ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 12-11-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เรือดำน้ำจีน ทุบสถิติ ดำดิ่งร่องลึกก้นสมุทรแปซิฟิก ลึกกว่า 10.9 กม.

เรือดำน้ำจีน 'เฟิ่นโต้วโจว' สร้างสถิติใหม่ ปฏิบัติการดำน้ำลึกแบบมีมนุษย์ควบคุม ที่บริเวณร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้ที่ระดับความลึกถึง 10.909 กิโลเมตร



เมื่อ 11 พ.ย. 63 สำนักข่าวซินหัวรายงาน สถาบันวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมทะเลลึก สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนรายงานว่า จีนสร้างสถิติใหม่ในปฏิบัติการดำน้ำลึกแบบมีมนุษย์ควบคุมหลังจากเรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยมนุษย์ 'เฟิ่นโต้วเจ่อ' (Fendouzhe) สามารถดำดิ่งลงใต้มหาสมุทรที่ระดับความลึก 10,909 เมตร บริเวณร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา เมื่อวันอังคารที่ 10 พ.ย. ที่ผ่านมา

เฟิ่นโต้วเจ่อ ในภาษาจีนมีความหมายว่า 'ผู้ไม่ย่อท้อ' ประสบความสำเร็จในการลงจอด ณ ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นร่องลึกมากที่สุดของโลก เมื่อเวลา 08.12 น. ของวันอังคารที่ 10 พ.ย.2563

ทั้งนี้ เรือดำน้ำเฟิ่นโต้วเจ่อ พร้อมด้วยเรือแม่สองลำ คือ ทั่นสั่ว1 (Exploration1) และทั่นสั่ว2 (Exploration2) ได้เดินทางออกจากเมืองซานยา มณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน เพื่อปฏิบัติการดำน้ำลึกที่บริเวณร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาในมหาสมุทรแปซิฟิก และสามารถสร้างสถิติใหม่ไ้ด้สำเร็จ.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1974699


*********************************************************************************************************************************************************


ทาร์บอลในชั้นบรรยากาศเทือกเขาหิมาลัย


(ภาพ : Credit : American Chemical Society)

บางคนเรียกที่ราบสูงหิมาลายาทิเบตว่าขั้วโลกที่สาม เนื่องจากพื้นที่นี้เป็นแหล่งหิมะและน้ำแข็งมากที่สุดนอกขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ทว่าธารน้ำแข็งกำลังมีความอ่อนไหวอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอิทธิพลจากมนุษย์ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา

และดูเหมือนจะไม่ใช่ข่าวดีนักเมื่อมีรายงานในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมของสมาคมเคมีอเมริกัน ว่าตรวจพบทาร์บอล (Tarball) หรือก้อนน้ำมันดิบสีดำในชั้นบรรยากาศของเทือกเขาหิมาลัย ทั้งนี้ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นจะปล่อยอนุภาคคาร์บอเนเชียสที่ดูดซับแสง ซึ่งสามารถเกาะบนหิมะและน้ำแข็ง อาจทำให้ธารน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น มีการวิจัยก่อนหน้านี้บ่งบอกว่าอนุภาคชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเขม่าดำหรือคาร์บอนดำ (Black carbon) กระจายไปได้ไกลโดยแรงลม ช่วยขนส่งไปยังชั้นบรรยากาศของเทือกเขาหิมาลัย ทว่าไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับการมีอยู่ของคาร์บอนสีน้ำตาล (Brown carbon) ซึ่งเป็นอนุภาคที่สามารถสร้างทาร์บอลที่มีลักษณะเป็นทรงกลมขนาดเล็กมีความหนืด และประกอบด้วยคาร์บอน ออกซิเจน ไนโตรเจน กำมะถัน และโพแทสเซียมจำนวนเล็กน้อย

จากการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนพบว่าประมาณ 28% ของอนุภาคนับพันในตัวอย่างอากาศของสถานีวิจัยหิมาลัยมีทาร์บอล และเปอร์เซ็นต์ก็เพิ่มขึ้นในวันที่มีระดับมลพิษสูง การวิเคราะห์รูปแบบลมและข้อมูลดาวเทียมพบว่ามีกิจกรรมการเผาไหม้ของกากข้าวสาลีขนาดใหญ่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุคงคา นักวิจัยคาดว่าทาร์บอลที่เกาะบนพื้นผิวน้ำแข็งอาจส่งผลต่อภาวะโลกร้อนอย่างมีนัยสำคัญ ข้อมูลนี้จึงสำคัญต่อการสร้างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศในอนาคตที่ควรพิจารณาการขนส่งทาร์บอลระยะไกลไปยังเทือกเขาหิมาลัย.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1973872
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม