ดูแบบคำตอบเดียว
  #15  
เก่า 11-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default


'น้ำท่วมบ้าน' ทำเป็น-ทำทัน- 'กัน' ได้



หลายพื้นที่ที่เป็นเขตเมือง รวมถึงในกรุงเทพฯ จากที่เคยมีการระบุประมาณว่า...เชื่อว่าจะรับมือได้-เชื่อว่าน้ำจะไม่ท่วม แต่เอาเข้าจริงเขตเมืองในหลายจังหวัดก็ถูกน้ำท่วมหนัก และสำหรับในกรุงเทพฯ แค่เกิดฝนตกหนักก็มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งสำหรับผู้ที่มีบ้านพักอาศัยเป็นของตนเองอยู่ในเขตเมือง จากที่คิดว่าบ้านคงไม่ถูกน้ำท่วม ก็กลายเป็นกังวลว่าบ้านอาจถูกน้ำท่วม ซึ่งถ้าพอจะมีกำลังทรัพย์ ก็คงพยายามจะก่อ-สร้าง-วาง-กั้น...กันน้ำท่วม

’ป้องกันน้ำท่วมบ้าน“ ก็มีวิธีการที่พอจะทำได้อยู่

ก็ต้องทำถูกวิธี-เหมาะกับสถานการณ์จึงจะรอด...

ทั้งนี้ กับ “การป้องกันน้ำท่วมบ้าน” ซึ่งหมายถึงกรณีที่ปริมาณน้ำ-ระดับน้ำมิได้มหาศาล-สูงแทบถึงหลังคา จากข้อมูลของหน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็น่าพิจารณา ซึ่งโดยสังเขปก็เช่น... ต้องพิจารณาจุดอ่อนของอาคารบ้านเรือน ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะอาคารชนิดต่างๆ ความต้านทานแรงดันน้ำ (แรงดันจากน้ำนิ่ง แรงยกของน้ำ แรงดันจากการไหลของน้ำ) การเปลี่ยนแปลงของวัสดุเมื่อจมน้ำ (คุณภาพของปูน พฤติกรรมของทรายและดินเหนียวใต้ฐานราก)

บ้านในพื้นที่เขตเมืองส่วนใหญ่มีพื้นคอนกรีต ซึ่งคำแนะนำเกี่ยวกับ วิธีป้องกันบ้านและสิ่งก่อสร้างที่มีพื้นคอนกรีต คือ...

ป้องกันน้ำท่วมได้โดยฉาบด้วยปูนหรือกำแพงอิฐที่ทาด้วยสีชนิดพิเศษ ซึ่งน้ำจำนวนมากที่อยู่ระหว่างฐานรากกับนอกกำแพงสามารถซึมผ่านพื้นเข้าภายในกำแพงได้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือ

1. อัดรอยรั่วภายนอกบ้านทั้งหมด โดยใช้วัตถุกันน้ำทั่วไป
2. ทำความสะอาดกำแพงและรอยรั่ว รูรั่วอาจจะเกิดมาจากการก่อสร้าง แล้วสิ่งสกปรกอาจจะกลับเข้าไปติดบังในรูรั่ว
3. วิธีป้องกันกำแพงบ้านแบบชั่วคราวทำได้โดยหาแผ่นพลาสติกกันน้ำ หรือวัตถุที่คล้ายๆกันมาวางไว้ข้างกำแพง และปกคลุมขอบล่างด้วยดินให้แน่นหนา

กรณีเป็นการป้องกันบ้านและอาคารที่มีพื้นเป็นไม้โครงสร้าง ทั้งนี้ น้ำสามารถไหลซึมและขังนองในช่องว่างหรือใต้ถุนผ่านรอยแตกของฐานราก รูรั่วของท่อช่องระบายอากาศและหน้าต่าง น้ำสามารถซึมผ่านระหว่างผนังบ้านและฐานราก เมื่อไหร่ก็ตามที่ช่องว่างหรือห้องใต้ถุนเต็มไปด้วยน้ำ น้ำจะเพิ่มระดับและไหลเข้าสู่สิ่งปลูกสร้างผ่านพื้นและรอยต่อของผนังจนกระทั่งล้นและมีระดับเดียวกับน้ำภายนอก ซึ่งการป้องกันคือ
1.อุดช่องระบายอากาศและหน้าต่างด้วย “แผงกั้นน้ำ” (ทำให้ถอดย้ายได้หลังน้ำท่วมผ่านพ้นไป) แต่ช่องระบายอากาศนั้นต้องสร้างได้ตามมาตรฐานงานก่อสร้างเพื่อป้องกันโรคราน้ำค้างและการผุเปื่อย
2. อุดรอยแตกร้าวของฐานรากและผนังด้วยคอนกรีตหรือวัตถุอื่นๆที่สามารถใช้อุดรอยแตกได้
3. อุดรอยรั่วเล็กๆรอบๆท่อ ด้วยคอนกรีตหรือสารประกอบที่ใช้อุดรูรั่วในเรือ กาวซิลิโคน
4. อุดรอยต่อระหว่างผนังกับฐานรากด้วยสารประกอบที่ใช้อุดรูรั่ว

นี่ก็เป็นหลักคร่าวๆในการป้องกันน้ำท่วมบ้าน

ส่วนวิธีทำแผงกั้นน้ำเพื่อใช้อุดฐานราก ช่องระบาย และหน้าต่าง ก็คือ
1. ใช้ไม้อัดตามขนาดสำหรับทำแผงกั้นน้ำ คัดไม้อัดให้เหลื่อมกับกรอบ
2. ติดแถบสักหลาด หรือยาง ด้วยกาวกันน้ำ ให้เหลื่อมกับผิวของแผงกั้นน้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายประเด็นอุดรูรั่ว
3. ยึดแผงกั้นน้ำให้เข้าที่อย่างแน่นหนาด้วยตะปู ตะปูควง หรือสลักเกลียว 4. ยึดแผงกั้นน้ำเข้ากับกรอบไม้ด้วยตะปู

นอกจากนี้ ข้อมูลของหน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ยังมีในส่วนของวิธีติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำเข้าทางประตู โดย

- วิธีที่ 1 ใช้ดินน้ำมัน ดินปั้น ดินเหนียว หรือวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถอุดรอยแตกและรอยต่อรอบๆประตู ธรณีประตู และกรอบประตู
-วิธีที่ 2 ใช้แผ่นพลาสติกหรือกระดาษกันน้ำที่ใช้ในงานก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ทั้งวิธีที่ 1 และ 2 นี้มีข้อควรระวังคือ ต้องทำการล็อกประตูจากด้านในเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเปิดประตู และช่วยป้องกันการแตกของสารกันน้ำที่ใช้อุด และแม้ว่าวัสดุที่ใช้จะอุดรอยแตกรอบประตูและกรอบประตูได้ แต่ก็มีอายุการใช้งานเพียงระยะเวลาสั้น ๆ

ถ้าจะใช้แผงกั้นน้ำ วิธีใช้แผงกั้นน้ำป้องกันน้ำเข้าทางประตู การติดตั้งเข้ากับประตูทางเข้า-ออกจะคล้ายคลึงกับการติดตั้งหน้าต่างหรือช่องระบายอากาศ แต่ในกรณีพิเศษก็จะต้องใช้วัสดุทำเป็นประเด็นรอบๆขอบด้านล่างของแผ่นกระดานเพื่อให้กันน้ำได้ดียิ่งขึ้น โดยที่
1. ใช้แผ่นกระดานหรือไม้อัดทำแผงกั้นน้ำ
2. ตัดแถบยางหรือสักหลาดให้เหลื่อมกับผิวของไม้กระดานให้กว้างประมาณ 8 เซนติเมตร เพื่อทำเป็นประเก็น แล้วยึดติดกับด้านล่างของไม้กระดานด้วยกาวกันน้ำ
3. ใช้อุดด้านล่างของธรณีประตู รอยแตก และรอยต่อกรอบประตู

ทั้งนี้ ที่ว่ามาก็เป็นหลัก-วิธีการเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วมบ้าน แต่ที่ดีที่สุดคือมีการเตรียมการไว้แต่แรก มีการก่อสร้างโดยยกระดับพื้นให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุด ซึ่งทำได้โดยก่อสร้างบนพื้นที่สูงหรือถมดินให้สูง หรือสร้างโดยยกพื้นให้สูง ซึ่งถ้าเตรียมการไว้ดี เพียง “กั้นน้ำด้วยกระสอบทราย” ก็อาจช่วยป้องกันตัวบ้านได้

ก็นำมาบอกต่อกันไว้...กับ ’การป้องกันน้ำท่วมบ้าน“

ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากเกิน...เพียง ’ต้องถูกวิธี-ทันการ“

หาไม่แล้ว...ก็ต้องพึ่ง ’พิธีไล่น้ำ“ ชิ้วๆๆ ?!?!?!?!?.



จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 11 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม