ดูแบบคำตอบเดียว
  #72  
เก่า 04-11-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default


20 บทเรียนรู้ทัน "ภัยพิบัติ" ในญี่ปุ่น สู้ "น้ำท่วม" ในประเทศไทย


นับแต่มหันภัยสึนามิ และแผ่นดินไหวถาโถมประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก็มีข้อมูล และรูปแบบการเรียนการสอนเกี่ยวกับภัยพิบัติดังกล่าวออกมานับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นในรูปบทความ บทเรียนมีชีวิตที่สามารถโต้ตอบได้ รวมถึง การรู้บทเรียนจากอดีต และชุดประมวลวิดีโอ และรูปภาพ

บทเรียนเหล่านี้ต่างมีคุณค่า ทั้งในแง่การเฝ้าระวังเพื่อตระเตรียมความพร้อมในการอยู่ร่วมทั้งก่อน และหลังภัยพิบัติ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอด 20 บทเรียนน่ารู้ ที่ได้รับประมวลผ่านเว็บไซต์นิวยอร์กไทม์ ซึ่งมีเครือข่ายการศึกษา "The Learning Network" เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยการประมวลของ SARAH KAVANAGH และ HOLLY EPSTEIN OJALVO ที่ได้รวบรวมเทคนิค และแนวคิดการสอนจากครูทั่วโลก ที่ต่างคิดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัยพิบัติไว้ทั้ง 20 รูปแบบ ดังนี้


1.รู้ทันภัยพิบัติ

เพื่อที่จะปูพื้นฐานความเข้าใจให้นักเรียน จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ว่า เกิดอะไรขึ้นบ้างในญี่ปุ่น ผ่านเรื่องเล่าด้วยคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นภาพเหตุการณ์ตอนเกิดแผ่นดินไหว และสึนามิในญี่ปุ่น โดยเฉพาะภาพก่อน และหลังการเกิดเหตุการณ์ เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานให้นักเรียนถึงความสูญเสีย ซึ่งการเรียนในชั้นเรียนสามารถเชื่อมไปสู่มหันตภัยธรรมชาติในรูปแบบอื่นๆ ด้วยได้


2.เกาะติดสถานการณ์

การติดตามข่าวสารเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ โดยเฉพาะการสร้างบทเรียนในห้องเรียนให้เชื่อมโยงต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการกระตุ้นให้นักเรียนค้นหาข้อมูลข่าวสารจากนอกห้อง เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนในห้องเรียน


3.ตามติดรูปแบบภัยพิบัติอย่างใกล้ชิด

เริ่มตั้งแต่การเรียนรู้ว่าศูนย์กลางของการเกิดแผนดินไหวอยู่ที่ใด และญี่ปุ่นมีพื้นที่ใดที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ กระทั่งหมู่บ้าน และเมืองใดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ด้วยการสำรวจที่สามารถโต้ตอบได้ (Interactive map) เพื่อที่จะได้วิเคราะห์ และประเมินความเสียหายได้หลายหลากมุมมอง รวมไปถึงการเสียหายทางโครงสร้าง และยอดผู้เสียชีวิต ด้วยการใส่ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ไว้เชื่อมโยงกับแผนที่ทวีปเอเชีย และแผนที่โลก


4.สวมบทบาทเป็นหนึ่งในผู้ประสบภัยพิบัติ

หนึ่งในวิธีทำให้นักเรียนเข้าใจสถานการณ์ภัยพิบัติมากขึ้นก็คือ การแลกเปลี่ยนจากประสบการณ์ส่วนตัว โดยอาจจะให้นักเรียนเขียนจดหมาย หรือโปสการ์ด โดยสวมบทบาทเป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิต ให้เล่าเรื่องภัยพิบัติที่นักเรียนแต่ละคนได้อ่าน หรือได้ค้นคว้าข้อมูล ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น


5.ใช้รูปภาพเป็นสื่อการเรียนรู้

ใช้รูปภาพก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการในการถ่ายทอดการเรียนรู้ เพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจในภัยพิบัติดียิ่งขึ้น ด้วยการให้นักเรียนเล่าเรื่องผ่านภาพถ่าย


6.คิดวิเคราะห์ผ่านข้อมูลที่ถูกบอกเล่า

ความท้าทาย และความอันตรายที่นักข่าวต้องเผชิญในการประมวลผล เพื่อรายงานสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นคืออะไรบ้าง และประชาชนทั่วไปจะสามารถร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์ และร่วมเล่าเรื่องได้อย่างไร นักเรียนสามารถร่วมแลกเปลี่ยน และวิเคราะห์เนื้อหาข้อเท็จจริง ผ่านการรายงาน และรูปถ่ายได้ โดยนักเรียนสามารถเปรียบเทียบข้อมูลที่เหมือน และต่าง ผ่านการรายงานของนักข่าวแต่ละที่ได้รายงานในมุมมองของผู้อ่าน ซึ่งส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเปลี่ยนสถานะเป็น "ผู้สื่อข่าวจิ๋ว" เพื่อรายงานสถานการณ์ในพื้นที่ให้กับผู้อ่านในโรงเรียนได้อีกด้วย


7.ผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

นักเรียนสามารถผนวกเหตุการณ์สึนามิ และแผ่นดินไหวในปี 2011 ไว้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ซึ่งสามารถจะรวบรวมไว้ในเหตุการณ์สำคัญๆ อื่น เช่น เหตุการณ์ระเบิดในฮิโรชิม่า และนางาซากิ หรือผลกระทบในปัจจุบันที่มีผลพวงจากเหตุการณ์ในอดีต ไปพร้อมๆ กับการสอดแทรกสาเหตุของภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ และธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหวที่่โกเบ ในปี 1995 ซึ่งประโยชน์ของการเรียงลำดับเหตุการณ์ตามช่วงเวลานั้น นอกจากจะทำให้สามารถจัดลำดับบทความ รูปภาพ รูปถ่ายได้แล้ว ยังสามารถทำให้เราเรียนรู้รูปแบบการฟื้้นฟูประเทศของญี่ปุ่นได้อย่างไรด้วย


8.หวนรำลึกถึงวิกฤตปฏิกรณ์นิวเคลียร์

เปรียบเทียบการรั่วไหลของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในปัจจุบันและอดีต ด้วยการวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่เกิดจากการรั่วไหลของเตาปฏิมากรณ์ที่ฟุคุชิมากับที่อื่นๆ ว่ามีความเหมือน และแตกต่างกันอย่างไร แล้วนักเรียนจะสามารถเรียนรู้อะไรจากอุบัติเหตุดังกล่าวร่วมกันได้บ้าง


9.จำลองรูปแบบชีวิตหลังประสบภัยพิบัติ

ลองจินตนาการถึงชีวิตหลังจากเกิดภัยพิบัติว่า จะเอาชีวิตรอดได้อย่างไร ในห้องเรียนอาจร่วมกันแลกเปลี่ยน และให้กำลังใจ ร่วมกันคิดว่าจะต้องทำตัวอย่างไรเพื่อที่จะกลับไปยังพื้นที่อยู่อาศัยบ้านเรือนหลังจากภัยพิบัติ


10.วางแผนรูปแบบการช่วยเหลือเยียวยา

ให้นักเรียนร่วมกันคิดว่า เราจะช่วยเหลือกันและกันได้อย่างไร และอะไรเป็นความช่วยเหลือเร่งด่วน การร่วมกันค้นหาหน่วยงานช่วยเหลือฉุกเฉิน เพื่อเข้าถึงบริการท่ามกลางภาวะภัยพิบัติเหมือนที่เกิดในญี่ปุ่น และทั่วโลก โดยนักเรียนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งได้ ด้วยการเลือกองค์กรช่วยเหลือสักหนึ่งแห่ง และเป็นตัวตั้งตัวตีในการระดมทุนช่วยเหลือ หรือการสร้างโปรเจ็กต์เรียนรู้ด้านการบริการงานเพื่อบรรเทาภัยพิบัติในญี่ปุ่น เป็นต้น


ส่วนอีก 10 บทเรียนที่เหลือนั้น ก็ประกอบด้วย

11.การถกเถียงกันถึงเรื่องคุณประโยชน์และโทษในพลังงานนิวเคลียร์ เรียนรู้การหลอมละลายของพลังงานนิวเคลียร์

12.เรียนรู้การเกิดแผ่นดินไหว

13.เรียนรู้มหันตภัยสึนามิ

14.เรียนรู้ประวัติศาสตร์การเกิดแผ่นดินไหว และสึนามิ

15.ผลสะท้อนจากการเตรียมความพร้อมท่ามกลางภัยพิบัติ

16.วิเคราะห์ถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ

17.สำรวจคำศัพท์ใหม่จากภัยพิบัติ

18.เชื่อมโยงการใช้ชีวิตกับวรรณกรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวภัยพิบัติ

19.ศิลปะ..หนึ่งพลังในการเยียวยาจิตใจหลังภัยพิบัติ

และ 20.การเยียวยาจิตใจหลังภัยพิบัติ


บทเรียนจากตำราที่ถูกประมวลจากเครือข่ายการศึกษา สะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ร่วมกันของสังคมทั่วทุกมุมโลกเพื่อจะก้าวผ่านพ้นวิกฤตไปด้วยกัน สร้างให้เกิดพลังแรงกระตุ้นให้เกิด "การเรียนรู้ตลอดชีวิต" ได้อย่างแท้จริง




จาก ...................... มติชน วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม