ดูแบบคำตอบเดียว
  #17  
เก่า 08-12-2010
sea addict sea addict is offline
Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2009
ข้อความ: 30
Default

เพิ่งกลับจากสิมิลันมาเหมือนกัน คราวนี้ได้ดำแค่ 2 ไดฟ์ แต่ขอลงดำน้ำจุดที่ผมสนใจคือ แนวslope บริเวณเรือนกล้วยไม้เกาะ 7 และ แนว slope บริเวณหินม้วนเดียวเกาะ 5 มีความแตกต่างของ 2 บริเวณนี้ครับ เกาะ 7 ด้านบนslope เสียหายเยอะมาก 70-80% แต่ยังพบบางส่วน ที่ยังดี(แต่ไม่เท่าเดิม)อยู่ ปะรังที่พบว่าฟอกขาวน้อยกว่าชนิดอื่นๆในระดับน้ำลึกคือ ปะการังแผ่นผิวเกล็ดน้ำแข็ง Montipora sp.ปะการังลายลูกฟูก Pachyseris sp. ปะการังดาวใหญ่ Diploastrea sp. และปะการังดอกกะหลำ Pocillopora sp. ผมพยายามมองหาปะการังปลายเข็ม Seriatopora hystrix:ซึ่งในเมืองไทยพบที่หมู่เกาะสุรินทร์-สิมิลัน แต่เที่ยวนี้หาไม่พบครับ
เกาะ5 ปะการังเขากวางที่ขึ้นเป็นหย่อมในที่ตื้น 10-15 เมตร ตายเกือบหมด แต่ยังยืนโครงร่างอยู่ได้ ส่วนในที่ลึกปะการังยังพบอยู่บ้างแต่ไม่มาก ส่วนความสวยของกองหินม้วนเดียวยังคงมีอยู่ครับ แต่ไม่สวยเหมือนเดิม

ปลาที่พบในทั้งสองที่ยังคงชุกชุมอยู่แต่กลุ่มองค์ประกอบอาจเปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อยปลากินพืชหลักๆจะมีมากขึ้น ปลาสลิดหิน ปลาขี้ตังเบ็ด ยังคงมากอยู่ ปลาผีเสื้อยังมีครับแต่น้อยกว่าเดิม ปลานกขุนทองก็น้อยกว่าเดิม ส่วนปลานกแก้วเต็มวัยพบได้น้อย แต่ปลาวัยรุ่นและลูกปลาพบได้มากน่าจะอยู่ในช่วงการแทนที่ประชากร

น่าสนใจว่าประชากรปะการังในอนาคตจะมีรูปแบบการแทนที่กันอย่างไร แหล่งพันธ์ปะการังที่เหลืออยู่จะยังมีมากพอที่จะฟื้นสภาพได้เร็วแค่ใหน ที่สำคัญครับ จะทำอย่างไรให้กิจกรรมของเรากระทบกลไกธรรมชาติให้น้อยที่สุด
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม