ดูแบบคำตอบเดียว
  #6  
เก่า 29-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร: งบกำแพงกันคลื่นส่อพิรุธ เมื่อคอรัปชั่นกัดเซาะหาดทราย ............. บทความโดย ณัฐฐา อายุวัฒนชัย, ปรัชญ์ รุจิวนารมย์

สส.พรรคก้าวไกล ชี้ ผลประโยชน์งบประมาณโครงการกำแพงกันคลื่นกว่า 4,000 ล้านบาท กำลังทำลายชายหาดทั่วประเทศ ย้ำทุกฝ่ายควรร่วมมือกันตรวจสอบ ? คัดค้าน การใช้งบประมาณอย่างไม่โปร่งใส เพื่อสร้างโครงการกำแพงกันคลื่นที่กลับส่งผลกระทบทำลายชายฝั่ง

จากกระแสการคัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นที่ หาดม่วงงาม จ.สงขลา ตลอดช่วงเดือนที่ผ่านมา จนโครงการต้องชะงักไปชั่วคราว ทำให้ประเด็นโครงการกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง กลับมาอยู่ในความสนใจของสังคมอีกครั้ง


พื้นที่ก่อสร้างโครงการกำแพงกันคลื่นบริเวณชายหาดชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ปรัชญ์ รุจิวนารมย์

หนึ่งในแกนนำคนสำคัญ ในการปกป้องชายหาดจากการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร สส.พรรคก้าวไกล ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมข่าวสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม ในรายการ กรีนนิวส์ Live สด: ?ตำน้ำพริก ละลายชายฝั่ง: เมื่อกำแพงกันคลื่นระบาด? เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ที่ผ่านมา ต่อข้อพิรุธการอนุมัติงบประมาณ และนโยบายก่อสร้างโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ของรัฐบาล

เพราะแม้ว่าจะมีข้อถกเถียงถึงผลกระทบร้ายแรงต่อนิเวศชายฝั่ง และความไร้ประสิทธิภาพในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของโครงการราคาแพงเหล่านี้ จากแวดวงวิชาการและนักสิ่งแวดล้อม แต่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องยังคงทุ่มงบประมาณมหาศาลกว่า 4,000 ล้านบาท เดินหน้าก่อสร้างโครงการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง


ใครเป็น 'ผู้ดำเนินการโครงการ' กำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดม่วงงาม

เจ้าของโครงการหลักๆ คือ กรมโยธาธิการและผังเมือง สังกัดกระทรวงมหาดไทย และ กรมเจ้าท่า สังกัดกระทรวงคมนาคม ทั้งสองกรมอาจทำโครงการด้วยตนเอง หรือรับคำร้องขอจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เช่น เทศบาล หรือ อบต. ในพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ให้รีบไปสร้างกำแพงเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนประชาชน

แต่จริงๆ แล้วหน่วยงานที่รับภารกิจและเป็นเจ้าภาพหลักในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหน้าที่ของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งตั้งขึ้นภายใต้ พรบ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558

แต่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ไม่เคยตั้งงบประมาณเพื่อทำกำแพงการกัดเซาะชายฝั่งเลย เพราะกรมมีองค์ความรู้ เงื่อนไข และแผนงานระดับชาติรองรับ (ในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง) อยู่


สถานการณ์การจัดสรรงบประมาณโครงการกำแพงกันคลื่นขณะนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ที่ผ่านมามีการจัดสรรงบประมาณสร้างโครงการกำแพงกันคลื่นโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมเจ้าท่า อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2563 แม้ว่ามีงานวิจัยที่ชัดเจนว่ายิ่งสร้างก็ยิ่งพัง ต้องหยุดไว้ก่อนเพื่อจะมาหาข้อสรุป ระดมความคิดเห็น เพราะว่าแต่ละที่แต่ละชายฝั่งมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน อย่างจำนวนน้ำขึ้นต่อวันของชายฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันก็ไม่เหมือนกัน

อย่างไรก็ดี ภายหลังมีการยกเว้นระเบียบของ สผ. (สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ว่า โครงการกำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA (รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม) ก่อนเริ่มโครงการ ในปี พ.ศ.2556 พบว่า มีโครงการกำแพงกันคลื่นเกิดขึ้นจำนวนมาก มีการจัดสรรงบมาเทใหญ่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 งบประมาณสูญสิ้นไปกว่า 4,000 กว่าล้านบาท

สำหรับปีนี้ยังมีการตั้งงบประมาณสร้างโครงการกำแพงกันคลื่น ลักษณะแบบผูกผัน คือทยอยทำ ส่วนงบประมาณที่ตั้งในปีพ.ศ. 2564 ก็เหยียบ 1,000 ล้าน เฉพาะของกรมโยธาฯ โดยที่น่าสังเกตคือมีการตั้งงบประมาณจ้างที่ปรึกษากว่า 142 ล้านบาท

นอกจากนี้ ทีมงานพรรคก้าวไกลยังตั้งพบว่า งบประมาณเฉลี่ยของโครงการกำแพงกันคลื่น โครงการใหม่ๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากเดิมก่อนหน้านี้ มีงบประมาณการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น 1 กิโลเมตรจะมีราคาเฉลี่ยไม่เกิน 100 ล้านบาท แต่ปัจจุบันกิโลเมตรละกว่า 100 ล้านบาท


ทำไมหน่วยงานรัฐยังคงเลือกใช้การสร้างกำแพงกันคลื่นในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

สาเหตุหลักของปัญหาการก่อสร้างโครงการกำแพงกันคลื่น ก็ไม่พ้นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ที่เห็นได้ชัดก็คืองบประมาณจ้างที่ปรึกษาโครงการอย่างยิบย่อย ยกตัวอย่างที่หาดม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา ก็มีการจ้างทำประชาพิจารณ์โครงการ ซึ่งประชาชนจับพิรุธติดว่า มีการจ้างพวกเดียวกันเอง มุมมิบกันทำ เอาคนที่ไม่ใช่นักวิชาการมาลงความเห็น ซึ่งไม่ทางราชการไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะงบประมาณการก่อสร้างโครงการเหล่านี้ เป็นงบประมาณก้อนโต

นอกจากนี้โครงการของหน่วยงานราชการส่วนกลางเหล่านี้ยังไม่มีตัวแทนจากภาคประชาชนเข้าไปตรวจสอบโครงการ ทำให้โครงการเหล่านี้สุ่มเสี่ยงต่อการคอรัปชั่นได้ง่าย นี่ถือเป็นการเอางบประมาณละลายลงทะเล เพราะเมื่อสร้างกำแพงกันคลื่นแล้ว จะทำให้พื้นที่ข้างเคียงมีปัญหาการกัดเซาะรุนแรงขึ้น จึงต้องสร้างกำแพงกันคลื่นขยายต่อไปเรื่อยๆ

ถ้าเอางบประมาณก้อนนี้ไปแก้ไขเรื่องถนนพัง ชุมชนบ้านริมชายฝั่งพัง โดยการเวรคืนที่ดิน สร้างบ้านใหม่ สร้างแนวถนนใหม่ให้ออกจากแนวพื้นที่ชายฝั่ง จะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนกว่านี้


กำแพงกันคลื่นคนงานกำลังดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นลงบนพื้นที่ชายหาดชะอำ / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ปรัชญ์ รุจิวนารมย์


โครงสร้างกำแพงฯ ทั้งเสียงบประมาณและทำลายสิ่งแวดล้อม เราในฐานะประชาชนจะสามารถติดตามตรวจสอบและคัดค้านได้อย่างไรบ้าง

เราสามารถแสดงออกด้วยพลังประชาชน ชุมชนท้องถิ่นสามารถแสดงพลังให้เห็นว่าชายหาดเป็นสิ่งสำคัญ ตัวแทนท้องถิ่นต้องมีความรู้ครบถ้วนเพียงพอ สามารถใช้ช่องทางสภาผู้แทนราษฎร เพราะบางทีช่องทางนักวิชาการและประชาชนอาจไม่มีน้ำหนักไร้เสียงสะท้อน ผมเองที่มีโอกาส สามารถเอาไปสะท้อนและอภิปรายในสภาฯ ได้

ถ้าเรามีองค์ความรู้จริง ๆ การแก้ไขปัญหาการกัดเสาะชายฝั่งจะไม่ยากและไม่เปลืองงบประมาณ ต้องอาศัยหลายองค์ความรู้ ทั้งจากต่างประเทศที่เขาไม่เน้นโครงสร้างแข็งแบบเรา และจากนักวิชาการหลายแขนง และจากความรู้ประสบการณ์ชาวบ้าน

ถ้าวันนี้เราใช้งบประมาณลักษณะนี้มันไม่คุ้มค่ามันยิ่งพัง เราคิดเรื่องการย้ายถนน การเวียนคืนที่ดิน และคิดเรื่องการอนุรักษ์ชายทะเล คิดองค์ประกอบ EIA จะต้องกลับมาแทนจะดีกว่าไหม ไม่ใช่ใช้เพียงความมักง่าย เพราะตลอดระยะเวลาการบริหารงานของคุณประยุทธ์ยังไม่เห็นว่าชายหาดไหนที่ทำโครงสร้างแข็งอันไหนจะยังไม่พัง


https://greennews.agency/?p=21303
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม