ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 16-05-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default

ขอบคุณข่าวจาก Nation TV


เมื่อมหาสมุทรกำลังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ



รายงาน UNCTAD ชี้มหาสมุทรกำลังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมเผยทั่วโลกกำลังมีการลงทุนกว่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อแก้ปัญหามหาสมุทรให้ยั่งยืนภายใต้ 4 แนวคิด

มหาสมุทร คิดเป็นกว่า 70% ของพื้นที่โลก ซึ่งมีคุณูปการแก่มนุษย์ตั้งแต่การบรรเทาสภาพอากาศที่รุนแรงไปจนถึงการสร้างออกซิเจนที่เราหายใจ เป็นแหล่งอาหาร จนถึงเก็บกักคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินที่เราสร้างขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นกลับคุกคามระบบนิเวศชายฝั่งและทะเลผ่านการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในมหาสมุทรและการละลายของน้ำแข็ง แต่เนื่องจากความจุอ่างกักเก็บคาร์บอนอย่างมหาสมุทรกว้างใหญ่เกินไป เราจึงเห็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของมหาสมุทรอย่างช้าๆ ซึ่งหากวัดค่าแค่รายวันหรือรายเดือนคงแยกไม่ออก

ปัจจุบันมหาสมุทรกำลังเผชิญกับวิกฤต ระบบนิเวศมหาสมุทรและทะเลที่อุดมสมบูรณ์กำลังถูกคุกคามจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการประมงเกินขนาด มลพิษพลาสติก การปนเปื้อนของสารพิษ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยคุกคามเหล่านี้ส่งผลให้ระบบนิเวศทางทะเลเสื่อมโทรม และเร่งให้สัตว์น้ำจำนวนมากต้องสูญพันธุ์หรือตกอยู่ในความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ อุตสาหกรรมการประมงต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อปกป้องมหาสมุทรและทะเลของเรา

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development : UNCTAD) ได้เผยแพร่รายงาน Trade and Environment Review 2023 วิเคราะห์เศรษฐกิจมหาสมุทร (ocean economy) ของโลก ซึ่งมีมูลค่าระหว่าง 3,000?6,000 ล้านดอลลาร์ และประเมินว่ากิจกรรมของมนุษย์และวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคส่วนต่างๆ เช่น การประมง อาหารทะเล การขนส่งและการท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ง รายงานฉบับนี้ ได้นำเสนอในการประชุม UN Trade Forum ครั้งที่ 3 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 8 ? 9 พฤษภาคม 2566 เรียกร้องให้มีการค้าและการลงทุนระดับโลก "Blue Deal" เพื่อใช้มหาสมุทรอย่างยั่งยืน ซึ่งมีสิ่งมีชีวิตอีกกว่าร้อยละ 80 ที่อาศัยอยู่ใต้ท้องมหาสมุทร

ในรายงานเน้นย้ำถึงภาคส่วนที่มีผลต่อความยั่งยืน 2 ภาคส่วน ได้แก่ การทำฟาร์มสาหร่ายทะเล (seaweed farm) และวัสดุทางเลือกทดแทนพลาสติก (plastic substitutes) ซึ่งตลาดสาหร่ายทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าใน 2 ทศวรรษ โดยเพิ่มขึ้นจาก 4,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2543 เป็น 16,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2563 ซึ่งนับว่ามีการขยายตัวทางการตลาดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสาหร่ายทะเล เป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำจืดหรือปุ๋ยในการเจริญเติบโต

ทั้งนี้ รายงานของ UNCTAD พยายามชี้ให้เห็นว่า สาหร่ายทะเลสามารถนำไปปลูกได้ในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเป็นอาหาร เครื่องสำอาง และเชื้อเพลิงชีวภาพ และเป็นวัสดุทางเลือกทดแทนพลาสติก ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากพบว่าในแต่ละปีมีขยะพลาสติกไม่น้อยกว่า 11 ล้านตันถูกทิ้งลงสู่มหาสมุทร จากรายงานพยายามสะท้อนให้เห็นว่ามีวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกมากมายที่สามารถนำมาใช้ทดแทนผลิตภัณฑ์พลาสติก อาทิ วัสดุเหลือใช้จากไม้ไผ่ กาบมะพร้าว ต้นกล้วย และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นต้น

การลงทุนเกิดใหม่ในภาคเศรษฐกิจมหาสมุทรสามารถช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการกระจายการส่งออกสินค้าทางทะเล ซึ่งมูลค่าการส่งออกทั่วโลกของสินค้าทางทะเล เช่น อาหารทะเล เรือและอุปกรณ์ท่าเรือ และบริการต่างๆ รวมถึงการขนส่งทางเรือและการท่องเที่ยวชายฝั่ง มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2563 ซึ่งจากวิกฤตโควิด-19 สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและการตั้งรับปรับตัวของบางภาคส่วน และความเปราะบางของภาคส่วนต่าง ๆ รายงานระบุว่ารัฐบาลควรตั้งเป้าหมายในการส่งเสริมเศรษฐกิจทางทะเลที่หลากหลายและยั่งยืนไว้ในกลยุทธ์การกู้คืนความเสียหายจากวิกฤต และการลดปัญหาและความพยายามในการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ

อย่างไรก็ดี รายงานสะท้อนให้เห็นว่า ทรัพยากรทางทะเลกำลังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลภาวะ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity loss) ซึ่งจากการประเมิน พบว่า ปัจจุบันมีการลงทุนมูลค่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ สำหรับแก้ปัญหามหาสมุทรให้ยั่งยืน ทั้งสิ้น 4 วิธี ได้แก่

1. การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน
2. การลดคาร์บอนของการส่งสินค้าระหว่างประเทศ
3. การผลิตอาหารที่ได้จากทะเลอย่างยั่งยืน
4. การผลิตพลังงานจากกังหันลมนอกชายฝั่ง

ซึ่งคาดว่าหากแก้ปัญหาดังกล่าวได้ จะให้ผลประโยชน์สูงสุดถึง 15.5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2593 และหากไม่มีข้อตกลง "Global Blue Deal" คาดว่าผลประโยชน์ดังกล่าวและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG14 ทรัพยากรทางทะเล จะดำเนินการเป็นไปได้ยากขึ้น ซึ่งเวลานี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะกำหนดแนวทางใหม่และเพิ่มการลงทุนที่มากขึ้น เพื่อสร้างเศรษฐกิจมหาสมุทรที่ยั่งยืน


https://www.nationtv.tv/gogreen/378915815

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม