ดูแบบคำตอบเดียว
  #18  
เก่า 01-09-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,159
Default

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552...ในโอกาสที่คณะบุคคลต่างๆ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำรัสใจความว่า


"ปีนี้ ประมงพื้นบ้านตั้งแต่ปัตตานีจนถึงนราธิวาสหลายร้อยคน เขียนจดหมายถึงข้าพเจ้า แล้วก็เซ็นชื่อเป็นบัญชีหางว่าวเลย ขอให้ข้าพเจ้าช่วยจัดทำปะการังเทียมเพิ่มเติมขึ้นอีก แล้วตอนนี้ใครจะช่วยข้าพเจ้า ตอนนี้จะเอาอะไรไปทิ้งให้ปลามันอยู่ ข้าพเจ้าจึงนำมาเล่าให้ท่านทั้งหลายฟังว่า ปะการังเทียมนั้นใช้ได้ผลจริงๆ

น่าภูมิใจแทนหน่วยงานทั้งหลาย ที่ช่วยเหลือประชาชนประสบผลสำเร็จ และข้าพเจ้าก็เลยขอถือโอกาสนี้ ส่งข่าวถึงกลุ่มประมงพื้นบ้าน ที่เขาเขียนจดหมายถึงข้าพเจ้าขอปะการังเทียมเพิ่มเติมด้วยว่า ข้าพเจ้าจะพยายามขอร้องให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทุกแห่งช่วยกันประสานงาน เชื่อว่าอีกไม่นานเกินรอ ก็คงจะเริ่มจัดสร้างพื้นที่บริเวณปะการังเทียมได้อีก เพื่อประชาชนจะได้ไปตกปลา ไปทำมาหากินได้เพิ่ม"








จากพระราชเสาวนีย์ดังกล่าวข้างต้น และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 78 พระชนมพรรษา ในปี 2553 กรมประมงจึงได้สานต่อ “โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส” ขึ้นอีกครั้ง เป็นการนำวัสดุที่ไม่ใช้งานหรือปลดประจำการกลับมาใช้ ประโยชน์อีกครั้ง เพื่อจัดสร้างเป็นที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์ทะเล



ทางกรมประมง จึงได้พิจารณานำวัสดุเหลือใช้ที่ได้รับการบริจาคมา คือ รถถัง 25 คัน รุ่น 30 T 69-2 จากทางกองทัพบก...ตู้รถสินค้า จำนวน 273 ตู้ จากกระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย...รถยนต์เก็บขยะมูลฝอย จำนวน 198 คัน จากกรุงเทพมหานคร...และ รถยนต์ 3 คัน จากกองทัพไทย รวมรถทั้งสิ้น 499 คัน เพื่อทำเป็นปะการังเทียม และแนวกันคลื่น





ภาพจาก...http://www.bangkokbiznews.com



สำหรับเหตุผลที่กองทัพบก ได้ส่งมอบรถถังให้กรมปะมงนำไปใช้ทำปะการังเทียมนั้น สรุปความได้ว่า....


กองทัพบก ซึ่งมีรถถังขนาดกลาง รุ่น 30 T 69-2 จำนวน 25 คัน ที่เคยใช้งานอยู่แถบชายแดนประเทศไทย ซึ่งเป็นรถถังที่ผลิตขึ้นในประเทศจีน และถูกนำมาประจำการที่กองพันทหารม้า ที่ 16 จังหวัดนครศรีธรรมราช กองทัพบกไทย ตั้งแต่เมื่อปี 2530 ก่อนที่เสื่อมสภาพและถูกนำมาซ่อมบำรุงที่ กรซย.ศซส.สพ.ทบ. เมื่อปี 2547 แต่ไม่สามารถทำการซ่อมแซมได้ เนื่องจากประเมินความเสียหายแล้วเกิน 60% และไม่คุ้มค่ากับการซ่อมแซม


ทางกองทัพบกได้พิจารณาแล้วว่า หากนำรถถังไปพัฒนาฟื้นฟูทะเล จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อชาวประมงพื้นบ้าน สร้างความสมบูรณ์ของท้องทะเลมากกว่าอย่างอื่น จึงได้ประสานงานกับกรมประมง เพื่อนำรถถังทั้ง 25 คัน ไปทิ้งลงทะเลเพื่อเป็นปะการังเทียมที่ทะเลหน้าเมืองนราธิวาส


แผนงานครั้งนี้ ต้องใช้เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ 2 ลำ ขนรถทั้งหมดที่ได้รับบริจาคไปทิ้ง โดยใช้เครนยกรถทั้งหลาย ลงเรือโป๊ะบรรทุก ซึ่งเป็นเรือท้องแบนที่ใช้ขนของหนัก (Barge) ที่จอดรออยู่บริเวณท่าเรือคลองเตย ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2553 เพื่อเดินทางไปจังวัดนราธิวาสและปัตตานี




(ภาพจาก...http://www.posttoday.com)


เมื่อไปถึงจุดหมายปลายทาง...รถแบ๊กโฮก็ดันรถทั้งหลาย (ยกเว้นรถถัง) ลงทะเล ณ จุดที่กำหนดวางลงทะเล 15 จุด ทั้งที่จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส คือในวันที่ 3 สิงหาคม 2553 กำหนดจัดวางวัสดุในพื้นที่อำเภอปะนาเระ สายบุรี และอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี และในวันที่ 9 สิงหาคม 2553 กำหนดวางรถถังทั้ง 25 คัน บริเวณ อำเภอเมือง และอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส




(ภาพจาก...http://www.posttoday.com)


ขอบคุณข้อมูลจาก...http://www.nicaonline.com และ http://www.thaipost.net
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 04-09-2012 เมื่อ 12:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม