ดูแบบคำตอบเดียว
  #90  
เก่า 03-11-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,336
Default


FloodDuck "เจ้าเป็ดน้อย" แสนดี เตือนภัยก่อนไฟมาดูด



สถานการณ์การเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดในพื้นที่น้ำท่วมนับวันมีตัวเลขเพิ่มขึ้น เป็นภัยแฝงที่น่ากลัวที่มากับน้ำท่วม มีการรายงานขั้นต่ำแล้วว่ามีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 36 ราย ใน 15 จังหวัด โดยมากเป็นการเสียชีวิตจากถูกไฟฟ้าดูดในวันแรกที่น้ำท่วม และมักจะเสียชีวิตในบ้าน จากการสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ตู้เย็น ปั๊มน้ำ สายชาร์จโทรศัพท์มือถือ หรือ อุปกรณ์ที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ

ความจริงแล้วตัวเลขผู้เสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดอาจมากกว่าที่ได้รับรายงาน เนื่องจากการลงพื้นที่พบปะจากชาวบ้านที่ประสบภัยยืนยันว่ามีการเสียชีวิตจากไฟดูดมากกว่าตัวเลขจริงถึง 2 เท่า หรือประมาณ 50 ราย เช่นในพื้นที่บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เพราะบางคนถูกไฟดูดจมอยู่ในน้ำ เวลาไปชันสูตรศพก็จะรายงานว่าจมน้ำ แต่ก่อนจมน้ำคือถูกไฟฟ้าดูดก่อน

วิธีป้องกันด้วยการเช็คว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วในบริเวณที่เราจะต้องผ่านหรือไม่แน่ใจที่แนะนำกันคือใช้ไขควงแบบเช็คไฟฟ้าแต่วิธีนี้ทำได้ไม่สะดวก และติดจะรู้สึกไม่สบายใจนักเมื่อน้ำมีระดับความสูงเพิ่มขึ้น



นั่นทำให้สัปดาห์ที่ผ่านมา ชื่อเสียงของ "เป็ดน้อยเตือนภัย" จึงเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง

เจ้าเป็ดน้อยเตือนภัยนี้สามารถนำไปลอยน้ำเพื่อตรวจวัดกระแสไฟฟ้ารั่วก่อนเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งเป็ดน้อยเตือนภัยจะส่งเสียงและมีไฟแดงขึ้นในตัว เมื่อพบกระแสไฟฟ้ารั่ว และสามารถรับกระแสไฟฟ้าได้ในรัศมี 1 ตารางเมตร และความลึก 50 เซนติเมตร

ที่มาที่ไปของ เป็ดน้อยเตือนภัย หรือ FloodDuck มีที่มาจากแรงบันดาลใจของ อ.ดุสิต สุขสวัสดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่คิดว่านอกจากไขควงเช็คกระแสไฟฟ้าแล้วอะไรจะเป็นตัวแจ้งเตือนให้คนรู้ว่ามีไฟรั่วในน้ำได้อีก อ.ดุสิตเล่าผ่านเฟซบุคเพจที่ชื่อ FloodDuck ว่า ในเชิงช่างอุปกรณ์ที่เราใช้ตรวจสอบว่าสายเส้นใดมีไฟก็คือไขควงวัดไฟ แต่จะให้ถือไขควงวัดไฟก็จะดูไม่เข้าท่า มันน่าจะมีอะไรดีกว่านั้นไหม เมื่อมองไปในอ่างก็มีเป็ดตัวหนึ่งซึ่งมันลอยอยู่จึงเป็นที่มาของเป็ดเตือนภัยตัวแรกของโลกและนำมาสู่โครงการเป็ดน้อยเตือนภัยในที่สุด


ทีมงานและอาสาสมัครผลิตเจ้าเป็ด

หลักการทำงานของเจ้า "เป็ดน้อย" FloodDuck หัวใจการทำงานจริงจะอยู่ที่บริเวณด้านล่างของตัวเป็ดน้อย ที่บริเวณด้านล่างประกอบด้วยแท่งตัวนำจำนวน 2 แท่งวางตัวอยู่ห่างกัน ( กรณีนี้ใช้สายไฟหุ้มปลายทองแดง ) ลักษณะเหมือนตะเกียบ ประจุไฟฟ้าจะเดินทางจากปลายข้างหนึ่งไปสู่ปลายอีกข้างหนึ่ง ตะเกียบต้องมีระยะห่างสักประมาณหนึ่ง ทั้งนี้ อ.ดุสิตได้ออกแบบวงจรตรวจจับกระแสไฟฟ้าใส่ลงไป

โดยรุ่นแรกที่ออกแบบมาจะมีแต่ไฟเตือน

ทีนี้โจทย์ข้อต่อไปคือไฟจะต้องสว่างเมื่อกำลังจะเข้าสู่ย่านที่แรงดันเริ่มจะมีผลต่อร่างกายมนุษย์ ก็เริ่มต้องใช้เครื่องมือวัดซึ่งปริมาณกระแสที่ตรวจสอบได้ในระดับ 1 ใน 1000 แอมป์ ที่แรงดันประมาณ 40 โวลท์ ก็จะเริ่มมีแสงสว่างพอท่ีจะสังเกตได้เมื่อเพิ่มแรงดันตกคร่อมเข้าไปแสงก็จะสว่างขึ้นและดังขึ้น โดยคุณสมบัติข้อนี้นี่เองเจ้าเป็ดน้อยจึงมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งคือสามารถตรวจหาตำแหน่งของแหล่งจ่ายไฟที่อยู่ใต้น้ำได้อีกด้วย

ต้นทุนเป็ดหนึ่งตัวอยู่ที่ประมาณ 150-160 บาท โดยขณะนี้มีบรรดานักศึกษา และอาสาสมัครเข้าไปร่วมผลิตเจ้าเป็ดน้อยที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง



ส่วนวิธีใช้-วิธีดูแลเจ้าเป็ด..ควรทำคันแขวนเอาไว้ถือคล้ายตะเกียงส่องนำทางไปยังจุดหมายที่จะลุยน้ำไป เมื่อใช้เสร็จก็ควรเช็ดให้แห้งและตรวจสอบว่ามีน้ำรั่วเข้าไปบ้างหรือไม่ และสุดท้ายหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอว่าแบตเตอรี่หมดหรือไม่

ขณะนี้เจ้าเป็ดน้อยลอยน้ำได้ถูกส่งมอบให้หน่วยงานต่างๆนำไปใช้ประโยชน์ทั้ง กทม. พนักงานการไฟฟ้าที่ต้องเสี่ยงเข้าไปลุยน้ำตัดไฟให้ประชาชน รวมไปถึงนำไปมอบให้โรงพยาบาลศิริราชด้วย

มีเจ้าเป็ดน้อยเตือนภัยก็อุ่นใจได้ระดับหนึ่งในยามน้ำท่วมทุลักทุเลเวลานี้




จาก ..................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม