ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 20-12-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,248
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


แหล่งฟอสซิลชี้สัตว์ขาปล้องยักษ์เคยครองทะเล



การค้นพบแหล่งซากดึกดำบรรพ์หรือซากฟอสซิลแห่งใหม่ในโมร็อกโก บ่งชี้ว่า สัตว์ขาปล้องขนาดยักษ์ ซึ่งเป็นญาติของสิ่งมีชีวิตยุคปัจจุบันอย่างกุ้ง แมลง แมงมุม เคยปกครองท้องทะเลเมื่อ 470 ล้านปีก่อน โดยหลักฐานแรกได้จากพื้นที่ Taichoute ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ใต้ทะเล แต่ทุก วันนี้กลายเป็นทะเลทราย ซึ่งพบหลักฐานของสัตว์ขาปล้องขนาดใหญ่ที่อาจยาวได้ถึง 2 เมตร และใช้ชีวิตว่ายวนในท้องทะเลอย่างอิสระเป็นจำนวนมากเมื่อครั้งโบราณ

ทีมวิจัยนานาชาติจากมหาวิทยาลัย เอ็กซิเตอร์ ในอังกฤษ มหาวิทยาลัยโลซาน ในสวิตเซอร์แลนด์ มหาวิทยาลัยยูนนาน ในจีน มหาวิทยาลัยลียง ในฝรั่งเศส และสถาบันวิทยาศาสตร์สาธารณรัฐเชก เผยว่า พื้นที่ Taichoute และหลักฐานฟอสซิลของที่นี่มีความแตกต่างอย่างมากจากพื้นที่ Fezouata Shale ที่ห่างออกไป 80 กิโลเมตร อันเป็นที่ที่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 100 ของแหล่งทางธรณีวิทยาที่สำคัญที่สุดในโลกตั้งอยู่ในโมร็อกโก ทีมระบุว่า Taichoute เป็นส่วนหนึ่งของ Fezouata Biota และการพบความแตกต่างนี้เองที่จะเปิดช่องทางใหม่ในการวิจัยซากดึกดำบรรพ์และด้านนิเวศวิทยา

อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยเผย แม้ว่าสัตว์ขาปล้องขนาดยักษ์ที่ค้นพบจะยังไม่ได้ถูกระบุแน่ชัด ทว่า บางชนิดอาจเป็นของสายพันธุ์จาก Fezouata Biota และบางชนิดอาจเป็นสายพันธุ์ใหม่อย่างแน่นอน อีกทั้งด้วยขนาดตัวที่ใหญ่และวิถีชีวิตที่ว่ายน้ำอย่างอิสระ ก็บ่งชี้ว่าพวกมันมีบทบาทพิเศษในระบบนิเวศเหล่านี้.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2578663


******************************************************************************************************


ซากหนอนทะเลอายุ 455 ล้านปี พบในโมร็อกโก



การสร้างระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตในอดีตขึ้นใหม่นับเป็นหนึ่งในความพยายามของนักวิจัยที่ศึกษาด้านธรณีวิทยา เช่น งานวิจัยที่ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับยุคออร์โดวิเชียนอันเป็นธรณีกาลยุคที่ 2 ของมหายุคพาลีโอโซอิก ซึ่งทำงานกันในโมร็อกโก และมีการทำภาคสนาม 15 วันในพื้นที่ทะเลทรายของประเทศนี้ 2?3 ครั้งต่อปี

เมื่อเร็วๆนี้ โครงการวิจัยที่ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยกอมปลูเตนเซ แห่งมาดริด และสถาบันธรณีศาสตร์ ในสเปน ได้ระบุถึงหนอนทะเลหลายชนิดจากมหายุคพาลีโอโซอิกหรือออร์โดวิเชียนเมื่อ 455 ล้านปีก่อน โดยพบใน Tafilalt Biota พื้นที่ที่เป็นระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตในโมร็อกโก ซากฟอสซิลหนอนทะเลพวกนี้สอดคล้องกับประเภทและสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อ Anguiscolex africanus และอีกสายพันธุ์ใหม่คือ Wronascolex superstes ทีมวิจัยเผยว่า หนอนทะเล Palaeoscolecids เหล่านี้หาได้ยากในมหายุคพาลีโอโซอิกหรือออร์โดวิเชียน แม้พวกมันจะอาศัยอยู่ในทะเลทั่วโลก ส่วนซากของหนอนที่พบในโมร็อกโก เป็นลักษณะของเปลือกชั้นนอกของตัวหนอน ปกคลุมด้วย phosphatic micros clerites เรียงกันเป็นวงต่อเนื่องกัน

นอกจากนี้ นักวิจัยได้ให้ข้อสรุปอีกอย่างก็คือความใหญ่โต 3 หนอนทะเลที่พบใน Tafilalt Biota มีขนาดใหญ่กว่า Palaeoscolecids ที่พบในออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ และตอนกลางจนถึงตะวันตกของยุโรป ถึง 2-3 เท่า สิ่งนี้อาจเชื่อมโยงว่าดินแดนที่เป็นโมร็อกโกในอดีต ตั้งอยู่ใกล้ขั้วโลกใต้อย่างมากในยุคออร์โดวิเชียน.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2580931

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม