ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 28-10-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,253
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เศร้า พะยูนสาว ถูกใบพัดเรือลอยในอ่าวมาหยา ตายขณะนำส่งรักษา

สัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่ อช.นพรัตน์ธาราฯ เข้าช่วยเหลือพะยูนเพศเมีย มีแผลฉกรรจ์ที่กลางหลัง คาดถูกใบพัดเรือ ว่ายน้ำอย่างอ่อนแรงอยู่ในอ่าวมาหยา จ.กระบี่ นำส่งรักษาที่ศูนย์ช่วยสัตว์ทะเลหายากฯ จ.ภูเก็ต แต่ตายระหว่างทาง



เมื่อวันที่ 27 ต.ค. เจ้าหน้าที่ทีมสัตวแพทย์ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามันตอนบน พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ เข้าช่วยเหลือพะยูนเพศเมีย ยาว 1.7 เมตร อายุประมาณ 8-12 ปี น้ำหนัก 115 กก. ว่ายน้ำเข้ามาบริเวณอ่าวมาหยา เกาะพีพีเล อ.เมืองกระบี่

พบที่หลังมีบาดแผลยาว 20 ซม. กว้าง 7 ซม. คาดว่าถูกใบพัดเรือ เป็นแผลมานานประมาณ 2 สัปดาห์ โดยพะยูนตัวดังกล่าว มีอาการอ่อนเพลียอย่างเห็นได้ชัด จึงเร่งนำตัวส่งไปรักษาด่วนที่ศูนย์ช่วยสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร อ.เมือง จ.ภูเก็ต

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ตั้งชื่อให้พะยูนตัวนี้ว่า น้องมาหยา โดยระหว่างนำตัวส่งไปยังศูนย์ช่วยเหลือ ได้ปฐมพยาบาลเพื่อช่วยชีวิตอย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากสภาพร่างกายของพะยูน อ่อนแรงอย่างมาก และตายระหว่างนำตัวส่งศูนย์ช่วยเหลือฯ ท่ามกลางความเศร้าเสียใจของเจ้าหน้าที่ ที่พยายามช่วยเหลืออย่างเต็มที่ โดยจะนำซากผ่าพิสูจน์อย่างละเอียดอีกครั้ง


https://www.thairath.co.th/news/local/south/1963046


*********************************************************************************************************************************************************


มลพิษทางอากาศมีผลต่อโรคซึมเศร้า และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร



งานวิจัยพบมลพิษทางอากาศมีผลต่ออาการซึมเศร้า พบฝุ่นละอองขนาดเล็กในสมองของมนุษย์ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคร้าย

- นักวิจัยเผยพบหลักฐานเชื่อมโยงมลพิษทางอากาศกับโรคซึมเศร้า ชี้ผู้ที่สูดดมมลพิษมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศสะอาด

- การเพิ่มขึ้นของก๊าซไนโตรเจน ไดออกไซด์ จากเครื่องยนต์ดีเซล ทำให้ประชากรเสี่ยงการเป็นโรคที่เกี่ยวข้างกับจิตประสาทมากถึง 39 เปอร์เซ็นต์ และกระทบต่อฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด

- สหประชาชาติเผยประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากมลพิษกว่าสองแสนราย เด็กทารกเสี่ยงที่สุด นักวิจัยเรียกร้องให้ทั่วโลกเร่งลงมือแก้ไขก่อนสายเกินแก้

ปัญหามลพิษทางอากาศไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษเผยผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษฝุ่นละออง มีแนวโน้มเผชิญปัญหาสุขภาพจิต มากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์มากถึงสองเท่า ซึ่งการสูดดมอากาศที่เป็นพิษยังเข้าไปทำลายอวัยวะทุกส่วนของร่างกายจนสุขภาพย่ำแย่ และมีความเชี่ยมโยงกับโรคซึมเศร้า แต่อาการที่เกิดขึ้นจากการสูดดมอากาศเป็นพิษนั้นแตกต่างจากโรคจากพันธุกรรม และสามารถป้องกันได้หากมีการเอาจริงเอาจังกับมาตรการต่างๆ



สถิติจากองค์การอนามัยโลกเผย ประชากรโลก 90 เปอร์เซ็นต์สูดดมอากาศเป็นพิษซึ่งเป็นภัยร้ายต่อสุขภาพ ขณะที่ ดร.เอียน มัดเวย์ นักวิชาการจาก วิทยาลัยอิมพีเรียลลอนดอน ชี้ว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองมีโอกาสมีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ (Mental Disorder) และยังพบความเชี่ยมโยงระหว่างมลพิษที่ส่งผลให้เกิดอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้นการเติบโตในพื้นที่ที่มีมลพิษสูง ส่งผลให้เป็นโรคความผิดปกติทางจิตประสาท ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อสติปัญญาเชื่อมโยงกับโรคสมองเสื่อม และมีแนวโน้มเข้าไปทำลายอวัยวะทุกๆ ส่วนของร่างกาย

สอดคล้องกับงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Social Psychiatry and Psychiatric Epidemiology ที่ชี้ให้เห็นว่าถึงแม้นักวิทยาศาสตร์จะไม่สามารถทำการทดลองความเชื่อมโยงระหว่างมลพิษและสุขภาพมนุษย์ได้โดยตรง แต่พบความเชื่อมโยงระหว่างมลพิษทางอากาศกับอาการอักเสบภายในร่างกาย และพบหลักฐานที่ชี้ว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กนั้นมีความเกี่ยวพันกับความเสียหายของโมเลกุลสมอง

ขณะที่เว็บไซต์ นิวส์ไซเอนทิสท์ ตั้งข้อสังเกตว่า ผลการวิจัยที่เชื่อมโยงฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 และโรคซึมเศร้า โดยถึงแม้จะไม่สามารถฟันธงความเสียหายของสมองที่เกิดขึ้นจากมลพิทางอากาศได้โดยตรง แต่งานวิจัยจากทั่วโลกพบหลักฐานที่คล้ายคลึงกัน ชี้ว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถเข้าไปในสมองมนุษย์ผ่านทางเส้นเลือด กระทบต่อฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด



มลพิษทางอากาศ สาเหตุประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ด้านสหประชาชาติ ชี้ประชากรโลก 226,000 ศพ ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในปี 2016 จากการสูดดมอากาศที่เป็นพิษในพื้นที่แถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยพบเด็กทารกเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่สุด

ปัญหามลพิษยังเป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความหลากหลายทางชีวภาพ และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในประเทศกำลังพัฒนาในแถบเอเชียใต้ และแอฟริกา ขณะที่ธนาคารโลกชี้ว่าปัญหามลพิษได้สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมากถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 156 ล้านล้านบาท


นักวิทย์เรียกร้องจัดการปัญหามลพิษ

ความเสียหายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศนั้นแตกต่างปัญหาสุขภาพทางพันธุกรรม ที่ถูกถ่ายทอดผ่านสายเลือดซึ่งในบางเคสไม่อาจหลีกเลี่ยงโรคภัยทางพันธุกรรมได้ แต่ปัญหาทางสุขภาพที่เกิดจากมลพิษนั้นสามารถจัดการได้หากทุกฝ่ายหันมาให้ความสำคัญในการแก้ปัญหา

ด้านศาสตราจารย์ อันนา ฮานแซล จากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ประเทศอังกฤษ ระบุว่า ขณะนี้มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการลดมลพิษทางอากาศที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรังและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และประชาชนควรหันมาสนใจสุขภาพของตน

ปัญหามลพิษเป็นปัญหาที่ประชาชนทุกคนต้องลงมือแก้ไข ไม่ใช่แค่วิตกกังวล ซึ่งหลักฐานที่แสดงให้เห็นผลเสียจากมลพิษที่ทำลายสุขภาพนั้นชัดเจนพอที่จะทำให้เกิดการตั้งคำถามและเรียกร้องการลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1961279

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม