ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 18-09-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,283
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 18 กันยายน 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (18 ก.ย. 2563) พายุระดับ 3 (พายุโซนร้อน) "โนอึล" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง จะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางบริเวณเมืองดานังในวันนี้(18 ก.ย. 2563) จากนั้นจะเคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดมุกดาหารในช่วงค่ำวันเดียวกัน และจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือเข้าสู่ประเทศเมียนมาระหว่างวันที่ 19-20 กันยายน 2563 ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น อ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร อ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

พายุระดับ 3 (พายุโซนร้อน) "โนอึล" บริเวณทะเลจีนใต้จะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุระดับ 5 (ไต้ฝุ่น) "โนอึล" และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง แล้วเคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศไทยในช่วงวันที่ 18 - 20 กันยายน 2563 ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยมีกำลังแรง ส่งผลทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 3-5 เมตร และอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

หลังจากนั้น ในช่วงวันที่ 21 - 23 กันยายน 2563 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 18 ? 21 ก.ย. 63 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากลมแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรงดการเดินเรือในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุระดับ 3 (โซนร้อน) "โนอึล" (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 18 - 20 กันยายน 2563)" ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 18 กันยายน 2563

เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (18 ก.ย. 2563) พายุระดับ 3 (โซนร้อน) "โนอึล" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 170 กิโลเมตร ทางด้านตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 15.7 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือ ด้วยความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง บริเวณเมืองดานังในวันนี้ (18 ก.ย. 2563) จากนั้นจะเคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดมุกดาหารในช่วงค่ำวันเดียวกัน และเคลื่อนผ่านภาคเหนือเข้าสู่ประเทศเมียนมาในช่วงวันที่ 19-20 กันยายน 2563

ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากและมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ เริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน หลังจากนั้นภาคเหนือและภาคอื่นๆ จะมีผลกระทบในระยะต่อไป ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ และระวังอันตรายจากลมแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย

คาดว่าพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ มีดังนี้


วันที่ 18 กันยายน 2563 บริเวณที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี สระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ และอุทัยธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล


วันที่ 19 กันยายน 2563 บริเวณที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล


วันที่ 20 กันยายน 2563 บริเวณที่มีฝนตกหนัก

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย และกำแพงเพชร

ภาคกลาง: จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี และชัยนาท

ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนบน และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร อ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 18-20 กันยายน 2563









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม