ดูแบบคำตอบเดียว
  #12  
เก่า 07-10-2010
Sukhsangchan Sukhsangchan is offline
Junior Member
 
วันที่สมัคร: Oct 2010
ข้อความ: 2
Default

ขอช่วยตอบคำถามนะครับของพี่สายชลนะครับ
1.แหล่งที่อยู่อาศัยของหอยงวงช้างกระดาษ เท่าที่พบในน่านน้ำไทย ขณะนี้พบเฉพาะฝั่งอันดามันครับ (แต่ review จากเอกสารบอกว่ามีการแพร่กระจายทั้งสองฝั่ง) ที่พบมาก ๆ ก็ในแถบจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต ครับ แถบจังหวัดกระบี่มีนิดหน่อยแต่ไม่มาก ถ้าต่ำลงไปจะเลยจังหวัดสตูลเข้าไปในเขตมาเลเซียนู่นเลยครับ และจากการรวบรวมตัวอย่างที่ได้จะติดมากับอวนล้อมครับ ถ้าเราลองพิจารณาการทำประมงอวนล้อม จะพบว่าลักษณะของเนื้ออวนของอวนล้อมจะไม่ลงไปถึงหน้าดิน นั่นแสดงว่าหอยงวงช้างกระดาษมีการว่ายน้ำหรืออาศัยอยู่ในมวลน้ำ โดยเฉพาะในเวลากลางคืนครับ (ทำประมงอวนล้อมในเวลากลางคืน) ส่วนเวลากลางวัน ก็สัณนิษฐานว่า หอยงวงช้างกระดาษน่าจะลงไปในระดับลึก ๆ เช่นเดียวกับหอยงวงช้าง (chambered nautilus) ครับ
ส่วนคุณภาพน้ำบริเวณที่อยู่อาศัยของหอยงวงช้างกระดาษจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีน้ำใสไม่มีตะกอน เช่นเดี่ยวกับปลาหมึกกล่มอื่น ๆ ครับ โดยจากข้อมูลที่ผมมีและสอบถามจากพี่ ๆ เรืออวนล้อมพบว่า ความลึกที่พบบ่อย ๆ เป็นระดับความลึกที่ไม่ต่ำกว่า 80 เมตร แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะจับหอยงวงช้างกระดาษที่ระดับ 80 เมตร เท่านั่้นนะครับ เพราะหอยงวงช้างจะว่ายขึ้นมาบางครั้งอาจพบที่ใกล้กับผิวน้ำด้วย ทั้งนี้ต้องห่างฝั่งออกไปหน่อยครับ (ไม่ต่ำกว่า 20 ไมล์ทะเลโดยประมาณ)

2. หอยงวงช้างกระดาษเฉพาะเพศเมียเท่านั้นครับที่สร้างเปลือก ส่วนเพศผู้จะมีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายกับหมึกสายตัวเล็ก ๆ ครับ แต่ที่น่าสนใจก็คือหนวดที่ใช้สืบพันธุ์ของหอยงวงช้างกระดาษเพศผู้นี่แหละครับที่ต่างจากปลาหมึกกล่มอื่น ๆ เนื่องจากมันจะยาวกว่าหนวดเส้นอื่น ๆ แล้วเวลาผสมพันธุ์ไอ้เจ้าหนวดเส้นนี้ก็จะขาดและตกอยู่ในช่วงแมนเติลของเพศเมีย (นักวิทยาศาสตร์ในสมัยก่อนเข้าใจผิดคิดว่ามันคือ parasite เลยตั้งชื่อให้มันว่า Hectocotylus octopodis ซึ่งแปลว่า หนอนที่มีปุ่มดูดจำนวนมาก แต่ในความเป็นจริงมันคือหนวดนั่นเองครับที่อยู่ในช่องตัว ไม่ใช่ parasite)
และที่ตัวเมียสร้างเปลือกมันจะเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวเชื่องช้าหรือเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่ไหม จากการลองนำมาเลื้ยงในห้องปฏิบัติการพบว่าไม่มีปัญหาครับ มันยังคงเคลื่อนที่ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว แถมยังจับปลาที่ว่ายน้ำกินเป็นอาหารได้อีกด้วย)

3. คำถามที่ถามว่าหอยงวงช้างกระดาษที่ตายแล้วไข่ของมันยังสามารถนำมาฟักได้อีกหรือเปล่า อันนี้ต้องดูด้วยว่ามันตายนานหรือยัง ซึ่งจริง ๆ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ไข่ฟักหรือไม่ฟักด้วยครับ เพราะผมเคยเอาไข่ของหอยงวงช้างกระดาษมาฟักโดยนำแม่หอยงวงช้างที่จับได้มาแยกเอาไข่ออก (เมื่อแยกไข่กับแม่ออก ส่วนใหญ่แม่ก็จะตายครับ เพราะตัวของแม่จะปิดช่องเปิดของเปลือกเอาไว้ถ้าจะเอาไข่ก็ต้องดึงแม่ออก มา โดยปกติแม่ก็จะไม่ยอมออกมาง่าย ๆ จนตัวตายหรือบอบช้ำสุด ๆ ถึงยอมออกจากเปลือกครับ ฟังดูแล้วทารุณน่าดู)
เมื่อเอาไข่มาลองฟักดูก็สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ครับ แต่ต้องดูเรื่องระบบน้ำ ระบบอากาศให้ดีครับ เพราะส่วนใหญ่หากดูแลไม่ดีไข่ก็จะเน่าเสีย จนไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้ครับ

หากมีคำถามอื่นที่สามารถตอบได้ยินดีมากเลยครับ สุดท้ายขอบคุณพี่จินด้วยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม