ดูแบบคำตอบเดียว
  #9  
เก่า 21-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,326
Default

ขอบคุณข่าวจาก Nation


เปิดผลสรุปเบื้องต้น สาเหตุหญ้าทะเลตาย กระทบ "พะยูน" ตรัง กับกุญแจสำคัญแก้วิกฤต ........... ต่อ


ขณะที่ นายปิ่นสักก์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า คณะทำงานได้จัดทำแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรมเป็นการเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากหญ้าทะเลเป็นพืชชั้นสูงที่เป็นตัวชี้วัดระบบนิเวศทางทะเลไทย

จากการทำงานในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เบื้องต้นพบการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลในจังหวัดตรัง สรุปสาเหตุหลักและสาเหตุประกอบอื่นๆ ได้แก่
เปิดผลสรุปเบื้องต้น สาเหตุหญ้าทะเลตาย กระทบ "พะยูน" ตรัง กับกุญแจสำคัญแก้วิกฤต

1.สาเหตุหลักที่ทำให้หญ้าทะเลเสื่อมโทรมตายลงเป็นวงกว้าง คือระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าปกติ เป็นสาเหตุหลักทำให้หญ้าทะเลอ่อนแอลงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาพอากาศที่รุนแรงและแปรปรวนมากขึ้น และพบกรณีหญ้าทะเลตายในลักษณะดังกล่าวในบริเวณอ่าวไทย ทั้งระยอง ตราด จันทบุรี รวมถึงในมาเลเซียด้วย หญ้าทะเลซึ่งเป็นระบบนิเวศหนึ่งในทะเลย่อมได้รับผลกระทบจากการต้องผึ่งแห้งและโดนแดดนานขึ้น

ซึ่งจากการนำข้อมูลของกรมอุทกศาสตร์มีศึกษาความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลในปี 2567นี้ พบว่า ระดับน้ำทะเลมีความเปลี่ยนแปลงลดลงต่ำกว่าปกติของทุกปีเฉลี่ย 30 เซนติเมตร เรียกว่าเกิดภาวะการกระเพื่อมของน้ำทะเลในมหาสมุทรอินเดีย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำใกล้หาดมาก เห็นได้จากกรณีที่ปรากฏ "กัลปังหาแดง" โผล่พ้นน้ำในพื้นที่เกาะสุกร จังหวัดตรัง ทำให้หญ้าทะเลที่เป็นพืชนั้นสูงผึ่งแดดแห้งและตายลงเป็นวงกว้าง ขณะที่หญ้าทะเลที่อยู่ในน้ำกลับปกติดี แต่อาจมีใบที่ขาดสั้นเพราะเมื่อแหล่งหญ้าใหญ่เสื่อมโทรม ทั้งพะยูนและเต่าทะเลก็มารุมกันกัดกินเป็นอาหาร


2.การทับถมและการเปลี่ยนสภาพของตะกอนในแหล่งหญ้าทะเล จากการศึกษาตะกอน ในเบื้องต้นบริเวณท่าเทียบเรือเกาะมุกด์ พบว่าลักษณะตะกอนชั้นบน 0-4 เซนติเมตรเป็นทรายละเอียดปนเลนและเปลือกหอย มีสีขาวปนเทา มีลักษณะอัดแน่นทำให้พื้นค่อนข้างแน่นแข็งไม่มีการจมตัว ตะกอนชั้น 3-6 เซนติเมตร เป็นชั้นทรายละเอียดอัดแน่นมีสีดำเล็กน้อยของไฮโดรเจนซัลไฟด์ พบเศษเหง้าหญ้าทะเลตายเล็กน้อย ที่ชั้นตะกอน 5-6 เซนติเมตรเป็นทรายละเอียดอัดแน่น คล้ายกับตะกอนดินที่พบหญ้าทะเลตายที่เกาะลิบง

ทั้งนี้ การศึกษาการปนเปื้อนของโลหะหนัก และมลสารอินทรีย์ที่ตกค้างยาวนาน ในตะกอนดินและหญ้าทะเลจากบริเวณแนวหญ้าทะเลจังหวัดตรัง เก็บตัวอย่างตะกอนผิวหน้าและชั้นตะกอน พบว่าลักษณะของตะกอนส่วนใหญ่เป็นทราย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของลักษณะตะกอนจากอดีตที่มีลักษณะเป็นโคลนปนทราย ซึ่งเราไม่ตัดประเด็นของตะกอนทับถมทิ้ง และกำลังศึกษาหาแหล่งที่มาของตะกอนดังกล่าวว่ามาจากพื้นที่ใด


3.การระบาดของโรคในหญ้าทะเล หรือปัจจัยอื่นๆ ทางทีมวิจัยมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่อาจซ้ำเติมให้หญ้าที่มีภาวะความอ่อนแอให้อยู่ในสภาพแย่ลงไปอีก โดยอาจมาจากปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้หญ้าทะเลอ่อนแอมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เช่น อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น การผึ่งแห้งนานขึ้นในขณะน้ำลง

อย่างไรก็ตาม จากสภาพปัญหาที่แผ่ขยายเป็นพื้นที่กว้าง โดยเริ่มมีรายงานพบหญ้าทะเลที่ใบขาดในประเทศอื่นๆด้วย ทำให้ สมมุติฐานที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศความเป็นไปได้สูง แนวทางฟื้นฟูคงต้องให้ระบบนิเวศฟื้นตัวและมีความพร้อม ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้ต้องใช้เวลา 4-5 ปี ให้ธรรมชาติฟื้นฟูด้วยตัวเอง หรือเมื่อเข้าสู่ช่วงฝนตก ระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงคงที่
เปิดผลสรุปเบื้องต้น สาเหตุหญ้าทะเลตาย กระทบ "พะยูน" ตรัง กับกุญแจสำคัญแก้วิกฤต

และเราพบว่าหญ้าทะเลในทั้งหมด 13 ชนิด นอกจากหญ้าคาทะเลที่เสื่อมโทรมเป็นหลักแล้ว หญ้าชนิดอื่นก็เริ่มมีการฟื้นตัว เช่น หญ้าใบมะกรูดซึ่งเป็นแหล่งอาหารหนึ่งของพะยูน เป็นต้น แต่ขณะนี้จำเป็นต้องเตรียมการคัดเลือกและสะสมพันธุ์หญ้าทะเลที่มีความทนทานสูง โดยรวบรวมจากหลายพื้นที่เพื่อคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางพันธุกรรมของหญ้าทะเล การพัฒนาเทคนิคการลงปลูกในแหล่งธรรมชาติ โดยใช้ต้นแบบจากแปลงปลูกที่ประสบความสำเร็จแล้ว อีกทั้งยังส่งเสริมให้มีการเพาะขยายพันธุ์โดยใช้บ่อพักน้ำทะเลหรือบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เพื่อสร้างความพร้อมในการนำไปปลูกเสริมในสภาพธรรมชาติต่อไป

"ส่วนการบินสำรวจประชากรพะยูนล่าสุดที่ลดลงมาอย่างน่ากังวล พบเพียง 36 ตัว จากปี 2566 ที่พบถึง 194 ตัว กรมยังขอไม่ยืนยันตัวเลขนี้ เพราะในช่วงการบินสำรวจดังกล่าวสภาพอากาศและน้ำไม่อำนวย และไม่พบซากพะยูนที่หายไปเป็นร้อยตัว จึงสันนิษฐานว่ายังไม่ตาย แต่อาจเคลื่อนย้ายที่หากิน โดยจะมีการบินสำรวจใหม่ในปลายเดือนมีนาคมนี้ เพื่อวางแผนกำหนดพื้นที่ปลอดภัยที่พะยูนมีการเคลื่อนย้ายต่อไป

และขอให้เชื่อมั่นว่าเรากำลังดำเนินการอย่างเต็มกำลังที่สุดเพื่ออนุรักษ์หญ้าทะเลและพะยูน ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย โดยเฉพาะการส่งออกอาหารทะเล ที่สหรัฐเมริกาเข้มในเรื่องมาตรการประเทศต้นทางในเรื่องการดูแลพะยูนซึ่งเป็นสัตว์ทะเลหายากที่ใกล้สูญพันธุ์" นายปิ่นสักก์ กล่าว


"มูลนิธิอันดามัน" จี้ หน่วยงานตามคุ้มครอง "พะยูน" ย้ายที่หากินออกนอกเขตอนุรักษ์


ด้าน นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอันดามัน กล่าวว่า แม้จะอยู่ระหว่างการหาสาเหตุ และแนวทางการฟื้นฟูที่ต้องใช้เวลา แต่แนวทางการอนุรักษ์และคุ้มครองพะยูนก็ต้องดำเนินการไปพร้อมกัน เมื่อพะยูนมีการย้ายพื้นที่หากินออกนอกพื้นที่จังหวัดตรังตามประกาศกระทรวงทส.ที่กำหนดเขตคุ้มครองไว้ โดยจากข้อมูลที่เครือข่ายมูลนิธิฯในพื้นที่จังหวัดกระบี่และพังงาแจ้งมาพบว่า ในขณะนี้มีชาวบ้านพบเห็นพะยูนในพื้นที่กระบี่และพังงานเพิ่มมากขึ้น จึงอยากให้หน่วยงานติดตามวางแผนการคุ้มครองภัยคุกคามพะยูนที่ย้ายถิ่นด้วย
เปิดผลสรุปเบื้องต้น สาเหตุหญ้าทะเลตาย กระทบ "พะยูน" ตรัง กับกุญแจสำคัญแก้วิกฤต

หลังจากนี้ คงต้องติดตามกันต่อว่า สุดท้ายแล้ว กุญแจ(มาตรการ)ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง พลังของเครือข่ายอนุรักษ์ในพื้นที่ จะไขวิกฤตหญ้าทะเลใน จ.ตรัง ได้หรือไม่ แล้ว "พะยูนตรัง" จะย้ายที่หากินจริงๆ หรือไปที่ไหน อย่างไรก็ตาม ขอเป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่และบุคคลที่จะช่วยทั้งหญ้าทะเลและเจ้าหมูน้ำ เพื่อให้พวกเขาอยู่คู่กับท้องทะเลต่อไป


ขอบคุณข้อมูลจาก :
เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ขยะมรสุม MONSOONGARBAGE THAILAND
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ศูนย์ข้อมูลกลางด้านทรัพยากรทางทะเล
คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง



https://www.nationtv.tv/news/social/378941699

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม