้จากน้ำจนถึงตอนนี้ ซึ่งแผ่นเหล็กได้ถูกนำไปไว้ที่ฐานทัพเก่าของกองเรือเป่ยหยางบนเกาะหลิวกง และกำลังอยู่ในกระบวนการขจัดเอาเกลือออกเพื่อการเก็บรักษา

ทั้งนี้ เรือติ้งหย่วน ถูกสร้างขึ้นในประเทศเยอรมนี โดยคณะข้าหลวงของราชวงศ์ชิง มีความจุเครื่องยนต์ 7,670 ตัน โดยเรือลำนี้ได้รับความเสียหาย หลังจากถูกยิงด้วยตอร์ปิโดจากกองเรือญี่ปุ่นที่บุกเข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2438 ก่อนกัปตันเรือจะสั่งให้จมเรือเพื่อไม่ให้ตกไปอยู่ในมือศัตรู.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1933736

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม