ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 03-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,248
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ทำนายการเริ่มต้นของรอยร้าวแบบ 3 มิติ


Credit : Akira Hojo

การหาตำแหน่งของแนวรอยแตกบนพื้นผิว หรือหาตำแหน่งที่มีแนวโน้มจะมีรอยร้าวได้อย่างแม่นยำ นับเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญต่อการวิเคราะห์ และออกแบบโครงสร้างการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้น เหล่านั้น โดยเฉพาะการคำนวณวิเคราะห์อัตราการปลดปล่อยพลังงานที่สัมพันธ์กับการกระจายของรอยร้าว

เมื่อเร็วๆนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนาแชมเปญจน์ ในสหรัฐอเมริกา เผยว่าพัฒนาวิธีการใหม่ คือการใช้อนุพันธ์ของทอพอโลยี (Topology) ที่อธิบายคุณสมบัติทางรูปร่างที่ไม่แปรเปลี่ยนภายใต้การดึง ยืด หด บีบเพื่อประเมินการปล่อยพลังงานหากรอยแตกปรากฏขึ้นในพื้นที่ใดๆ และวางเป็นแนวตามพื้นผิวของโครงสร้าง 3 มิติ ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งและทิศทางของการแตกที่สำคัญด้วยการวิเคราะห์เพียงครั้งเดียว

วิธีการใหม่นี้ช่วยให้นักวิจัยวิเคราะห์ ได้ง่ายขึ้นมาก เพราะแทนที่จะต้องวิเคราะห์ทุกจุดทุกตำแหน่งที่มีศักยภาพเกิดรอยร้าวตามโครงสร้างพื้นผิว การวิเคราะห์ด้วยวิธีที่พัฒนาใหม่จะมีราคาถูกลง และการแก้ปัญหา ก็รวดเร็วขึ้น ซึ่งการใช้เทคนิคนี้นักวิจัยสามารถระบุตำแหน่งและทิศทางที่สอดคล้องกับอัตราการปลดปล่อยพลังงานสูงสุดได้ทันที.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1810193


*********************************************************************************************************************************************************


หยุดการเปลี่ยนแปลงของลมในซีกโลกใต้


Credit : NASA

หลุมโอโซนที่ค้นพบในปี พ.ศ.2528 ได้ก่อตัวขึ้นทุกฤดูใบไม้ผลิในชั้นบรรยากาศที่สูงเหนือทวีปแอนตาร์กติกา นักวิจัยอธิบายไว้ว่าการลดลงของโอโซนทำให้อากาศเย็นลง ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระแสน้ำวนขั้วโลกและส่งผลกระทบต่อลมลงไปสู่ชั้นล่างสุดของชั้นบรรยากาศโลก

มีงานวิจัยเผยว่า สารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซนของโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการไหลเวียนของอากาศในซีกโลกใต้ ล่าสุด สถาบันความร่วมมือเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (CIRES) พบว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้หยุดชั่วคราวและอาจย้อนกลับ เนื่องจากพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) ที่เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการยุติการใช้สารเคมีทำลายชั้นโอโซน อย่างสารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอน (chlorofluorocarbons-CFCs)



สิ่งเหล่านี้เริ่มเมื่อราวๆปี 2543 นักวิจัยพบว่าความเข้มข้นของสารเคมีในชั้นสตราโตสเฟียร์เริ่มลดลงและหลุมโอโซนก็เริ่มฟื้นตัว การลดลงของโอโซนได้เปลี่ยนกระแสลมกรดละติจูดกลาง รวมถึงพื้นที่แห้งแล้งชายขอบของเขตร้อนทางขั้วโลกใต้ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการพิสูจน์สมมติฐานของนักวิจัยว่าการกู้คืนโอโซนได้ผลักดันการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของอากาศในชั้นบรรยากาศ ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1810178
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม