ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 15-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


มลพิษตะกั่ว เกิดขึ้นสูงสุดเมื่อ 800 ปีก่อน


Credit : CC0 Public Domain

เมื่อเร็วๆนี้มีการวิจัยเผยแพร่ลงวารสาร Antiquity ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในอังกฤษ แสดงการบันทึกที่มีความละเอียดสูงสุดและถูกต้องตามลำดับเหตุการณ์ในการดำรงอยู่ของมลพิษ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วง 2,000 ปีที่ผ่านมา

ทีมวิจัยนำโดยนักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮม ในอังกฤษ และสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งมหาวิทยาลัยเมน และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสหรัฐอเมริกา ได้ดึงเอาแก่นธารน้ำแข็งอัลไพน์ (Colle Gnifetti) ที่ชายแดนสวิตเซอร์แลนด์และอิตาลีมาศึกษา และเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ฉายแสงเลเซอร์บนน้ำแข็งอายุหลายร้อยปีนี้ รวมกับบันทึกทางประวัติศาสตร์ ทีมวิจัยชี้ว่าวิกฤตการณ์ทางการเมืองและสงครามได้ทำลายดัชนีการเติบโตทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมของยุโรปในช่วงของกษัตริย์ที่มีชื่อเสียงมากของอังกฤษ อย่าง พระเจ้าเฮนรีที่ 2 พระเจ้าจอห์น และพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 หรือที่รู้จักในชื่อริชาร์ดใจสิงห์

ผลจากการวิจัยพบว่าระดับมลพิษทางอากาศในระดับสูงสุดก่อนยุคสมัยใหม่นั้น เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 800 ปีที่แล้ว โดยโลหะตะกั่วที่เป็นพิษได้ลดการทำงานของสมองและส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพตลอดชีวิตแม้การสัมผัสกับตะกั่วจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม เนื่องจากมนุษย์ได้ขุดและใช้งานตะกั่วมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ เช่น การทำเหรียญ ทำหลังคา ท่อน้ำ และสีทา.


http://www.thairath.co.th/news/foreign/1819868


*********************************************************************************************************************************************************


หนอนทะเลลึกกับแบคทีเรียเก็บเกี่ยวมีเทน


Credit : Alvin / WHOI

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการคาร์บอนใน บางรูปแบบเพื่อความอยู่รอด โดยดูดซับผ่านกระบวนการเผาผลาญ หนอนในทะเลลึกและแบคทีเรียก็เช่นกัน หลังจากนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือแคลเทค (Caltech) และวิทยาลัยออกซิเดนทอล ในสหรัฐอเมริกาค้นพบว่าหนอนและแบคทีเรียที่ก้นทะเลจะให้ความกระจ่างใหม่เกี่ยวกับนิเวศวิทยาของสภาพแวดล้อมใต้ทะเลลึก

ทีมวิจัยเผยว่าแบคทีเรียที่อยู่ในตระกูลเมธิลโลคอคคัส แคปซูลาตัส (Methylococcaceae) ซึ่งถูกเรียกว่าจุลินทรีย์ที่บำบัดก๊าซมีเทน (methanotrophs) เนื่องจากพวกมันเก็บเกี่ยวคาร์บอนและพลังงานจากมีเทน ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจน นักวิจัยพบหนอนขนาดยาวไม่กี่นิ้วจำนวนมากใกล้กับพื้นที่พบก๊าซมีเทนในทะเลลึก ตรงช่องระบายอากาศที่พื้นมหาสมุทรซึ่งมีของเหลวที่อุดมด้วยไฮโดรคาร์บอนไหลซึมออกมา หนอนเหล่านี้มีเชื่อมโยงกับการดูดซึมซับมานาน เดิมทีคิดว่าหนอนทำตัวเป็นตัวกรองการให้อาหารกับแบคทีเรีย แต่นักวิจัยกลับพบว่าหนอนได้ร่วมมือกับแบคทีเรียใช้พลังงานเคมีเพื่อเลี้ยงตัวเองในวิธีที่ไม่ได้คาดคิด

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะยังไม่รู้ชัดเจนว่าทำไมหนอนชอบช่องระบายอากาศ แต่ผลการวิจัยนี้ได้เปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศ และจะส่งผลต่อการศึกษาดูแลพื้นที่ใต้ทะเลลึก.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1819846

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม