ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 30-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ลุ้นระทึก! นาทีชาวประมงช่วย "ฉลามวาฬ" ยักษ์ใหญ่แห่งท้องทะเลสตูล หลังว่ายเข้ามาติดอวน



สตูล - ลุ้นสุดระทึก! เผยภาพนาทีชาวประมงช่วยชีวิต "ฉลามวาฬ" ยักษ์ใหญ่ใจดีแห่งท้องทะเลสตูล หลังว่ายเข้ามาติดอวน ใช้เวลาร่วม 1 ชม.ก่อนช่วยได้ปลอดภัย

เผยภาพนาทีชาวประมงเรืออวนดำ กำลังช่วยชีวิต "ฉลามวาฬ" ตัวมหึมา ความยาวกว่า 10 เมตร น้ำหนักไม่น้อยกว่า 2 ตัน ที่ว่ายเข้ามาติดอวน ตรงบริเวณห่างจากเกาะรอกประมาณ 7 ไมล์ทะเล โดย "เรือ ป.โชคประพาภรณ์ 1" ซึ่งมี นายนาวิน มานะกิจสมบูรณ์ หรือไต๋บอล บอกว่า ตั้งแต่เดินเรือมาไม่เคยเจอฉลามวาฬที่ตัวใหญ่มหึมาเข้ามาติดอวนแบบนี้มาก่อน จึงได้ให้ลูกเรือประมงร่วม 10 คน ช่วยกันนำฉลามวาฬออกจากอวนประมง โดยใช้เวลาร่วม 1 ชั่วโมง และสามารถปลดปล่อยฉลามวาฬกลับคืนสู่ท้องทะเลกว้างได้สำเร็จ

สำหรับ "ฉลามวาฬ" ถือเป็นยักษ์ใหญ่ใจดี และเป็นที่ปรารถนาของนักดำน้ำที่อยากจะพบเจอ อีกทั้งเป็นสัตว์ที่กำลังจะสูญพันธุ์ น้อยนักที่จะได้พบเห็นในทะเล จ.สตูล มาครั้งนี้สามารถพบเห็นได้ และเรือประมงผู้ใจดีสามารถช่วยชีวิตปล่อยคืนสู่ทะเลกว้างได้สำเร็จ




https://mgronline.com/south/detail/9630000066567


*********************************************************************************************************************************************************


ปลื้มไม่น้อยหน้า! เต่าตนุขึ้นวางไข่ที่อ่าวเทียน บางสะพาน



วันนี้ (29 มิ.ย.2563) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยสำนักงาน ทช. ที่ 3 (เพชรบุรี) เข้าตรวจสอบรังไข่เต่า ที่รับแจ้งจากชาวบ้านในพื้นที่ ว่าพบรอยเต่าทะเลขึ้นวางไข่บริเวณอ่าวเทียน ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ผลการตรวจคาดว่าเป็นรอยเดินเต่าตนุ ความกว้างรอยเดิน 65 เซนติเมตร ขุดพบไข่เต่าทะเลไม่ทราบจำนวน ความลึก 60 เซนติเมตร จึงครอบรังไข่เต่าเพื่อป้องกันสัตว์นักล่า และเฝ้าระวังการขึ้นวางไข่ของแม่เต่า พร้อมแนะนำวิธีการดูแลรังไข่เต่าให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ อีกทั้งจัดกำลังและเวรยามดูแลรังไข่เต่าจนกว่าลูกเต่าจะฟักและลงทะเลต่อไป

ต่อมาได้ร่วมกับชาวประมงและชาวบ้านบางสะพานในพื้นที่ กั้นคอกเพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์อื่นที่จะมารบกวน และนำบ่อซีเมนต์มาครอบและใช้อวนตาข่ายขนาดตาเล็กปิดปากบ่อซีเมนต์เอาไว้ พร้อมกันนี้ได้ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลของเต่าตนุ และข้อควรปฏิบัติต่างๆ นับจากวันนี้เป็นต้นไปจนกว่าลูกเต่าจะฟักซึ่งใช้เวลาประมาณ 50-55 วัน


เจ้าหน้าที่ ทช. ชาวประมงและชาวบ้านบางสะพานในพื้นที่ ช่วยกันกั้นคอกเพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์อื่นที่จะมารบกวน

ฤดูวางไข่ของเต่าตนุอยู่ในราวเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายนในบริเวณอ่าวไทย และอยู่ในราวเดือนกันยายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในทะเลอันดามัน จำนวนไข่ต่อครั้งมีตั้งแต่ 70?150 ฟอง เต่าขนาดโตเต็มที่แล้วจะว่ายน้ำหากินไปเรื่อย ๆ แต่จะกลับมาวางไข่บนชายหาดที่ถือกำเนิด

นับเป็นเต่าทะเลชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในน่านน้ำไทย ซึ่งมักพบในเขตที่มีอุณหภูมิน้ำที่ค่อนข้างอุ่น คือ สูงกว่า 20 องศาเซลเซียสขึ้นไป

ทั้งนี้ เต่าตนุ (Green turtle) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelonia mydas อยู่ในวงศ์ Cheloniidae และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Chelonia และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พรบ. สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000066923

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม