ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 21-03-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


พายุทรายที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเกี่ยวข้องกับวิกฤตสภาพูมิอากาศหรือไม่

ช่วงเช้าของวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา ประชาชนในกรุงปักกิ่งตื่นมาพร้อมกับท้องฟ้าที่กลายเป็นสีส้มอันเนื่องมาจากกระแสลมแรงพัดพาพายุทรายขนาดใหญ่ที่มาจากมองโกเลีย พายุทรายได้ทำให้ระดับมลพิษทางอากาศพุ่งสูงขึ้นในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นตอนเหนือของจีน เกาหลี และบางพื้นที่ของญี่ปุ่น สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของจีนบอกว่าพายุทรายนี้เป็น "พายุทรายที่ใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ"


พายุฝุ่น (หรือพายุทราย) ปกคลุมทั่วปักกิ่งและทำให้คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก


6 ชีวิตที่มลายและอีกร้อยที่สูญหาย

หน่วยงานจัดการเหตุฉุกเฉินของมองโกเลียรายงานว่าพายุทรายได้คร่าชีวิตคนไป 6 คน ส่วนในจีนสำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ณ วันที่ 15 มีนาคม มีผู้สูญหายอย่างน้อย 341 คน

พายุทรายในปักกิ่งได้ก่อให้เกิดทัศนวิสัยต่ำ ยอดตึกระฟ้าซ่อนอยู่ในหมอกควัน ผู้คนที่สัญจรไปมาตามท้องถนน และคนที่ขี่จักรยานต้องสวมหน้ากากและอุปกรณ์สวมศีรษะชั่วคราวเพื่อป้องกันใบหน้าของพวกเขาจากทรายที่กระโชกแรง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ความเข้มข้นของฝุ่น PM10 ในปักกิ่งมีค่าสูงกว่า 8,100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (สำหรับบริบทแนวปฏิบัติด้านคุณภาพอากาศของสหรัฐอเมริกาถือว่าระดับระหว่าง 0 ถึง 54 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรอยู่ในระดับ" ดี" และ 55 ถึง 154 อยู่ในระดับ "ปานกลาง" การสัมผัสมลพิษทางอากาศไม่มีในระดับที่ปลอดภัย)

ไกลออกไปทางตะวันตก ณ เมือง เจี่ยยู่กวน มณฑลกานซู ค่า PM10 มีค่าสูงถึง 9,985 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรหรือเกือบ 40 เท่าซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ ?มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมาก?

หลายเที่ยวบินต้องถูกยกเลิกและถูกสั่งห้ามบินเนื่องจากทัศนวิสัยต่ำ โรงเรียนถูกสั่งให้ยกเลิกกิจกรรมกลางแจ้งทั้งหมด และคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้รับคำแนะนำว่าให้อยู่แต่ในที่พักอาศัย


พายุทรายเกิดขึ้นได้อย่างไร?

3 ปัจจัยที่จะทำให้เกิดพายุทรายคือ

1) ขนาดความใหญ่ของพื้นที่ทราย

2) ระดับความแรงของลม และ

3) สภาพบรรยากาศที่สามารถพัดพาทรายไปในอากาศ

เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งกว่าเดิม กอปรกับอุณหภูมิที่พุ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ถึง 8 องศาเซลเซียสในมองโกเลีย ทำให้ฝุ่นและทรายสามารถฟุ้งกระจายได้แรงกว่าเดิม

นอกจากนี้ พายุไซโคลนที่เกิดขึ้นในมองโกเลียได้นำแรงลมระดับ 6 ถึง 8 ไปยังพื้นที่ทางตอนเหนือของจีนซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้การเกิดพายุทราย ยิ่งไปกว่านั้นการตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานและการกดกร่อนของดินทางตอนใต้ของมองโกเลียทำให้มลพิษทางอากาศมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น


ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นถึงพายุทรายที่เกิดในมองโกเลียถูกลมพัดพาไปบริเวณเอเชียตะวันออกและตก


พายุทรายเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไม่?

ดร. Liu Junyan นักรณรงค์ด้านสภาพอากาศและพลังงานของกรีนพีซ เอเชียตะวันออก กล่าวว่า "แม้ว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ความถี่ของพายุทรายในมองโกเลียก็เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"

ระหว่างปีพ.ศ. 2483 ถึง พ.ศ.2558 อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในมองโกเลียเพิ่มขึ้น 2.24 องศาเซลเซียสซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณสามเท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 ถึง พ.ศ.2558 ทุ่งหญ้าในมองโกเลียประสบกับความแห้งแล้งมากขึ้นเมื่อเทียบกับสองทศวรรษที่ผ่านมา เช่นเดียวกับความร้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและปริมาณน้ำฝนที่ลดลง การแทะเล็มหญ้าของสัตว์ที่มากเกินไปยิ่งซ้ำเติมปัญหาที่เกิดขึ้นของทุ่งหญ้า

เมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงขึ้น สภาพแวดล้อมที่นำไปสู่การก่อตัวของพายุทรายจึงเกิดขึ้นบ่อยขึ้น


ภาพเปรียบเทียบก่อนและหลังพายุทรายพัดถล่มในปักกิ่ง

เราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อป้องกันภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
หนทางที่ดีและยั่งยืนที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือเราต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในระดับโลกลงให้มากที่สุด

จีน เกาหลี และญี่ปุ่น ปล่อยก๊าซคาร์บอนถึงหนึ่งในสามของการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลกในปี พ.ศ. 2561 ในฐานะผู้ปล่อยก๊าซที่ใหญ่ที่สุดสามแห่งในเอเชียตะวันออก ล่าสุดเมื่อปี 2563 ทั้งสามประเทศให้คำมั่นสัญญาว่า จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ มุ่งไปสู่ "ความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon Nuetral) 100%

แต่ ณ ปัจจุบัน แผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของทั้งสามประเทศยังไม่มีออกมาให้เห็นเป็นรูปเป็นร่าง กรีนพีซจึงเรียกร้องให้ทั้งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีพัฒนาแผนงานรูปธรรมในระยะยาวขึ้นมา ว่าทำอย่างไรที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้ รวมถึงกรอบเวลาที่ชัดเจนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียน 100%


กิจกรรมฉายแสงข้อความรณรงค์ยุติถ่านหินในกรุงโซล เกาหลี

กรีนพีซในปักกิ่งได้รณรงค์ประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศและพลังงานมานานกว่าทศวรรษ ล่าสุดเราได้ป้องกันไม่ให้พันธบัตร "การเงินสีเขียว" หลายล้านดอลลาร์ไปลงทุนในโรงไฟฟ้าถ่านหิน ส่วนกรีนพีซ เกาหลีมีการพูดคุย เสนอแนวทาง และทางออกอย่างยั่งยืนกับนักการเมืองคนสำคัญ และท้ายสุดกรีนพีซ ญี่ปุ่น ได้รณรงค์ต่อต้านการแสดงจุดยืนสนับสนุนถ่านหินของรัฐบาลที่งาน World Economic Forum ในเมืองดาวอสเพื่อเรียกร้องให้สถาบันการเงินรายใหญ่ของญี่ปุ่นยุติการระดมทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่

คุณคือพลังอันสำคัญที่สามารถร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินได้

กรีนพีซได้สร้างความตระหนักแก่สาธารณชนเกี่ยวกับวิกฤตสภาพอากาศผ่านโซเชียลมีเดียและกิจกรรมต่าง ๆ เสียงของประชาชนสามารถผลักดันให้รัฐบาลและองค์กรที่ก่อมลพิษได้รับรู้ความจริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้พลังของเราสามารถผลักดันให้รัฐบาลเลิกสนับสนุนถ่านหิน และพร้อมเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างอนาคตที่ปลอดภัย


https://www.greenpeace.org/thailand/...oss-east-asia/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม