ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 10-06-2009
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default


กรุงเทพธุรกิจ


การขจัดการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU fishing) โดย สกล หาญสุทธิวารินทร์

การทำประมงที่ผิดกฎหมาย Illegal Unreported and Unregulated fishing (IUU Fishing) ถือเป็นภัยคุกคามต่อปริมาณปลาและสัตว์น้ำที่เป็นแหล่ งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ และความหลากหลายของพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศวิทยาทางทะเล และเป็นการเอาเปรียบชาวประมงที่ทำการประมงโดยถูกต้อง ทั้ง FAO และประเทศต่างๆ หลายประเทศก็ได้พยายามร่วมกันในการหามาตรการขจัดและต ่อต้าน สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศแรกที่ได้กำหนดมาตรการเพื่ อป้องกันและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมายดังกล่าว โดยออกเป็นกฎระเบียบที่ 1005/2008 ลงวันที่ 29 กันยายน 2551 จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553


กฎระเบียบของสหภาพยุโรปดังกล่าวให้ความหมายของการทำป ระมงที่ผิดกฎหมายไว้คือ

- Illegal fishing เป็นกรณีทำการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบและกฎหมาย หรือเป็นกรณีทำการประมงโดยเรือที่ชักธงของประเทศที่เ ป็นสมาชิกองค์กรในภูมิภาคที่รับผิดชอบบริหารจัดการกา รทำประมง โดยฝ่าฝืนต่อมาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อการอนุรักษ์ปลา ที่ประเทศนั้นได้ผูกพันไว้ หรือเป็นกรณีที่ทำการประมงโดยเรือประมง ด้วยการฝืนกฎหมาย หรือฝ่าฝืนพันธกรณีระหว่างประเทศด้านการประมง รวมทั้งพันธกรณีตามความตกลงร่วมมือทางประมงในภูมิภาค ด้วย

- Unreported fishing เป็นกรณีทำการประมงแล้วไม่ได้รายงาน หรือรายงานอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่กำ หนดไว้ ต่อหน่วยงานกำกับดูแลการประมงแห่งชาติ หรือองค์กรบริหารจัดการการประมงในภูมิภาคแล้วแต่กรณี

- Unregulated fishing เป็นกรณีทำการประมงในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์กรบร ิหารจัดการการประมงในภูมิภาค โดยเรือไม่ปรากฏสัญชาติ หรือโดยเรือที่ติดธงของประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก หรือโดยองค์กรประมงอื่นๆ ในประการที่ไม่สอดคล้องหรือฝ่าฝืนต่อมาตรการที่กำหนด ขึ้น เพื่อการอนุรักษ์ปลา รวมถึงการทำประมงในบริเวณสงวนเพื่อการเพิ่มจำนวนปลาท ี่ยังไม่เป็นบริเวณที่มีการกำหนดมาตรการอนุรักษ์ไว้ ในประการที่ไม่สอดคล้องกับความรับผิดชอบของรัฐ เพื่อการสงวนอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำภายใต้กฎหมายระ หว่างประเทศ

ผลของกฎระเบียบที่มีต่อการส่งออกสินค้าประมง กฎระเบียบของสหภาพยุโรปส่วนที่มีผลต่อการส่งออกสินค้ าประมงที่สำคัญ คือ ส่วนที่บัญญัติว่าสินค้าประมงที่ผลิตหรือกำเนิดมาจาก การจับปลาที่ผิดกฎหมายเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเ ข้าสหภาพยุโรป และกำหนดให้สินค้าประมงที่จะนำเข้าสหภาพยุโรป จะต้องมีหนังสือรับรองการจับปลา (catch certificate) ออกโดยหน่วยงานของรัฐของเรือประมงที่จับปลา หรือที่ได้ปลามา รับรองว่าไม่ได้เป็นหรือผลิตจากปลาที่จับโดยผิดกฎหมา ย ประกอบการนำเข้าสหภาพยุโรปด้วย กฎระเบียบดังกล่าวครอบคลุมถึงสินค้าประมงทุกประเภท ไม่ว่าจะมีชีวิต สด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป แต่ไม่รวมถึงปลาและสัตว์น้ำจืด ปลาและสัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง และสัตว์น้ำประเภทหอยบางชนิด

ผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทย สินค้าประมงเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้ให้ประเทศไทย ที่สำคัญในลำดับต้นๆ กฎระเบียบของสหภาพยุโรปดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทยอย่างไม่ อาจหลีกเลี่ยงได้ ปัญหาคือไทยมีความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎระเบียบดังก ล่าวแล้วหรือไม่ เบื้องแรกคือผู้อยู่ในวงจรการค้าสินค้าประมง ตั้งแต่ผู้จับปลา ผู้ค้า ผู้แปรรูป ผู้ส่งออกสินค้าประมง เข้าใจต่อกฎระเบียบดังกล่าว และพร้อมที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องแล้วหรือไม่ หน่วยงานของไทยที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการค้าการส่ งออกสินค้าประมงของไทยมีหน่วยงานหลักอย่างน้อยสองหน่ วย คือ กรมประมงที่มีหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลการประมงของไ ทย และกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศที่มีหน้าที่บริหารการส่งออก และเป็นผู้ให้บริการการออกหนังสือรับรองการส่งออกต่า งๆ มีความพร้อมที่จะให้บริการในการออกหนังสือรับรองการจ ับปลา ตลอดจนหนังสือรับรองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า และมีความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าปร ะมงหรือให้เกิดให้น้อยที่สุด

ทั้งกรมประมงและกรมการค้าต่างประเทศ จะต้องประสานร่วมมือกันในการดำเนินการต่างๆ และหากมีปัญหาและอุปสรรคที่ต้องแก้ไขหรือเจรจาแก้ไข ก็ควรต้องประสานร่วมมือกันดำเนินการให้เป็นไปในทิศทา งเดียวกัน ดังเช่นในอดีตที่เคยมีปัญหาการส่งออกปลาโบนิโตกระป๋อ งไปสหภาพยุโรป ทั้งกรมประมงและกรมการค้าต่างประเทศประสานและให้ความ ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างดียิ่ง จนปัญหาดังกล่าวลุล่วงไปในทางที่ดี ไม่มีประเด็นปัญหาว่าปลาและสัตว์น้ำเป็นของฉันท่านอย ่ามายุ่ง การออกหนังสือรับรองและการเจรจาการค้าสินค้าเป็นของก รมฉันในส่วนนี้ฉันขอดำเนินการเอง เพราะมิฉะนั้นแล้ว การดำเนินการของทางราชการจะกลับกลายเป็นการเพิ่มอุปส รรคให้การส่งออกสินค้าประมงเข้าไปอีก ถ้าหากเกิดเหตุเช่นที่กล่าวขึ้น จนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าประมงมากขึ้นไป อีก ก็คงต้องมีการนำมาบอกกล่าวให้สังคมได้รับทราบกันบ้าง ละครับว่า หน่วยงานใดเป็นผู้ก่อปัญหา

อนึ่ง มีเสียงสะท้อนมาจากผู้ส่งออกสินค้าประมงรายใหญ่บางรา ย ว่า หากไทยยังมีความพร้อมไม่สมบูรณ์ในการปฏิบัติตามกฎระเ บียบดังกล่าว ก็ควรร้องขอต่อสหภาพยุโรปโดยหากร้องในนามอาเซียนได้ก ็เป็นการดี ขอขยายเวลาการบังคับใช้หรือการต้องปฏิบัติตามกฎดังกล ่าวออกไปอีกระยะหนึ่ง โดยแสดงให้เห็นว่าไทยเห็นด้วยกับการต่อต้านและขจัดกา รทำประมงที่ผิดกฎหมาย เรื่องใดที่ไทยพร้อมแล้ว และเรื่องใดที่ต้องใช้เวลาเตรียมตัวเตรียมความพร้อมอีกระยะหนึ่ง


8 มิถุนายน 2552
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-06-2009 เมื่อ 10:59
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม