ดูแบบคำตอบเดียว
  #7  
เก่า 20-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,331
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


อุณหภูมิน้ำทะเลทั่วโลกร้อนขึ้น จนทำลายสถิติรายวันต่อเนื่องครบ 365 วันแล้ว


SHORT CUT

- รายงายจาก NOAA เผยว่า อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลทั่วโลกร้อนขึ้น ทำลายสถิติรายวันติดต่อกันจนครบ 365 วันแล้ว

- โดยเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 67 อุณหภูมิเฉลี่ยน้ำทะเลอยู่ที่ 21.2 องศาเซลเซียส ทำลายสถิติสูงสุดตลอดกาล

- ผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่ทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกอุ่นขึ้น

- ต่อจากนี้จับตาดูปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ของโลกครั้งที่ 4




เปิดเตา เผาโลก! ผู้เชี่ยวชาญชี้ ขณะนี้อุณหภูมิมหาสมุทรทั่วโลกร้อนทำลายสถิติรายวัน ที่ร้อนติดต่อกันเป็นเวลา 365 วัน หรือครบ 1 ปีเต็มแล้ว และจะร้อนขึ้นไปอีก

เราทราบกันดีว่าอุณหภูมิน้ำทะเลทั่วโลกกำลังร้อนขึ้น จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แต่รายงานล่าสุดจากหน่วยงานด้านมหาสมุทรของสหรัฐฯเผยให้เห็นว่า อุณหภูมิน้ำทะเลทั่วโลกร้อนขึ้น จนทำลายสถิติรายวันติดต่อกันจนครบ 365 วันแล้ว

สำนักข่าวไฟแนนเชียลไทม์รายงานว่า อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลโลกร้อนทำลายสถิติติดต่อกันเป็นเวลา 365 วันหรือครบหนึ่งปีแล้ว

โดยข้อมูลจากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือโนอาของสหรัฐฯ และระบบวิเคราะห์สภาพอากาศของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเมน พบว่า นับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมปีที่แล้ว อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลทั่วโลก ร้อนจนทำลายสถิติรายวันของปีก่อนหน้า ติดต่อกันจนครบ 365 วัน

และเมื่อวันพุธที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา เป็นวันที่อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 21.2 องศาเซลเซียส ทำลายสถิติสูงสุดตลอดกาลใหม่ด้วย

รายงานระบุว่า สถานการณ์ดังกล่าวเกิดจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ที่มีมนุษย์เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง และปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกอุ่นขึ้น

ด้านริชาร์ด สปินแรด ผู้บริหารของโนอาเปิดเผยสัปดาห์นี้ว่า ความร้อนดังกล่าวจะมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล โดยก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โนอาก็เพิ่งเตือนว่า โลกของเรากำลังเผชิญกับเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ของโลกครั้งที่สี่

หน่วยงานเฝ้าระวังแนวปะการังของสหรัฐฯพบว่า มีการเตือนภัยปัญหาปะการังฟอกขาวในหลายภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก และในทะเลแคริบเบียน ซึ่งประสบกับปัญหาอากาศร้อนรุนแรง ทำให้นักวิทยาลัยเริ่มเป็นกังวลมากขึ้นว่า ในฤดูเฮอริเคนของมหาสมุทรแอตแลนติกที่กำลังจะมาถึง มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายรุนแรงมากกว่าเดิม

ตามปกติแล้ว ฤดูเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติกจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนมิถุนายนและสิ้นสุดในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี แต่เนื่องจากรูปแบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป หลายพื้นที่ของมหาสมุทรแอตแลนติกตอนกลางเริ่มอุ่นมากขึ้นกว่าเดิมในช่วงเดือนมีนาคม

ปะการังฟอกขาวที่ great barrier reef Cr.Reutersริชาร์ดเปิดเผยด้วยว่า ถ้าหากดูจากถสิติ เราจะเห็นว่า พายุไซโคลนกกำลังก่อตัวขึ้นเร็วกว่าวันที่ 1 มิถุนายน และเราอาจจะได้เห็นฤดูเฮอริเคนขยายออกไปเกินสิ้นเดือนพฤศจิกายน เพราะในตอนนี้ ฤดูเฮอริเคนยาวนานขึ้น

ทั้งนี้ มหาสมุทรทั่วโลกดูดซับความร้อนและพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ถึงราว 90 เปอร์เซ็นต์

ซึ่งความร้อนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหล่านั้นเป็นตัวการที่ทำให้เกิดปัญหารการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดในชั้นบรรยากาศตอนเหนือคือมหาสมุทรแอตแลนติกนั่นเอง ซึ่งการไหลเวียนของน้ำช่วยควบคุมอุณหภูมิบนแผ่นดิน ดังนั้นบรรดานักวิทยาศาสตร์จึงกังวลหากน้ำทะเลร้อนขึ้นนั่นเอง


ที่มาข้อมูล Financial Times


https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/848711
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม