ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 20-09-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,291
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


อุทยานแห่งชาติเปิด 7 กฎเหล็ก ใครฝ่าฝืนเจอมาตรการเด็ดขาด ขึ้นบัญชีดำ

จากกรณีมีนักท่องเที่ยวไร้ความรับผิดชอบ ทิ้งขยะไว้ในพื้นที่อุทยานฯ และทางอุทยานฯ ได้มีการส่งขยะเหล่านั้นใส่กล่องส่งคืนไปให้ถึงบ้านคนทิ้ง จนเกิดเป็นกระแสอยู่ในโลกออนไลน์ขณะนี้



ล่าสุดวันนี้ (18 กันยายน 63) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก TOP Varawut ? ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา มีเนื้อความว่า

นับจากนี้ ใครท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติอย่างไร้ความรับผิดชอบ #ทิ้งขยะไว้ในพื้นที่ #ดื่มเครื่องดื่มมึนเมา #ส่งเสียงรบกวน #สร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น เราจะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด ขึ้นบัญชีดำ ห้ามไม่ให้เข้ามาทำความเสียหายในเขตอุทยานอีกต่อไปครับ

ตามที่มีการโพสต์ข้อความบนสื่อออนไลน์และร้องเรียน 2 กรณี เกี่ยวกับ

1)นักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่ง ที่มาขอใช้บริการเช่าเต็นท์ที่พักของ #อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งภายหลังจากการใช้บริการแล้วได้ทิ้งขยะไว้ในเต็นท์

2)นักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่ง ที่มาพักค้างกางเต็นท์ ในพื้นที่ #อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น ดื่มเครื่องดื่มมึนเมา และส่งเสียงดัง ได้มีการตักเตือนโดยเจ้าหน้าที่ แต่ก็มิได้ปฏิบัติตามนั้น



ทั้ง 2 เหตุการณ์ ถือเป็นการกระทำที่ขาดจิตสำนึก ส่งผลกระทบต่อการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่นในสถานที่อันเป็นสมบัติส่วนรวมของประเทศ

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาแล้ว เพื่อให้การบริการเกี่ยวกับการใช้ที่พักและบริการอื่น รวมถึงมาตรการในการดูแลรักษาความสะอาดของอุทยานแห่งชาติ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงมีหนังสือสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการ ดังนี้

1. กรณีมีการให้บริการเช่าเต็นท์ที่พักและพื้นที่กางเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ให้จัดทำบันทึกรายละเอียดประกอบด้วยบริเวณที่ผู้ใช้บริการเข้าพัก ชื่อ-นามสกุลผู้เข้าพัก หมายเลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ จัดทำหมายเลขประจำเต็นท์ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้เมื่อเกิดปัญหาในภายหลัง

2. กำชับเจ้าหน้าที่ให้แจ้งนักท่องเที่ยว ห้ามมิให้ทิ้งขยะไว้โดยเด็ดขาด และให้นำขยะออกไปทิ้งนอกเขตอุทยานแห่งชาติ หรือบริเวณซึ่งอุทยานแห่งชาติได้กำหนดไว้ หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด พร้อมทั้งขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ฝ่าฝืน มิให้เข้ามาใช้บริการพักค้างแรมในอุทยานแห่งชาติ ต่อไปในอนาคต

3. ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบบริเวณพื้นที่ที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวแต่ละราย ว่ามีความสะอาดเรียบร้อยหรือไม่ อย่างไร ก่อนที่จะคืนบัตรประจำตัวให้กับผู้ใช้บริการ

4. แจ้งเตือนเกี่ยวกับการนำสุราและสิ่งของมึนเมา เข้ามาในเขตอุทยานแห่งชาติ และการส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น



5. ประชาสัมพันธ์ผ่านเครื่องกระจายเสียง เพื่อแจ้งแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
5.1) ห้ามดื่มสุรา หรือของมึนเมา ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
5.2) ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นหลังเวลา 21.00 น.
5.3) หลังเวลา 22.00 น. นักท่องเที่ยวที่มาพักค้างในอุทยานฯ ต้องงดใช้เสียงทุกประเภท
5.4) หากนักท่องเที่ยวไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือน จะขอเชิญออกจากพื้นที่โดยทันที

6. ลำดับมาตรการดำเนินการ ในกรณีมีการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ มีขั้นตอนการตักเตือน การริบอุปกรณ์กระทำผิด การเชิญออกจากพื้นที่ และการแจ้งความดำเนินคดี ตามลำดับ

7. ในช่วงวันหยุดศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ที่มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการจำนวนมาก จะขอความร่วมมือไปยังสถานีตำรวจใกล้เคียง เพื่อร่วมส่งกำลังพลตรวจตราความเป็นระเบียบเรียบร้อย


สำหรับทั้ง 2 กรณีข้างต้น ทางอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และ อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น ได้แจ้งความดำเนินคดีกับนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว และเปรียบเทียบปรับตามกฏหมายเรียบร้อยแล้วครับ ขอให้ทุกคนศึกษาเป็นกรณีตัวอย่างที่ไม่น่ารัก และอย่าทำตามกันนะครับ ขอบคุณครับ
#TopVarawut #MNRE #DNP #CTP


https://mgronline.com/travel/detail/9630000095804


*********************************************************************************************************************************************************


ยูเอ็น เตือนโลกร้อนยังไม่ชะลอตัว 'โควิด-19' ไม่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศแต่อย่างใด


ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

รายงานขององค์การสหประชาติ หรือ UN สะท้อนวิกฤตโควิดไม่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศช้าลง แม้ว่าผลจากการแพร่ระบาดในปีนี้ ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกรอบปีลดลงถึง 7% ทว่าการชะลอตัวของผลกระทบที่มีต่อชั้นบรรยากาศนั้น มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ผลการวิเคราะห์การปล่อยสารจากการเผาไหม้ฟอซซิลลดลงต่ำสุดในเดือนเมษายน 2020 ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว การปล่อยก๊าซกลับมาพุ่งสูงเทียบเท่ากับเมื่อปีก่อน

Dr.Pep Canadell จากCSIRO สถาบันทางสภาพอากาศในออสเตรเลียกล่าวว่า ในช่วงสิ้นปี 2020 ผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อ covid-19 จะลดการปล่อยก๊าซได้มากเป็น 2 เท่าของวิกฤตเศรษฐกิจปี 2007 "สำหรับปีนี้ ความเข้มข้นพื้นฐานของก๊าซ co2 ยังไม่เปลี่ยนแปลง นั่นเป็นเพราะ พวกเราปล่อยก๊าซถึง 42 ล้านตันในปีก่อน ดังนั้นแม้เราจะลดการปล่อยก๊าซไปถึง3% ของค่าเฉลี่ย มันก็ไม่ช่วยอะไรเลย"

จากการวิเคราะห์การปล่อยก๊าซในเดือนมิถุนายน ในรายงานของ The United in Science ระบุว่า ปี 2020 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยจะน้อยกว่าปี 2019 ถึง 4-7% แต่ถึงอย่างนั้น ปริมาณก็ยังเทียบเท่ากับปี 2006 หรือ 14 ปีก่อน

ในช่วงเดือนเมษายน การปล่อยก๊าซประจำวันลดลงถึง 17% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่หลังจากนั้นกลับมาเข้าสู่ภาวะปกติที่มีการปล่อยก๊าซซึ่งก็กลับมาเท่าเดิม

การปล่อยก๊าซที่ลดลงในปีนี้ เทียบเท่ากับประมาณ 0.23 ppm ซึ่งพอๆ กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้จากปัจจัยทางธรรมชาติอื่นๆ

Prof.Petteri Taalas เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) กล่าวว่า "การสะสมก๊าซเรือนกระจกได้เกิดขึ้นมา 3 ล้านปี และมันก็ยังสะสมมสกขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2016-2020 ซึ่งเป็นช่วง 5 ปีที่โลกมีอากาศร้อนที่สุดเท่าที่มีการจดบันทึก นั่นเป็นการบอกว่า แม้ชีวิตพวกเราจะเปลี่ยนแปลงหลายอย่างแต่สภาพอากาศก็ยังร้อนขึ้นเรื่อยๆ นอกเสียจากเศรษฐกิจจะพักตัวนาน และรัฐบาลทั่วโลกหันมาเห็นความสำคัญของภาวะโลกร้อน เท่าๆกับที่เห็นความสำคัญของเศรษฐกิจ"

ผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก 3 ครั้งในช่วง 4 ปี เกิดขึ้นจากไฟป่า และมีโอกาสถึง 1 ใน 4 ที่ในช่วง 2020-2024อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้น 1.5 องศาเมื่อเทียบกับช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม

ผลการศึกษาระบุว่าภายในปี 2030 โลกจะต้องลดการปล่อยก๊าซรวมของประเทศผู้ผลิตคาร์บอน 6 อันดับแรกเพื่อให้มีโอกาสอยู่ต่ำกว่า 1.5 C ได้อย่างสมเหตุสมผล แม้ว่าดูจะเป็นไปไม่ได้ แต่รายงานระบุว่าโดยพื้นฐานแล้วจะต้องมีการชะลอตัวของคาร์บอนเสมือนว่าเกิดการระบาดของโควิดทุกปีนับจากนี้ไปจนถึงสิ้นทศวรรษ

หลักฐานที่แสดงถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่เคยบันทึกไว้ ระหว่างปี 2016 ถึง 2020 อัตราการเพิ่มขึ้นคือ 4.8 มม.ต่อปี เพิ่มขึ้นจาก 4.1 มม. ที่บันทึกไว้ระหว่างปี 2011 ถึง 2015

ปริมาณน้ำแข็งในทะเลในอาร์กติกลดลงอย่างต่อเนื่องในอัตรา 13% ต่อทศวรรษ อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังทำให้เกิดภัยแล้งและคลื่นความร้อน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า

ในไซบีเรียการศึกษาการระบุแหล่งที่มาล่าสุดแสดงให้เห็นว่าความร้อนที่ยังคงมีอยู่ระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายนของปีนี้มีโอกาสอย่างน้อย 600 เท่าจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ขับเคลื่อนโดยมนุษย์

"ไม่เคยมีความชัดเจนมาก่อนเลยว่าเราต้องการการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่ครอบคลุมและจัดการกับวิกฤตสภาพอากาศและบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน" นายอังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวไว้ในคำนำของรายงานนี้


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000095872
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม