ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 18-10-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เชื้อก่อโรคกับหอยแมลงภู่แกะ (ต้มสุก)



หอยแมลงภู่ เป็นหอยสองฝาที่นำไปปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด ที่นิยมเห็นจะเป็นเมนูหอยทอด แกงคั่วสับปะรดหอยแมลงภู่ หรือหากต้มสุกแล้วแกะเนื้อ ก็นิยมนำมาทานคู่กับน้ำจิ้มซีฟู้ดแซ่บๆ

สมัยก่อนคนขายมักเก็บหรืองมหอยกันตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่เมื่อความต้องการเพิ่มขึ้น ก็เปลี่ยนมาเพาะเลี้ยงกันเป็นล่ำเป็นสันแบบระบบฟาร์ม จากลูกหอยจนถึงระยะที่จับขายได้ใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 6-8 เดือน หอยแมลงภู่เป็นหอยที่มีรสชาติอร่อย หาซื้อได้ง่าย หากอยากทานเมนูหอยแมลงภู่ ปัจจุบันก็ไม่ยุ่งยาก แค่เดินเข้าตลาดนัด ก็จะเห็นหอยแมลงภู่ลวกทั้งเปลือกใส่ถุงพร้อมน้ำจิ้มรสแซ่บวางขาย หรือถ้าเดินเข้าร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เกต ก็มีหอยแมลงภู่ต้มสุกแกะเนื้อทั้งแบบแช่เย็น และแช่แข็ง วางขายหลากหลายยี่ห้อ เลือกซื้อกันได้ตามอัธยาศัย

สำหรับท่านที่ชอบทานหอยแมลงภู่ วันนี้ขอเตือนให้ระมัดระวังอันตรายที่อาจมีในหอยแมลงภู่กันสักนิด อันตรายที่ว่าคือ เชื้อก่อโรค วิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส แฟนพันธุ์แท้ของคอลัมน์ "มันมากับอาหาร" คงพอจะทราบว่าเชื้อก่อโรคชนิดนี้ พบได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไปตามชายฝั่งทะเล และตามตะกอน โคลนตมในทะเล จึงมักพบเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ในกุ้ง หอย ปู ปลา ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร

หากเราทานกุ้ง หอย ปู ปลาดิบๆ หรือนำมาปรุงโดยให้ความร้อนไม่เพียงพอ เช่นสุกๆดิบๆ ก็อาจทำให้เราได้รับเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายได้ ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษและเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ มีอาการท้องเสีย เป็นตะคริวในช่องท้อง คลื่นเหียน วิงเวียน อาเจียน ปวดหัว มีไข้และหนาวสั่น สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างหอยแมลงภู่แกะ (ต้มสุก) แช่เย็นและแช่แข็ง จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ยี่ห้อ ที่วางขายในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื้อ วิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส ปนเปื้อน ผลปรากฏว่าหอยแมลงภู่แกะ (ต้มสุก) ทุกตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนเลย อย่าลืมว่าควรนำมาปรุงให้สุกก่อนทานทุกครั้งและควรทานขณะร้อนๆ เพื่อความปลอดภัยและสบายท้อง.


https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/1953529


*********************************************************************************************************************************************************


ญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะลงทะเล



ญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีผ่านการบำบัดแล้ว จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะที่ได้รับความเสียหายจากสึนามิเมื่อปี 54 ลงสู่ทะเล ท่ามกลางการคัดค้านจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เมื่อ 16 ต.ค.63 สำนักข่าวบีบีซีรายงานอ้างสื่อในญี่ปุ่นหลายสำนัก เผย ทางการญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี ที่ได้รับการบำบัดแล้วจำนวนกว่า 1 ล้านตันออกจากโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิชิ ที่จังหวัดฟุกุชิมะลงสู่ทะเล นับตั้งแต่โรงงานไฟฟ้าแห่งนี้ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากสึนามิ หรือคลื่นยักษ์ที่ซัดถล่ม ภายหลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง เมื่อปี 2554

สื่อท้องถิ่นในญี่ปุ่น ทั้งนิกเคอิ และโยมิอุริ ชิมบุน เผยว่า การจะปล่อยน้ำออกจากโรงงานไฟฟ้าฟุกุชิมะนั้น เป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดการถกเถียงมาหลายปี ซึ่งยังรวมถึงน้ำที่ใช้ในระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายจากสึนามิด้วย โดยกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำทางทะเลได้คัดค้านความคิดในการจะปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีลงสู่ทะเล ทว่าถูกนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากแย้งว่ามีความเสี่ยงต่ำ

บีบีซีรายงานด้วยว่าสาเหตุที่ทำให้กำลังมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เป็นเพราะขณะนี้พื้นที่ในการจัดเก็บน้ำกำลังจะหมดลง เนื่องจากน้ำใต้ดินและน้ำฝนทำให้ถังเก็บน้ำเต็มเร็วมากขึ้น ในขณะที่ปัญหาที่ยังหาทางแก้ไขไม่ได้คือ ขณะที่ไอโซโทปของกัมมันตรังสีส่วนใหญ่สามารถถูกขจัดออกจากน้ำได้ จากการใช้กระบวนการกรองน้ำที่มีความซับซ้อน แต่มีไอโซโทปกัมมันตรังสีหนึ่งชนิดที่เรียกว่า ?ทริเทียม? ไม่สามารถจะถูกขจัดออกจากน้ำได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเก็บน้ำไว้ในถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ซึ่งจะเต็มในปี 2565

ด้านนายฮิโรชิ คาจิยะมา รมว.อุตสาหกรรมญี่ปุ่น กล่าวว่าขณะนี้ ทางการญี่ปุ่นยังไม่ได้มีการตัดสินใจเกี่ยวกับการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ได้รับการบำบัดแล้วลงสู่ทะเล แต่รัฐบาลก็มีแผนในเร็วๆ นี้ และเพื่อเป็นการป้องกันความล่าช้าที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆ ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้กลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมได้พยายามคัดค้านการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่มหาสมุทร ขณะที่กลุ่มประมงได้ชี้ว่าถ้าปล่อยน้ำเหล่านี้ลงสู่ทะเลและมหาสมุทรจะทำให้บรรดาผู้บริโภคไม่ซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในภูมิภาคนี้ของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม มีนักวิทยาศาสตร์บางคนกล่าวว่า การปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วจะถูกเจือจางกับน้ำมหาศาลในมหาสมุทร และไอโซโทปทริเทียมก็มีความเสี่ยงต่ำต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์น้ำในทะเล


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1954619

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม