ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 15-08-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ในอีก 15 ปีข้างหน้า ...................... โดย ภัค เศารยะ



เมื่อประมาณ 127,000 ปีที่แล้ว มีช่วงเวลาที่เรียกว่า ช่วงเกิดความอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งสุดท้าย ซึ่งอุณหภูมิในแถบทวีปอาร์กติกสูงขึ้นประมาณ 2-6 องศาเซลเซียส มากกว่าระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จนในที่สุดน้ำแข็งในทะเลก็เกิดการละลาย

ทว่าอุณหภูมิสูงที่พื้นที่แถบอาร์กติกในช่วงเวลานั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์สงสัยมานานหลายสิบปีว่าอะไรคือต้นเหตุของการสูญเสียน้ำแข็งในทะเลอย่างแท้จริง

ล่าสุด มีการศึกษาใหม่จากทีมวิจัยนานาชาติ ที่ใช้แบบจำลองสภาพภูมิอากาศศูนย์แฮดลีย์ ของหน่วยบริการอุตุนิยมวิทยาของสหราชอาณาจักร ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเปรียบเทียบสภาพน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกในช่วงที่เกิดภาวะอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งสุดท้ายกับสภาพน้ำแข็งในยุคปัจจุบัน

แบบจำลองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแดดแรงในฤดูใบไม้ผลิส่งผลให้เกิดการละลายของน้ำแข็งจำนวนมาก จนกลายเป็นแอ่งน้ำที่ก่อตัวบนน้ำแข็งในทะเล แอ่งน้ำแข็งที่ละลายลงเหล่านี้มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นตัวกำหนดว่าแผ่นน้ำแข็งดูดซับแสงแดดและสะท้อนกลับสู่อากาศมากเพียงใด

เพราะน้ำแข็งมีอัตราสะท้อนสูงกว่าน้ำ เมื่อจำนวนและขนาดของแอ่งหลอมละลายเพิ่มมากขึ้น ปริมาณพลังงานที่ดูดซับจากดวงอาทิตย์จึงเพิ่มขึ้นตามมาโดยปริยาย จึงทำให้โลกร้อนขึ้นและส่งผลให้เกิดการละลายของน้ำแข็งต่อไป

ทีมนักวิทยาศาสตร์เผยว่าหลักฐานที่ค้นพบนี้บ่งชี้ว่าทวีปอาร์กติกสามารถสูญเสียน้ำแข็งในทะเลไปอย่างสิ้นเชิงภายในปี พ.ศ.2578 ดังนั้น จึงมีความสำคัญต่อการปรับปรุงการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งในทะเลในอนาคต

นักจำลองสภาพภูมิอากาศจากคณะสำรวจแอนตาร์กติกของอังกฤษ ให้ความเห็นว่าความคาดหวังของการสูญเสียน้ำแข็งในทะเลภายใน 15 ปี นับจากนี้ มนุษย์จึงควรมุ่งเน้นไปที่การบรรลุภารกิจทำให้โลกมีปริมาณคาร์บอนต่ำลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1910033

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม