ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 14-05-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


จีนพบฟอสซิล 'สัตว์เลื้อยคลานในทะเล' พันธุ์ใหม่ หางที่ยาวที่สุดที่เคยพบ


(ภาพจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน : ตัวอย่างและภาพร่างฟอสซิลหงเหอซอรัส สัตว์เลื้อยคลานทางทะเลสายพันธุ์ใหม่ที่รู้จักกันในชื่อพาคีพลูโรซอร์)

สำนักข่าวซินหัว สื่อทางการจีน รายงาน (12 พ.ค.)คณะนักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานในทะเลสายพันธุ์ใหม่ อายุ 244 ล้านปี ซึ่งรู้จักกันในชื่อพาคีพลูโรซอร์ (pachypleurosaur) โดยเป็นฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานในทะเลที่มีหางที่ยาวที่สุดเท่าที่เคยพบ บ่งชี้ว่ามันอาจเป็นนักว่ายน้ำชั้นยอด

พาคีพลูโรซอร์เป็นกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานในทะเลที่มีลักษณะคล้ายจิ้งจกขนาดเล็กถึงกลางจากยุคไทรแอสซิก (Triassic) ตอนต้นจนถึงตอนกลาง โดยสายพันธุ์ใหม่นี้ถูกตั้งชื่อว่าหงเหอซอรัส เนื่องจากถูกพบในแคว้นปกครองตนเองหงเหอ กลุ่มชาติพันธุ์ฮาหนีและอี๋ มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

หงเหอซอรัสมีความยาวจากหัวถึงปลายหางอยู่ที่ 47.1 เซนติเมตร ทว่าเฉพาะส่วนหางยาวถึง 25.4 เซนติเมตร โดยคณะนักวิทยาศาสตร์พบว่ามันมีกระดูกสันหลังรวม 121 ชิ้น ประกอบด้วยกระดูกสันหลังส่วนหาง 69 ชิ้น ทำลายสถิติก่อนหน้านี้ของพาคีพลูโรซอร์ตัวอื่นๆ ที่มีกระดูกสันหลังส่วนหาง 58 ชิ้น

อนึ่ง คณะนักวิจัยจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมานุษยวิทยาบรรพกาล สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ค้นพบฟอสซิลดังกล่าวเมื่อปี 2021 และเผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารไซเอนทิฟิค รีพอร์ตส (Scientific Reports) เมื่อสัปดาห์ก่อน

นายสวี กวงฮุย หัวหน้านักวิจัย กล่าวว่าฟอสซิลดังกล่าวมีรูปร่างเหมือนจิ้งจกน้ำที่มีลำตัวยาว และหางยาวเป็นพิเศษกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โดยพาคีพลูโรซอร์ส่วนใหญ่ตัวเล็กและตัวยาวสูงสุดไม่เกิน 50 เซนติเมตร ขณะส่วนหางที่ยาวเป็นพิเศษช่วยให้ได้เปรียบด้านความคล่องแคล่วและการว่ายน้ำ

นอกเหนือจากข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับการปรับตัวทางนิเวศวิทยาของสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มนี้แล้ว การค้นพบนี้ยังเป็นหลักฐานฟอสซิลพาคีพลูโรซอร์ที่เก่าแก่ที่สุดในจีน โดยสัตว์เลื้อยคลานในทะเลตัวแรกที่ค้นพบในจีนและถูกตั้งชื่อตัวแรกเมื่อปี 1957 เป็นกลุ่มพาคีพลูโรซอร์เช่นกัน ซึ่งได้ชื่อว่ากุ้ยโจวซอรัส (Keichousaurus)

นางจ้าว ลี่จวิน ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติเจ้อเจียง กล่าวว่าหงเหอซอรัสหางยาวตัวนี้มีอายุแก่กว่ากุ้ยโจวซอรัส 4 ล้านปี มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพาคีพลูโรซอร์ที่ถูกพบในยุโรป และมีอายุมากที่สุดในหมู่สัตว์ตระกูลนี้ที่ค้นพบในจีน


https://mgronline.com/china/detail/9650000045025


*********************************************************************************************************************************************************


ตื่นตาฝูง "โลมาสีชมพู" นับ 10 ตัว ว่ายอวดโฉมที่อช. หาดขนอมฯ

อช. หาดขนอมฯ พบ "โลมาสีชมพู" สัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ 10 ตัว บริเวณศาลาชมวิวพลายเจริญ หน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ จ.นครศรีธรรมราช


ภาพจาก อช.หาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้

เฟซบุ๊กเพจส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความเมื่อ?วันที่ 11 พฤษภาคม? 2565? ว่า นายสุทิน พรหมปลัด หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ รายงานการพบสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ ชนิดโลมาหลังโหนกหรือ?โลมาสีชมพู? บริเวณที่พบหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ม.8 ต.ขนอม อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 10 ตัว

ปัจจุบันโลมาหลังโหนก หรือ?อีกชื่อเรียกว่า โลมาขาวเทา/โลมาเผือก หรือโลมาสีชมพู (Chinese white dolphin, Pacific humpback dolphin, Indo-Pacific humpbacked dolphin)เป็นโลมาชนิดหนึ่งในวงศ์โลมามหาสมุทร อยู่ในสถานะอนุรักษ์ ประเภทมีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ (NT) จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562

สำหรับ?สีชมพูของโลมานั้นมาจากเมื่อโลมามีอายุมากจะมีสีสว่างขึ้นจนถึงเป็นสีชมพู สีชมพูนี้ไม่ได้มาจากเซลล์?เม็ดสี แต่มาจากสีของหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายสูงเกินไป การพบเห็น?โลมาสีชมพู ?ยังบ่งบอก?ถึงความอุดมสมบูรณ์?ของท้องทะเล?ไทย

สอบถาม?ข้อมูล?การท่องเที่ยว?เพิ่มเติ่ม?ได้ที่อุทยาน?แห่งชาติ?หาดขนอม-หมู่เกาะ?ทะเล?ใต้? หมายเลขโทรศัพท์? 086-475-8392 อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้-Hat Khanom Mu Ko Thale Tai


https://mgronline.com/travel/detail/9650000045431

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม