ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 19-02-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,248
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ชาวบ้านสตูลแห่ออกทะเล จับแมงกะพรุนลอดช่อง ส่งขายทำรายได้ดีวันละ 4-5 พัน

ชาวบ้านที่ ต.ตันหยงโป จ.สตูล ได้อาชีพใหม่แทนการออกเรือหาปลา คือ การช้อนแมงกะพรุนลอดช่องขาย โดยมีพ่อค้ามารับซื้อและดองถึงที่ ให้ราคาดีตัวละ 8 บาท จนชาวบ้านทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 4-5 พันบาทต่อวัน



เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านพื้นที่ ม.2 บ้านหาดทรายยาว ต.ตันหยงโป อ.เมือง จ.สตูล กำลังเร่งตักแมงกะพรุนที่ลอยขึ้นเต็มทะเลบ้านหาดทรายยาว แมงกะพรุนดัง กล่าวเป็นแมงกะพรุนลอดช่อง ที่สามารถนำมารับประทานได้ ทำให้หมู่บ้านแห่งนี้มีรายได้เสริมในระยะนี้ มีพ่อค้ามารับซื้อและดองกะพรุนถึงริมชายหาดโดยให้ราคาตัวละ 8 บาท แต่ละคนมีรายได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 4-5 พันบาทเลยทีเดียว

เต่ามะเฟือง ขึ้นวางไข่รังที่ 11 ที่หาดเกาะคอเขา จนท.ปล่อยฟักตามธรรมชาติ
มาก่อนวันหวยออก แม่เต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่รังที่ 8 หน้าหาดท้ายเหมือง
ส่องต่อไม่รอแล้วนะ ขันดอกน้ำมนต์ของพญาเต่าเรือน เห็นเลขเด็ด 2 ตัว 3 ตัว

นายสะมาแอน ฮะยีบีลัง และนายวีระ แซะอุมา ชาวบ้านในพื้นที่ กล่าวว่า แมงกะพรุนเพิ่งเริ่มขึ้นมาได้ประมาณ 1 สัปดาห์ มีพ่อค้ามาตั้งจุดรับซื้อและมาดองที่บริเวณริมชายหาดเลย โดยปีนี้รับซื้อในราคาแพงกว่าปีที่ผ่านมา โดยซื้อตัวละ 8 บาท ชาวบ้านในพื้นที่ในระยะนี้จึงไปเก็บแมงกะพรุนขาย แทนการออกเรือหาปลา เพราะรายได้ดีกว่าเพราะเป็นการหาอยู่บริเวณทะเลหลังบ้านตนเอง เพียงขับเรือออกไปประมาณ 2-3 กิโลเมตร ก็จะเห็นแมงกะพรุนลอยเต็มทะเล จากนั้นก็สามารถใช้เครื่องมือตักใส่เรือได้ทันที



ขณะที่ บางคนออกไปวันละหลายรอบก็จะได้มาก สำหรับตนนั้นได้วันละ 500-600 ตัวก็จะมีรายได้วันละ4-5 พันบาททำงานเพียง2-3 ชั่วโมงก็ได้กลับมาพัก ในแต่ละวันมีพ่อค้ามารับซื้อในพื้นที่ถึง 8 ราย รวมแล้วไม่ต่ำกว่าวันละ 1 หมื่นตัว ทั้งนี้ แมงกะพรุนจะยังมีให้จับไปประมาณ 3 เดือน ถือเป็นช่วงโอกาสทองของชาวบ้านที่นี่

อย่างไรก็ตามนายสะมาแอนและนายวีระ กล่าวว่า ขณะนี้ มีชาวบ้านต่างถิ่นเข้ามาจับก็มาก เช่น เรือที่มาจาก อ.ท่าแพ อ.ละงู อ.ทุ่งหว้า และ อ.ท่าแพ นั้น จะแล่นเรือมาหาแมงกะพรุนในพื้นที่ ต.ตันหยงโป และนำไปขายพ่อค้าในพื้นที่ อ.ท่าแพ ให้ตัวละ12 บาท เนื่องจากแล่นเรือระยะทางไกลจึงมีราคาดีกว่า ระยะนี้ในทะเลบริเวณนี้จึงคึกคักไปด้วยเรือแต่ละวันนับ 100 ลำเลยทีเดียว.


https://www.thairath.co.th/news/local/south/1774885


*********************************************************************************************************************************************************


ชี้มาเลย์แชมป์ขยะพลาสติก-ไทยก็โดนด้วย



เมื่อ 17 ก.พ. มูลนิธิทอมสัน รอยเตอร์ส เผยแพร่รายงานของกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ว่าด้วยประเทศในเอเชียที่ปล่อยขยะพลาสติกลงสู่มหาสมุทรมากที่สุด โดยระบุว่ามาเลเซียครองอันดับ 1

รายงานของ WWF สำรวจการใช้พลาสติกในจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย ซึ่งทั้ง 6 ประเทศนี้ปล่อยขยะพลาสติกลงสู่มหาสมุทรรวมกันถึง 60% ของขยะพลาสติกที่ไหลลงสู่มหาสมุทรทั่วโลกทั้งหมดราว 8 ล้านตันต่อปี โดยรายงานนี้มุ่งวิจัยเรื่องการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก และพบว่าในปี 2559 มีการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกใน 6 ประเทศนี้ถึง 27 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่ไหลลงสู่มหาสมุทรในที่สุด

รายงานชี้ว่าช่วงปี 2553-2593 ขยะพลาสติกในทะเลจะเพิ่มขึ้น 4 เท่าจนมีน้ำหนักรวมกันมากกว่าปลาในมหาสมุทรภายในกลางศตวรรษนี้ ขณะที่การแพร่ก๊าซคาร์บอนที่เกี่ยวข้องกับพลาสติก ทั้งจากการผลิตและเผา มีปริมาณถึง 860 ล้านตันในปี 2562 มากกว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่อปีของไทย เวียดนามและฟิลิปปินส์รวมกันใน 6 ประเทศนี้ ชาวมาเลเซียใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกต่อคนต่อปีมากที่สุดราว 16.8 กก. ส่วนอันดับ 2 คือไทย ใช้คนละ 15.5 กก.ต่อปี โดย

นายโธมัส ชูลด์ต ผู้ประสานงานของ WWF ว่าด้วยพลาสติกในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เผยว่า มาเลเซียใช้พลาสติกมาก เพราะเป็นหนึ่งในชาติร่ำรวยที่สุด มีการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกจัดส่งอาหารถึงบ้านอย่างแพร่หลาย นอกเหนือจากการใช้ถุงพลาสติกตามห้างสรรพสินค้า

รายงานระบุว่าหลายพื้นที่ในเอเชียเศรษฐกิจและประชากรเติบโตอย่างรวดเร็ว หลายเมืองใหญ่ที่ผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นยังตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเล แต่ระบบการเก็บขยะและโครงสร้างพื้นฐานตามไม่ทันการพัฒนาอย่างรวดเร็วนี้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าปัจจัยเลวร้ายรวมกันเหล่านี้ส่งผลให้ขยะพลาสติกไหลลงสู่ทะเลมหาศาล นอกจากนี้ หลังจีนห้ามนำเข้าขยะพลาสติกในปี 2561 ผู้ส่งออกขยะรายใหญ่เช่นสหรัฐฯ และชาติในยุโรปก็เริ่มส่งขยะมาทิ้งที่เอเชียแทน ซึ่งนอกจากขยะพลาสติกจะทำลายการท่องเที่ยว การประมงและอุตสาหกรรมการเดินเรือ มันยังคร่าชีวิตสัตว์ทะเลและหลุดเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ด้วย

WWF กระตุ้นให้รัฐบาลมาเลเซียและประเทศอื่นๆในเอเชียออกกฎเกณฑ์จำกัดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง นำมารีไซเคิล ร่วมมือกับภาคธุรกิจและกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างระบบที่กระตุ้นให้บริษัทสินค้าเพื่อการบริโภคใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกน้อยลง และเพิ่มงบประมาณโครงการรีไซเคิลมากขึ้น.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1774083

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม