#1
|
||||
|
||||
ประวัติและผลงานของสมาชิก www.Save Our Sea.net
หลักการและเหตุผล มีผู้กล่าวว่า บรรพบุรุษของเรามีความรู้เรื่องแผ่นดินมากกว่าผืนน้ำ จึงเรียกดาวเคราะห์ดวงนี้ว่า “เอิร์ธ” (Earth) ที่แปลว่า “แผ่นดิน” แต่ถ้าบรรพบุรุษของเราทราบว่าพื้นที่ประมาณสามในสี่ของโลกเป็นน้ำ โลกนี้ก็อาจจะได้ชื่อว่า “มหาสมุทร” (Ocean) ชีวิตทุกชีวิตเริ่มต้นในน้ำ ก่อนที่บางชนิดจะมีวิวัฒนาการปรับตัวเองขึ้นมาอาศัยอยู่บนแผ่นดิน มนุษย์ก็เฉกเช่นเดียวกัน เมื่อหลายๆล้านปีก่อน....จุดกำเนิดของชีวิตมนุษย์ก็เกิดขึ้นในน้ำ นั่นอาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่มนุษย์มีใจผูกพันกับน้ำ....ชอบอาศัยและหากินอยู่กับน้ำ....และรักน้ำ....โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งน้ำที่เรียกว่า “ทะเล” ทะเลกว้างใหญ่ไพศาล......แต่ใช่ว่าทะเลทุกแห่งจะอุดมสมบูรณ์เหมือนๆกันหมด มีทะเลเพียงบางแห่งเท่านั้นที่ยังสมบูรณ์......แต่มีทะเลมากแห่งที่ถูกทำลายและกำลังจะถูกทำลาย... จากทั้งน้ำมือมนุษย์และจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ ถ้ามนุษย์ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างที่เคยเป็นมา ชั่วนาตาปีแล้ว......ทะเลที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ก็จะเป็นเพียงตำนานให้เราได้เล่าขานต่อๆไปยังอนุชนรุ่นหลังๆได้ฟังกัน เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2546 นักดำน้ำที่มีความรักทะเลเป็นชีวิตจิตใจกลุ่มหนึ่ง ซึ่งติดต่อพูดคุยกันอยู่ในห้อง Blue Planet ของ www.pantip.com ได้รวมตัวกันเพื่อสร้าง “บ้าน” ขึ้นมาหลังหนึ่งเพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมสังสรรค์...พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับทะเลที่เขาและเธอรัก และเพื่อสร้างแนวร่วมในการระแวดระวังภัย ตลอดจนการแสวงหาแนวทางที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขภัย ที่จะเกิดขึ้นกับทะเลอันเนื่องมาจากน้ำมือของมนุษย์.......เท่าที่เขาและเธอจะสามารถช่วยได้ เพื่อให้ทะเลคงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานไทยในอนาคต วัตถุประสงค์ จากกลุ่มนักดำน้ำเล็กๆเพียงไม่กี่คน แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นและปณิธานที่แรงกล้า นักดำน้ำกลุ่มนี้จึงได้ร่วมกันเปิดบ้าน www.SaveOurSea.net หรือ SOS ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้คือ 1. เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจ อีกทั้งตระหนักถึงคุณค่าของทะเลโดยผ่านกระดานข่าวของ SOS การจัดทำสื่อรณรงค์ อาทิ โปสเตอร์ นิทรรศการ เอกสาร และสิ่งพิมพ์ และการให้ความรู้ด้วยวาจาผ่านไปทางญาติสนิทมิตรสหาย 2. เพื่อรณรงค์ให้เกิด แนวร่วม ที่พร้อมจะให้ความร่วมมือและขยายกิจกรรมในการอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลให้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3. เพื่อจะให้ SOS เป็น ส่วนหนึ่งของ “เครือข่าย” ซึ่งจะเป็นจุดรวมของทั้งภาคเอกชน หน่วยงานของรัฐ และนักวิชาการ ในการร่วมสร้างสายใยและจิตสำนึกแห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลให้เกิดขึ้นกับผู้คน ทั้งที่เป็นนักดำน้ำและไม่ใช่นักดำน้ำ อนุชนคนรุ่นเยาว์ และประชาชนทั่วไป 4. เพื่อให้สมาชิกของ SOS ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ทะเลไทย ทั้งในส่วนที่ SOS ได้จัดขึ้นเอง และร่วมกิจกรรมที่หน่วยงานอื่นๆได้จัดขึ้น 5. ให้ความรู้ด้านเทคนิคและวิชาการเกี่ยวกับการดำน้ำ ซึ่งจะทำให้การดำน้ำเป็นกีฬาที่มีความปลอดภัย นักดำน้ำมีความสุขและสนุกสนานในการดำน้ำเพิ่มมากขึ้น 6. สมาชิก SOS ได้มีส่วนร่วมบำเพ็ญสาธารณกุศลอื่นๆ ตามแต่โอกาสจะอำนวย ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้สังคมไทย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 02-06-2014 เมื่อ 21:38 |
#2
|
||||
|
||||
กิจกรรมและผลงาน 1. ดำเนินกิจกรรม “โครงการสำรวจเรือคราม” อดีตเรือรบหลวงของไทย ที่ถูกนำไปวางลงที่พื้นทะเลบริเวณเกาะไผ่ เมืองพัทยาโดยมีตัวแทนของ SOS บริษัทพาโนราม่า กองทัพเรือ และเมืองพัทยา ร่วมมือกันปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 8-9 มีนาคม 2546 ผลการสำรวจได้จัดทำเป็นรายงานเสนอต่อสมาชิก และผู้อ่านกระดานข่าวของ SOS และเสนอต่อกองทัพเรือเพื่อทราบ (จำนวนผู้ร่วมดำเนินงาน 12 คน) 2. ร่วมกิจกรรม "โครงการปลูกปะการังฯ ของชมรมดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ สพ.ทร.” เมื่อวันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2546 (จำนวนผู้ร่วมงานในส่วนของ SOS 15 คน) 3. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะในทะเลครั้งที่ 1 บริเวณเกาะล้าน และเกาะสาก” เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2546 (จำนวนผู้ร่วมงาน 20 คน) 4. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือคืนสู่ธรรมชาติ ครั้งที่ 1" เมื่อวันที่ 28 - 29 มิถุนายน 2546ซึ่งนอกจากปล่อยหอยมือเสือแล้ว สมาชิกยังได้ดำเนินการเก็บขยะใต้ทะเล และตัดอวนที่บริเวณเกาะง่ามน้อย หินหลักง่าม เกาะร้านเป็ด และเกาะร้านไก่ โดยมี ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้จัดหาหอยมือเสือ 1,000 ตัว และชุมพรคาบาน่า อนุเคราะห์ที่พักและเรือในราคาพิเศษ และส่งทีมงานเข้าร่วมงานด้วย (จำนวนผู้ร่วมกิจกรรม 35 คน) 5. เข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง "การฟื้นฟูแนวปะการัง" จัดโดย อาจารย์ ดร. สุรพล สุดารา ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อ 13 มิถุนายน 2546 (ผู้เข้าร่วมสัมมนาจาก SOS 3 คน) 6. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะในทะเลครั้งที่ 2 บริเวณเกาะล้าน และเกาะสาก" เพื่อเป็นการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม 2546 (ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 42 คน) 7. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือคืนสู่ธรรมชาติ ครั้งที่ 2" เมื่อวันที่ 6 - 7 กันยายน 2546 ที่หินแพ อุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะชุมพร ซึ่งนอกจากปล่อยหอยมือเสือแล้ว สมาชิกยังได้ดำเนินการสำรวจและตรวจนับหอยมือเสือที่นำไปปล่อยไว้ครั้งแรก เก็บขยะใต้ทะเล และตัดอวนที่บริเวณเกาะง่ามน้อย เกาะร้านเป็ด และเกาะร้านไก่ โดยมี ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้จัดหาหอยมือเสือ 300 ตัว และชุมพรคาบาน่า อนุเคราะห์ที่พักและเรือในราคาพิเศษ และส่งทีมงานเข้าร่วมงานด้วย (จำนวนผู้ร่วมกิจกรรม 34 คน) 8. ร่วมแสดงภาพชีวิตสัตว์ทะเลในรูปของโปสเตอร์และภาพวิดิทัศน์ในงานแถลงข่าว "โครงการร่วมรักษ์ทะเลไทย" จัดโดย ททท. มูลนิธิพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว และ www.talaythai.com เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2546 ที่ลานเอนกประสงค์ โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล๊กซ์ 9. ดำเนิน " โครงการ SOS แต้มยิ้ม ครั้งที่ 1" ซึ่งใช้ชื่อกิจกรรมว่า"โครงการพาน้องหนูไปดูนีโม"โดยการพาเด็กนักเรียน โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก กาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในความดูแลของมูลนิเด็ก จำนวน 26 คน และครูผู้ดูแล 5 คน เข้าชมภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Finding Nemo ที่โรงภาพยนตร์ EGV เซ็นทรัลปิ่นเกล้า พร้อมกับเลี้ยงอาหารกลางวัน บริจาคทุนอาหารกลางวัน 10,000.- บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) อุปกรณ์การเรียน การกีฬา ขนมและเคื่องดื่มให้กับนักเรียน โดยจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2546 10.ดำเนิน "โครงการ SOS แต้มยิ้ม ครั้งที่ 2" ซึ่งใช้ชื่อกิจกรรมว่า "โครงการบ้านอุ่นรัก" โดยการนำอุปกรณ์การเรียน การกีฬา เครื่องอุปโภคบริโภค เสื้อผ้า และเงินสด ไปบริจาคให้กับ "บ้านอุ่นรัก" ซึ่งเป็นบ้านเด็กกำพร้า ที่อำเภอสังขละบุรี จ. กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 8 - 9 พฤศจิกายน 2546 11. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะในทะเลครั้งที่ 3" บริเวณเกาะริ้น เพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยขน์เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถมีพระชนมพรรษา 72 ปี ที่ชาวไทยจะร่วมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน กันตลอดทั้งปี และเพื่อให้สมาชิก SOS ได้มีโอกาสร่วมพบปะสังสรรค์อันจะเป็นการเพิ่มพูนความรักความสามัคคีในมวลหมู่สมาชิกได้อีกทางหนึ่ง วันดำเนินการ คือ วันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2547 (จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 32 คน) 12. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือคืนสู่ธรรมชาติ ครั้งที่ 3" เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2547 ณ บริเวณอุทยานใต้ทะเลเฉลิมพระเกียรติฯ หน้าเกาะไผ่ พัทยา โดยทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง เป็นผู้จัดหอยมือเสือสายพันธุ์อ่าวไทยมาปล่อยจำนวน 1,000 ตัว และส่งทีมงานเข้าร่วมปฏิบัติงานด้วย (จำนวนผู้ร่วมกิจกรรม 48 คน) 13. ร่วมดำเนินโครงการปล่อยหอยมือเสือ ในงาน "เปิดโลกทะเลชุมพร 47 " หอยที่ปล่อยมีจำนวน 720 ตัว ดำเนินการปล่อยบริเวณหมู่เกาะง่ามใหญ่ ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 (ผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมด 20 คน) 14. ดำเนินการออกบูธแสดงผลงานและนิทรรศการภาพถ่ายฝีมือสมาชิก ในงาน "Thailand Travel Expo & Thailand Dive Expo 2004" โดยได้รับการสนับสนุนพื้นที่การออกบูธจาก NCC Management and Development ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (โดยคุณพิธาน ผลนิวาศ แห่ง Wahoo Diving เป็นผู้ติดต่อและประสานงาน) และ บริษัท Epson (Thailand) เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดตกแต่งบูธและพิมพ์ภาพที่ใช้ในการแสดงนิทรรศการและการถ่ายภาพให้ผู้เข้าชมงาน (คุณ ประสิทธิ์ จันเสรีกร แห่ง Thailand Scuba Diver เป็นผู้ติดต่อและประสานงาน) ในระหว่างวันที่ 6 -9 พฤษภาคม 2547 15. ดำเนินการ "โครงการตรวจเยี่ยมหอยมือเสือและสำรวจพื้นที่ปล่อยหอยมือเสือ" บริเวณเกาะไผ่ พัทยา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2547 (ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 14 คน) 16. ร่วมกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือและกุ้งทะเล" ที่จัดโดยอุทยานแห่งชาติหาดวนกร และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ จำนวนหอยที่ปล่อยทั้งหมด 500 ตัว และกุ้งจำนวน 200,000 ตัว งานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 (ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปล่อยหอย ฯ ในนาม SOS มีจำนวน16 คน) 17. ร่วมกิจกรรม "โครงการเก็บขยะใต้ทะเล อุทยานแห่งชาติหาดวนกร ประจวบคีรีขันธ์" บริเวณเกาะจาน อ. ทับสะแก จ. ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อร่วมถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวาระครบ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ เมื่อวันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2547 (ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯในนามของ SOSมีจำนวน10 คน) 18.ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือคืนสู่ธรรมชาติ ครั้งที่ 4" เมื่อวันที่ 4 - 5 กันยายน 2547 ที่เกาะง่ามใหญ่ อุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะชุมพร ซึ่งนอกจากปล่อยหอยมือเสือแล้ว สมาชิกยังได้ดำเนินการสำรวจและตรวจนับหอยมือเสือที่นำไปปล่อยไว้ที่เกาะง่ามน้อย เก็บขยะใต้ทะเล และตัดอวนที่บริเวณเกาะง่ามน้อย และ หินหลักง่าม โดยมี ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้จัดหาหอยมือเสือ 1,000 ตัว และชุมพรคาบาน่า อนุเคราะห์ที่พักและเรือในราคาพิเศษ และส่งทีมงานเข้าร่วมงานด้วย (จำนวนผู้ร่วมกิจกรรม 30 คน) 19. ดำเนินกิจกรรม "โครงการค่ายเยาวชนรักษ์ทะเล ครั้งที่ 1" ที่อุทยานแห่งชาติหาดวนกร ประจวบคีรีขันธ์ ในระหว่างวันที่ 24-26 กันยายน 2547 เพื่อให้เยาวชนได้เข้าร่วมกิจกรรมนอกสถานที่ โดยเฉพาะทางทะเล อันจะปลูกฝังความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ทางทะเล เพื่อให้เกิดความรู้สึกรักและดูแลรักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยจัดให้กับเด็กด้อยโอกาสจากโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 15 คน และบุตรเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดวนกรอีก 7 คน เพื่อให้เยาวชนได้เข้าร่วมกิจกรรมนอกสถานที่ โดยเฉพาะทางทะเล อันจะเป็นการปลูกฝังความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ทางทะเล เพื่อให้เกิดความรู้สึกรักและพร้อมจะดูแลรักษาทะเลและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม (รวมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมด 50 คน) 20. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือคืนสู่ธรรมชาติ ครั้งที่ 5" เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2547 ณ บริเวณอุทยานใต้ทะเลเฉลิมพระเกียรติฯ หน้าเกาะไผ่ พัทยา โดยทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง เป็นผู้จัดหอยมือเสือสายพันธุ์อ่าวไทยมาปล่อยจำนวน 1,000 ตัว และส่งทีมงานเข้าร่วมปฏิบัติงานด้วย (จำนวนผู้ร่วมกิจกรรม 23 คน) 21. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือคืนสู่ธรรมชาติ ครั้งที่ 6" เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2547 ณ บริเวณอุทยานใต้ทะเลเฉลิมพระเกียรติฯ หน้าเกาะไผ่ พัทยา โดยทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง เป็นผู้จัดหอยมือเสือสายพันธุ์อ่าวไทยมาปล่อยจำนวน 2,000 ตัว และส่งทีมงานเข้าร่วมปฏิบัติงานด้วย (จำนวนผู้ร่วมกิจกรรม 43 คน) 22. ดำเนินกิจกรรม "โครงการธารน้ำใจสู่ผู้ประสบภัยสึนามิ" เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2547 เริ่มประกาศขอรับบริจาคเงินเพื่อบริจาคให้ผู้ประสบภัยสึนามิ และรวบรวมเงินบริจาคจากสมาชิก SOS ได้เป็นจำนวนเงิน35,200.- บาท โดยส่งผ่านมูลนิธิราชประชานุเคราะห์เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 23. เข้าร่วมงานกับกลุ่มนักดำน้ำอาสาสมัครทั้งชาวไทยและต่างชาติที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ภูเก็ต กระบี่ พังงาและที่อื่นๆ ทำการสำรวจความเสียหายของแนวปะการังอันเนื่องมาจากเหตุการณ์สึนามิที่บริเวณเกาะราชาน้อย เกาะราชาใหญ่ และหมู่เกาะสิมิลัน และทำกิจกรรมต่อเนื่องซึ่งได้แก่การพลิกฟื้นคืนชีวิตให้กับปะการังและกัลปังหา รวมทั้งการเก็บขยะที่เป็นผลเนื่องจากสึนามิที่บริเวณหมู่เกาะสิมิลัน โดยมีนักวิชาการด้านชีววิทยาทางทะเลจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นพี่เลี้ยงและดูแลควบคุมให้เป็นไปตามหลักวิชาการ การปฏิบัติงานต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2548 จนถึงปัจจุบัน 24. ดำเนินกิจกรรม "โครงการพาน้องน้อยหอยมือเสือลงทะเลอันดามัน" ที่บริเวณเกาะต่างๆในเขตจังหวัดกระบี่ และพังงา เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2548 โดยทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง เป็นผู้จัดหอยมือเสือสายพันธุ์อันดามันมาปล่อยจำนวน 50 ตัว และส่งทีมงานเข้าร่วมปฏิบัติงานด้วย (จำนวนผู้ร่วมกิจกรรม 5 คน) 25. เข้าร่วมกิจกรรม "ค่ายเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" ที่จัดให้มีขึ้นโดย อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ไปพร้อมๆกับการเล่นเกมส์ที่สนุกสนาน มีเยาวชนระดับชั้นมัธยมปลายทั้งชาย - หญิง จากโรงเรียนในจังหวัดกระบี่ 3 แห่งจำนวนรวม 40 คน มาร่วมเข้าค่าย และ SOS ส่งตัวแทน 5 คน ไปร่วมเป็นพี่เลี้ยง และวิทยากร
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 18-01-2016 เมื่อ 21:02 |
#3
|
||||
|
||||
กิจกรรมและผลงาน (ต่อ) 26. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือคืนสู่ธรรมชาติ ครั้งที่ 7 " เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2548 ณ บริเวณอุทยานใต้ทะเลเฉลิมพระเกียรติฯ หน้าเกาะไผ่ พัทยา โดยทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง เป็นผู้จัดหอยมือเสือสายพันธุ์อ่าวไทยมาปล่อยจำนวน 1,000 ตัว และส่งทีมงานเข้าร่วมปฏิบัติงานด้วย (จำนวนผู้ร่วมกิจกรรม 42 คน) 27. ศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนที่ "ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวมหาชัย" โดยการนำของหัวหน้าศูนย์ฯ ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2548 เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการศึกษาและจัดทำโครงการปลูกป่าชายเลนของ SOS ต่อไปในอนาคต (ผู้ร่วมกิจกรรมในส่วนของ SOS จำนวน 3 คน) 28. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือ เก็บขยะ และตัดอวน ที่จังหวัดชุมพร" ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อทะล เมื่อวันที่ 10-11 กันยายน 2548 โดยทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง เป็นผู้จัดหอยมือเสือสายพันธุ์อ่าวไทยมาปล่อยจำนวน 500 ตัว และ เรือโชคศุลี คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ รวมทั้งส่งเจ้าที่ร่วมปฏิบัติงานพร้อมอาสาสมัครนักดำน้ำอีก 15 คน 29. ร่วมกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์ปลาการ์ตูนสู่แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล" ที่บริเวณเกาะลันตาและเกาะห้าใหญ่ ซึ่งจัดโดยสมาคมพลังสตรีศรีสยาม ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝํง กระบี่ กรมประมง และจังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2548 (ผู้ร่วมกิจกรรมในส่วนของ SOS จำนวน 5 คน) 30. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือ เก็บขยะ และตัดอวน ในทะเลอันดามัน ครั้งที่ 1" เมื่อวันที่ 11 - 16 มกราคม 2549 โดยได้รับหอยมือเสือสายพันธุ์อันดามัน 200 ตัวที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝํง ประจวบคีรีขันธ์ เพาะพันธุ์และส่งไปอนุบาลที่สถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน ภูเก็ต เพื่อนำไปปล่อยที่อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ และดำเนินการเก็บขยะและตัดอวน ซึ่งเรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ทั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยฯ ภูเก็ต เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยฯ ประจวบคีรีขันธ์ เจ้าที่อุทยานแห่งชาติฯ และเจ้าหน้าที่เรือโชคศุลีได้เข้าร่วมปฏิบัติงานพร้อมอาสาสมัครนักดำน้ำของ SOS อีก 15 คน 31. ดำเนินกิจกรรม "โครงการสำรวจตรวจเยี่ยมหอยมือเสือ เก็บขยะ ตัดอวน เกาะไผ่ พัทยา" เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 ในการดำเนินการ มีการติดป้ายหมายเลขหอยฯเพื่อศึกษาเรื่องการเจริญเติบโตจำนวน 130 ตัว มีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการ 25 คน 32. ดำเนินกิจกรรม "โครงการกู้ชีวิตหอยมือเสือ ที่เกาะไผ่ พัทยา" เมื่อวันที่ 18-19 มีนาคม 2549 ได้มีการย้ายหอยฯที่ใกล้จะจมทรายออกไปอยู่ในแนวเขตปะการัง และย้ายหอยที่อยู่ติดกันมากเกินไป หรืออยู่ในสถานที่เสี่ยงไปอยู่ในที่ปลอดภัย มีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการ 15 คน 33. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยปลาการ์ตูน / ม้าน้ำ และปลูกป่าชายเลน ที่ จ.กระบี่" เมื่อวันที่ 22 - 23 เมษายน 2549 โดยได้ปล่อยปลาการ์ตูน 200 ตัว และม้าน้ำ 20 ตัว ซึ่งได้รับการเพาะพันธุ์จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และปลูกกล้าไม้โกงกางจำนวน 1,600 ต้น ที่เพาะพันธุ์โดย สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 27 (ท่าแดง กระบี่) มีสมาชิก SOS อาสาสมัครนานาชาติ และเจ้าหน้าที่ของทั้งสองหน่วยราชการเข้าร่วมโครงการรวม 40 คน 34. ดำเนินกิจกรรม "โครงการสำรวจตรวจเยี่ยมหอยมือเสือ เก็บขยะ และตัดอวนที่เกาะไผ่ พัทยา" เมื่อวันเสาร์ที่ 3 เดือนมิถุนายน 2549 ในการดำเนินการ มีการติดป้ายหมายเลขหอยฯเพื่อศึกษาเรื่องการเจริญเติบโตจำนวน 100 ตัว โดยเปลี่ยนหมายเลขที่ติดไว้เมื่อเดือนมีนาคม 2549 ทั้งหมด ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการ 22 คน 35. ดำเนินกิจกรรม "โครงการทัศนศึกษาป่าชายเลนและปลูกป่าชายเลน ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี" ณ. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวมหาชัย สถานีวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 5 จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน 2549 ในการนี้ ได้ดำเนินการปลูกต้นลำพู จำนวน 99 ต้น โดยมีสมาชิก SOS พร้อมครอบครัว พี่น้อง เพือนฝูง และนักศึกษา ม.ส.ธ.จาก จ.นครปฐม รวม 40 คน เข้าร่วมโครงการ 36. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน / ปล่อยหอยมือเสือ ณ. บริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะชุมพร และเกาะร้านเป็ด - ร้านไก่" เมื่อวันที่ 5 – 6 สิงหาคม 2549 ในการนี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง เป็นผู้จัดหอยมือเสือสายพันธุ์อ่าวไทยจำนวนหนึ่งเพื่อนำมาปล่อย สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ 2 (ชุมพร) ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร) สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีประมงทะเล สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลภาคใต้ตอนบน จังหวัดชุมพร กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ส่งเจ้าหน้าที่และเรือเร็วมาร่วมปฏิบัติงานกับสมาชิก SOS จำนวน 24 คน 37. ดำเนินกิจกรรม "โครงการสำรวจตรวจเยี่ยมหอยมือเสือ เก็บขยะ และตัดอวนที่เกาะไผ่ พัทยา" เมื่อวันเสาร์ที่ 28 เดือนตุลาคม 2549 ในการดำเนินการ มีการติดป้ายหมายเลขหอยฯเพื่อศึกษาเรื่องการเจริญเติบโตจำนวน 100 ตัว โดยเปลี่ยนหมายเลขที่ติดไว้เมื่อเดือนมิถุนายน 2549 ทั้งหมด ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการ 14 คน และเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งอีก 3 คน 38. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยปลาการ์ตูน / ปลาหูช้าง และปลูกป่าชายเลน ที่ กระบี่ ครั้งที่ 2" เมื่อวันที่ 3 - 5 ธันวาคม 2549 โดยได้ปล่อยปลาการ์ตูน 200 ตัว และปลาหูช้าง 100 ตัว ซึ่งได้รับการเพาะพันธุ์จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และปลูกกล้าไม้ชายเลนจำนวน 2,652 ต้น ที่เพาะพันธุ์โดยชาวบ้านหมู่ที่2 ต. ปกาสัย อ. เหนือคลอง จ. กระบี่ มีสมาชิก SOS อาสาสมัครนานาชาติ และชาวบ้านเข้าร่วมโครงการรวม 40 คน 39. ดำเนินกิจกรรม "โครงการสำรวจตรวจเยี่ยมหอยมือเสือ เก็บขยะ และตัดอวนที่เกาะไผ่ พัทยา" เมื่อวันเสาร์ที่ 20 เดือนมกราคม 2550 ในการดำเนินการสำรวจและวัดขนาดหอยมือเสือที่มีการติดป้ายหมายเลขหอยฯเพื่อศึกษาเรื่องการเจริญเติบโตจำนวน 100 ตัว ที่ติดไว้เมื่อเดือนตุลาคม 2549 และทำการย้ายหอยมือเสือที่กำลังจะจมทรายหรือถูกปะการังปกคลุม ไปอยู่ในที่ที่มั่นคงและปลอดภัย ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการ 16 คน 40. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อปกปักรักษาแผ่นดิน" เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2550 โดยทาง ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวมหาชัย สถานีวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 5 จังหวัดสมุทรสาคร , น้องแหม่ม, น้องแป๊ะ และเจ้าหน้าที่ของสถานีวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 5 ได้จัดหากล้าไม้โกงกางจำนวน 1,000 ต้น มาให้สมาชิก SOS และญาติมิตรรวม 40 คนทำการปลูกที่บ้านโคกขาม ตำบลพันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีผู้ใหญ่สมชาย ดวงล้อมจันทร์ แกนนำอนุรักษ์ฟื้นฟูชายฝั่งโคกขาม-พันท้าย และครอบครัว รวมทั้งอาจารย์ประสาน เอี่ยมวิจารณ์ จากโรงเรียนพันท้ายนรสิงห์ มาให้ความรู้และประสานงานอำนวย
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 18-01-2016 เมื่อ 21:08 |
#4
|
||||
|
||||
กิจกรรมและผลงาน (ต่อ) 41. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือ เก็บขยะ และตัดอวน ในทะเลอันดามัน ครั้งที่ 2" เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ถึง 2 เมษายน 2550 โดยได้รับหอยมือเสือสายพันธุ์อันดามัน 200 ตัวที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝํง ประจวบคีรีขันธ์ เพาะพันธุ์และส่งไปอนุบาลที่สถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน ภูเก็ต เพื่อนำไปปล่อยที่อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสิมิลัน ดำเนินการสำรวจตรวจเยี่ยมหอยมือเสือที่นำไปปล่อยที่หมู่เกาะสุรินทร์ และดำเนินการเก็บขยะ - ตัดอวน ซึ่งเรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ทั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยฯ ภูเก็ต เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยฯ ประจวบคีรีขันธ์ เจ้าที่อุทยานแห่งชาติฯ และเจ้าหน้าที่เรือโชคศุลีได้เข้าร่วมปฏิบัติงานพร้อมอาสาสมัครนักดำน้ำของ SOS อีก 23 คน 42. ดำเนินกิจกรรม "โครงการสำรวจตรวจเยี่ยมหอยมือเสือ เก็บขยะ และตัดอวนที่เกาะไผ่ พัทยา" เมื่อวันวันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม 2550 ในการดำเนินการสำรวจและวัดขนาดหอยมือเสือที่มีการติดป้ายหมายเลขหอยฯเพื่อศึกษาเรื่องการเจริญเติบโตจำนวน 100 ตัว ที่ติดไว้เมื่อเดือนตุลาคม 2549 และทำการย้ายหอยมือเสือที่กำลังจะจมทรายหรือถูกปะการังปกคลุม ไปอยู่ในที่ที่มั่นคงและปลอดภัย ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการ 22 คน 43. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะและ ตัดอวน ที่ เกาะเต่าและบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะชุมพร และเกาะร้านเป็ด - ร้านไก่" เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2550 ในการนี้ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ 2 (ชุมพร) และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร) สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีประมงทะเล สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ส่งเจ้าหน้าที่และเรือเร็วมาร่วมปฏิบัติงานกับสมาชิก SOS จำนวน 28 คน 44. ดำเนินกิจกรรม "โครงการสำรวจตรวจเยี่ยมหอยมือเสือ เก็บขยะ และตัดอวนที่เกาะไผ่ พัทยา" เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2550 ในการดำเนินการสำรวจและวัดขนาดหอยมือเสือที่มีการติดป้ายหมายเลขหอยฯเพื่อศึกษาเรื่องการเจริญเติบโตจำนวน 100 ตัว ที่ติดไว้เมื่อเดือนตุลาคม 2549 และทำการย้ายหอยมือเสือที่กำลังจะจมทรายหรือถูกปะการังปกคลุม ไปอยู่ในที่ที่มั่นคงและปลอดภัย นอกจากนี้ยังได้ตัดอวนที่คลุมอยู่บนยอดเสากระโดงเรือครามออกได้บางส่วน ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการ 16 คน 45. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ และตัดอวน บริเวณเรือครามและเกาะอื่นๆในพัทยา" เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2550 ในการนี้ได้ตัดอวนที่ยังหลงเหลืออยู่บนเสากระโดงเรือครามออกจนหมด และเนินการเก็บขยะที่บริเวณเกาะสากได้อีกเล็กน้อย ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการ 6 คน 46. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะและ ตัดอวน บริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะชุมพร เกาะร้านเป็ด เกาะร้านไก่ และกองหินสามเหลี่ยม" เมื่อวันที่ 27 – 31 กรกฎาคม 2550 โดย เรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี ได้เศษอวนเป็นจำนวนมาก ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 24 คน 47. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และทัศนศึกษาป่าชายเลน ณ จังหวัดกระบี่" เมื่อวันที่ 8 - 10 ธันวาคม 2550 โดยได้ปล่อยปลาหลายชนิดซึ่งได้รับการเพาะพันธุ์จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ รวมทั้งการพายเรือคะยักศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนที่ท่าเลน โดยมี ครูสุวัจน์ หาญณรงค์ แห่งอ่าวนางสคูบา เป็นผู้จัดหาเรือที่ใช้ดำน้ำทำงาน และติดต่อประสานงานในเรื่องต่างๆให้ ในการนี้มีสมาชิก SOS อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการรวม 26 คน 48. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และเก็บขยะ / ตัดอวน อันดามันใต้" ซึ่งดำเนินงานร่วมระหว่างwww.saveoursea.net และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2551 โดย เรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำประเภทปลารวม 1,000 ตัว และได้เศษขยะและเศษอวนพอประมาณ ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 23 คน 49. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือ / พันธุ์สัตว์น้ำ เก็บขยะ และตัดอวน ในทะเลอันดามัน ครั้งที่ 3" ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ ณ. อุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะสิมิลัน และ สุรินทร์ ระหว่างวันที่ 2 – 7 เมษายน 2551 โดย เรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำประเภทหอยมือเสือ 100 ตัว และปลาพันธุ์ต่างๆรวม 950 ตัว และได้เศษขยะและเศษอวนเพียงเล็กน้อย ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 20 คน เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก 15 คน 50. ดำเนินกิจกรรม "โครงการอบรมนักนิยมธรรมชาติเยาวชนรักษ์ทะเล" ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net และ ชมรมนักนิยมธรรมชาติ ที่บริเวณศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ อุทยานแห่งชาติทางทะเล หาดวนกร และสถานีฝึกนิสิตวนศาสตร์ห้วยยาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ. ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ ในการนี้มีนักเรียนจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และโรงเรียนอื่นๆในกรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา นนทบุรี และ เชียงราย ร่วมเข้าค่าย 40 คน มีวิทยากร และพี่เลี้ยง จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ SOS และจากชมรมนักนิยมธรรมชาติรวมแล้วกว่า 30 คน เข้าร่วมโครงการ 51. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะและ ตัดอวน บริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะชุมพร เกาะร้านเป็ด เกาะร้านไก่ และกองหินสามเหลี่ยม" เมื่อวันที่27 – 29 มิถุนายน 2551 โดย เรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี ได้เศษอวนเป็นจำนวนมาก ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 25 คน 52. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะและ ตัดอวน บริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะชุมพร" เมื่อวันที่25 – 27 กรกฎาคม 2551 โดย เรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี ได้เศษอวนพอสมควร ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 24 คน 53. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน ที่เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี" เมื่อวันที่ 11 – 14 กันยายน 2551โดย เรือโชคทวี (Scuba Tech) ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี ได้เศษอวนและขยะรวม 397.5 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 24 คน 54. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเยี่ยมหอยมือเสือ และ เก็บขยะ ณ. เกาะไผ่ และเกาะอื่นๆในอ่าวพัทยา" เมื่อวันเสาร์ที่ 18 – อาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2551โดยใช้เรือมารีน 1 การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี มีการย้ายหอยมือเสือที่กำลังจะจมทรายเข้าไปอยู่ในที่มั่นคงเขตแนวปะการัง และได้เศษอวนและขยะหนักประมาณ 50 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานในวันที่ 18 ตุลาคม จำนวน 22 คน และในวันที่ 19 ตุลาคม จำนวน 23 คน 55. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เก็บขยะ และปลูกป่าชายเลน ณ. จังหวัดกระบี่" เมื่อวันที่ 5 - 7 ธันวาคม 2551 โดยได้ปล่อยปลาาร์ตูน จำนวน 300 ตัว และม้าน้ำ จำนวน 100 ตัว ซึ่งได้รับการเพาะพันธุ์และอนุเคราะห์จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ รวมทั้งการปลูกกล้าไม้ชายเลนจำนวน 1,800 ต้น ที่เพาะพันธุ์โดยชาวบ้านหมู่ที่2 ต. ปกาสัย อ. เหนือคลอง จ. กระบี่ โดยมี ครูสุวัจน์ หาญณรงค์ แห่งอ่าวนางสคูบา เป็นผู้จัดหาเรือที่ใช้ดำน้ำทำงาน และติดต่อประสานงานในเรื่องต่างๆให้ ในการนี้มีสมาชิก SOS และครอบครัวอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการรวม 28 คน 56. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือ / พันธุ์สัตว์น้ำ เก็บขยะ และตัดอวน ในทะเลอันดามันเหนือ มกราคม 2552" ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง พังงา ณ. อุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะสิมิลัน และ สุรินทร์ ระหว่างวันที่ 23 – 28 มกราคม 2552 โดย เรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำประเภทหอยมือเสือ 100 ตัว และปลาพันธุ์ต่างๆรวม 665 ตัว และได้เศษขยะและเศษอวนจำนวน 74.8 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 21 คน เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก 10 คน 57. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เก็บขยะ และตัดอวน อันดามันใต้ มีนาคม 2552" ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net สถาบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ ในบริเวณหมู่เกาะพีพี หมู่เกาะห้า หินม่วง หินแดง หินแปดไมล์ เกาะประลัย และเกาะสาวัง ช่วงระหว่างวันที่ 4 – 9 มีนาคม 2552 โดย เรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี มีการปล่อยปลาพันธุ์ต่างๆรวม 450 ตัว และได้เศษขยะและเศษอวนใต้น้ำได้รวม 158.3 กก. และขยะบนบกน้ำหนักรวม 70 กก. ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 26 คน
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 18-01-2016 เมื่อ 21:14 |
#5
|
||||
|
||||
กิจกรรมและผลงาน (ต่อ) 58.ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ/ตัดอวน ที่ เกาะเต่า-ชุมพร เดือนพฤษภาคม 2552" เมื่อวันที่ 22 – 25 พฤษภาคม 2552 โดย เรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี ได้เศษอวนและขยะอื่นๆหนักประมาณ 358 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 27 คน 59.ดำเนินกิจกรรม "โครงการเยี่ยมหอยมือเสือ และ เก็บขยะ ณ. เกาะไผ่ และเกาะอื่นๆในอ่าวพัทยา" เมื่อวันเสาร์ที่ 20 – อาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2552 โดยใช้เรือมารีน 1 การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี มีการย้ายหอยมือเสือที่กำลังจะจมทรายเข้าไปอยู่ในที่มั่นคงเขตแนวปะการัง และได้เศษอวนและขยะหนักประมาณ 90 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานในวันที่ 20 มิถุนายน จำนวน 15 คน และในวันที่ 21 มิถุนายน จำนวน 10 คน 60.ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือ เก็บขยะและตัดอวน ที่ชุมพร กรกฎาคม 2552 " ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net และ ศูนย์วิจัยและพัาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 16 – 20กรกฎาคม 2552 โดย เรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี มีการปล่อยหอยมือเสือ 200 ตัว และได้เศษขยะและเศษอวนได้หนักประมาณ 520 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 22 คน และเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ อีก 2 คน รวมเป็น 24 คน 61. ดำเนินกิจกรรม โครงการทัศนศึกษาและปลูกป่าชายเลน คลองวาฬ ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่าง www.saveoursea.net และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 14 – 16 สิงหาคม 2552 ในการนี้ มีสมาชิก SOS และครอบครัวเข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 20 คน 62. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยหอยมือเสือ เก็บขยะและตัดอวน ที่พัทยา สิงหาคม 2552 " ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net และ ศูนย์วิจัยและพัาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 29 – 30สิงหาคม 2552 โดยมีทีมงานรายการ “เจาะใจ” มาร่วมทำงานและถ่ายทำรายการในวันแรกด้วย การเดินทางใช้เรือมารีน 1 เป็นพาหนะ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี มีการปล่อยหอยมือเสือ 500 ตัว และได้เศษขยะและเศษอวนได้หนักประมาณ 200 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 23 คน และเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ อีก 3 คน รวมเป็น 27 คน 63. ดำเนินกิจกรรม "โครงการ เก็บขยะ / ตัดอวน ที่ โลซิน" โดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET ในระหว่าง วันที่ 11 – 15 กันยายน 2552 ในการนี้ได้ใช้ เรือโชคศุลี ในการเดินทางไปทำงานโดยได้รับอนุเคราะห์ค่าเรือในราคาพิเศษ น้ำหนักขยะและอวนที่ตัดได้หนักประมาณ 2 ตัน จำนวนสมาชิกที่ได้ร่วมไปทำงานครั้งนี้มีจำนวน 27 คน 64. ดำเนินกิจกรรม “โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และปลูกไม้ชายเลน” ซึ่งเป็นกิจกรรมดำเนินงานร่วมโดยสมาชิก www.saveoursea.net ศูนย์วิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์น้ำเพชรบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ และชุมชนประมงแหลมผักเบี้ย ณ. บริเวณ แหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี ในวันศุกร์ที่ 18 กันยายน 2552 โดยมีการปล่อยลูกปูม้า 200,000 ตัว หอยแครง 1 ล้านตัว ปลูกป่าชายเลน 300 ต้น และทัศนศึกษาโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการนี้มีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการ 20 คน 65. สมาชิก SOS จำนวน 25 คน ได้ไปร่วมให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องการทำกิจกรรมของ SOS ในรายการ "เจาะใจ" ที่ห้องส่งของบริษัท JSL จำกัด ลาดพร้าวซอย 107 เมื่อวันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม 2552 เวลา 14.00 น. ซึ่งการสัมภาษณ์ได้ถูกนำไปตัดต่อและทำการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ททบ. ช่อง 5 ในวันพฤหีสบดีที่ 8 ตุลาคม 2552 เวลา 22.30 น. 66. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ/ปลูกป่าชายเลน และทัศนศึกษา จ.ตรัง" โดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และ เลตรังรีสอร์ท ณ. จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 9- 13 ธันวาคม 2552 โดยได้มีการปล่อยม้าน้ำจำนวน 110 ตัว ปลา Batfish 100 ตัว และปลาเฉี่ยว 199 ตัว รวม 409 ตัว ซึ่งได้รับการเพาะพันธุ์จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และปลูกกล้าไม้ชายเลนจำนวน 206 ต้น ที่เพาะพันธุ์โดยหน่วยเพาะพันธุ์กล้าไม้ชายเลนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ตรัง ในการนี้มีสมาชิก SOS และสมาชิกครอบครัวเข้าร่วมโครงการรวม 27 คน 67. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ/ตรวจเยี่ยมหอยมือเสือ/เก็บขยะ/ตัดอวน อันดามันเหนือ ม.ค.2553" โดยสมาชิก www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ ณ. อุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะสิมิลัน และ สุรินทร์ ระหว่างวันที่ 13 – 18 มกราคม 2553 โดย เรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี ได้มีการปล่อยม้าน้ำ จำนวน 140 ตัว ซึ่งได้รับการเพาะพันธุ์จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และ เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 43.5 กิโลกรัม ส่วนหอยมือเสือที่ได้ปล่อยไว้ที่อุทยานฯ สิมิลันพบว่ามีชีวิตเหลือรอดราว 40 ตัว (หรือราว 10 %) ส่วนที่อุทยานฯ สุรินทร์ มีหอยมือเสือที่ปล่อยไว้เหลือรอดให้เห็นเพียง 2-3 ตัว (2-3 %) ในการนี้มีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 25 คน และมีเจ้าหน้าที่จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ เข้าร่วมปฏิบัติงานด้วย 2 คน 68. ดำเนินกิจกรรม "โครงการทัศนศึกษาและปลูกป่าชายเลน คลองวาฬ" ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่าง www.saveoursea.net และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2553 ในการนี้ มีสมาชิก SOS และครอบครัว เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 21 คน 69. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เก็บขยะ และตัดอวน อันดามันใต้ มีนาคม 2553" ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net สถาบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ ในบริเวณหมู่เกาะพีพี หมู่เกาะห้า หินม่วง หินแดง เกาะแหวน เกาะรอก และเกาะเหลางัง ช่วงระหว่างวันที่ 10 - 15 มีนาคม 2553 โดย เรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราค าพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี มีการปล่อยปลาการ์ตูน 140 ตัว และม้าน้ำ 100 ตัว ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 25 คน 70. ดำเนินกิจกรรม "โครงการ "งานโลกทะเลชุมพร 2010 ... Save Our Future Save Our Sea" ในระหว่างวันที่10-11-12 เมษายน 2553 ผู้ว่าราชการจังหวัด นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ได้มอบหมายให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เป็นเจ้าภาพในการจัดงานโลกทะเลชุมพร 2010 ร่วมกับ สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวจังหวัด ชุมพรให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง และเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวเกิดความรู้สึกหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเล เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ www.saveoursea.net (SOS) ได้รับเชิญให้มีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือ และแสดงความคิดเห็นในการกำหนดรูปแบบ และรายละเอียดกิจกรรมดำน้ำเก็บขยะใต้ทะเล / กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และกิจกรรมปลูกป่าชายเลน กับคณะผู้จัดงานฯ และสมาชิกของ www.saveoursea.net (SOS) ยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการทำกิจกรรมข้างต้นอีกด้วย ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงาน 9 คน เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและอาสาสมัครจากที่อื่นๆอีกรวม 20 คน 71. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน / Reef Watch ที่ ชุมพร เดือนมิถุนายน 2553" โดยสมาชิก [B]www.saveoursea.net และส่วนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาทำหน้าที่บรรยายเรื่องเกี่ยวกับเรื่องการทำ Reef Watch และกำกับและดูแลการทำ Reef Watch ให้กับสมาชิก SOS ในระหว่างวันที่ 17 – 20 มิถุนายน 2553 โดย เรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 143.5 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 26 คน 72. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน / Reef Watch ที่ ชุมพร เดือนสิงหาคม 2553" โดยสมาชิก [B]www.saveoursea.net ได้เดินทางไปปฏิบัติงานที่บริเวณ เกาะเต่า หินใบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ บริเว๊เกาะร้านเป็ดและร้านไก่ จังหสัดชุมพร ในระหว่างวันที่ 19 – 23 สิงหาคม 2553 โดย เรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 165.9 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 26 คน 73. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน / Reef Watch ที่ โลซิน เดือนกันยายน 2553" โดยสมาชิก [B]www.saveoursea.net และส่วนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมปฏิบัติงานและกำกับดูแลการทำ Reef Watch ให้กับสมาชิก SOS ในระหว่างวันที่ 16 – 20 กันยายน 2553 โดยเจ้าของเรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 225.8 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 27 คน 74. ดำเนินกิจกรรม "โครงการอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รุ่น 1" เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2553 เพื่อให้สมาชิก [B]www.saveoursea.net ได้มีความรู้เกี่ยวกับการช่วยชีวิต และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อันจะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตัวเองและผู้อื่น ในการนี้มีสมาชิกฯ เข้าอบรมจำนวน 15 คน 75. ดำเนินกิจกรรม "โครงการอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รุ่น 2" เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 เพื่อให้สมาชิก [B]www.saveoursea.net ได้มีความรู้เกี่ยวกับการช่วยชีวิต และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อันจะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตัวเองและผู้อื่น ในการนี้มีสมาชิกฯ เข้าอบรมจำนวน 11 คน 76. ดำเนินกิจกรรม "โครงการค่ายเยาวชนรักษ์ทะเล ครั้งที่ 2...A Chance of Happiness….Give Our Love to Save Our Sea" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET ณ. จังหวัดตรัง ระหว่างวันที่ 9 – 14 ธันวาคม 2553 ในการนี้ มีนักเรียนด้อยโอกาสจากโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จำนวน 20 คน ครู 4 คน เข้าร่วมเข้าค่าย โดยมีสมาชิก SOS ฝ่ายพี่เลี้ยงและฝ่ายสันทนาการ เข้าร่วมกิจกรรมรวม 14 คน
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 18-01-2016 เมื่อ 21:15 |
#6
|
||||
|
||||
กิจกรรมและผลงาน (ต่อ) 77. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ / ตรวจเยี่ยมหอยมือเสือ เก็บขยะ และตัดอวน ในทะเลอันดามัน เดือนกุมภาพันธ์ 2554" ดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ ณ. อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ และ อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสิมิลัน ระหว่างวันที่ 9 – 14 กุมภาพันธ์ 2554 โดยเจ้าของเรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 40.0 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 23 คน 78. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และเก็บขยะ / ตัดอวน อันดามันใต้ เดือนมีนาคม 2554" ดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ ระหว่างวันที่ 9 - 14 มีนาคม 2554 โดยเจ้าของเรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 131.8 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 21 คน 79. ดำเนินกิจกรรม "โครงการ เก็บขยะ / ตัดอวน ที่ โลซิน" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET เมื่อวันที่ 13 – 17 พฤษภาคม 2554 โดยเจ้าของเรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 115.1 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS อาจารย์ และ นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวนรวม 26 คน 80. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน ที่ เกาะเต่า-ชุมพร" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET ณ.บริเวณ เกาะเต่า และ หมู่เกาะชุมพร ในระหว่างวันที่ 9 – 12 มิถุนายน 2554 โดยเจ้าของเรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 168.5 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS และ นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยเกษตร เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวนรวม 26 คน 81. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน ที่ ชุมพร" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET ณ.บริเวณหมู่เกาะชุมพร ร้านเป็ด และร้านไก่ ในระหว่างวันที่ 5 – 7 สิงหาคม 2554 โดยเจ้าของเรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 126.7 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS และ นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยเกษตร เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวนรวม 26 คน 82. ดำเนินกิจกรรม "โครงการ เก็บขยะ / ตัดอวน ที่ โลซิน" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET เมื่อวันที่ 15 – 19 กันยายน 2554 โดยเจ้าของเรือโชคศุลี ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้นไม่ถึงร้อย กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวนรวม 24 คน 83. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ / ตรวจเยี่ยมหอยมือเสือ เก็บขยะ และตัดอวน ในทะเลอันดามันเหนือ เดือนกุมภาพันธ์ 2555" ดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ ณ. อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ และ อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสิมิลัน ระหว่างวันที่ 8 – 13 กุมภาพันธ์ 2555 โดยเจ้าของเรือฟ้าใส ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 23.0 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 27 คน 84. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และเก็บขยะ / ตัดอวน อันดามันใต้ เดือนเมษายน 2555" ดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ ระหว่างวันที่ 4 - 9 เมษายน 2555 โดยเจ้าของเรือฟ้าใส ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 23.3 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 18 คน 85. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และเก็บขยะ / ตัดอวน อันดามันใต้ เดือนมิถุนายน 2555" ดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ระยอง และ กระบี่ กรมประมง[/B] ระหว่างวันที่ 21 - 24 มิถุนายน 2555 โดยเจ้าของเรือฟ้าใส ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการมีการปล่อยกุ้งตัวตลกที่เกิดจาการเพาะเลี้ยง จำนวน 100 ตัว กลับคืนสู่ทะเล ในการนี้ มีสมาชิก SOS จำนวน 24 คน และเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ 2 คน เข้าร่วมปฏิบัติงาน 86. ดำเนินกิจกรรม "โครงการทำความสะอาดใต้ทะเลพัทยา และเยี่ยมหอยมือเสือ เดือนกรกฎาคม 2555" ดำเนินงานโดย www.saveoursea.net ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2555 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้เพียงเล็กน้อย ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 23 คน 87. ดำเนินกิจกรรม "โครงการ เก็บขยะ / ตัดอวน ที่ โลซิน เดือนกันยายน 2555" ดำเนินงานโดย www.saveoursea.net ในวันที่ 6 – 10 กันยายน 2555 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้ประมาณ 20 กก. ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 29 คน 88. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน หินเพลิง เดือนธันวาคม 2555 " ดำเนินงานโดย www.saveoursea.net ในวันที่ 1 – 2 ธันวาคม 2555 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้ประมาณ 200 กก. ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 25 คน 89. ดำเนินกิจกรรม "ภารกิจเร่งด่วน ที่หินเพลิง" ในวันที่ 19 ธันวาคม 2555 โดยได้รับการอนุเคราะห์เรื่องเรือ ถังอากาศ และอาหาร จากคุณวิเชียร เจ้าของเรือคิง โอลาฟ ในการนี้สมาชิก SOS จำนวน 12 คน ได้ร่วมกันตัดอวนผืนใหญ่ที่คลุมกองหินเพิง ทั้งกองใหญ่และกองเล็กได้ทั้งหมด 90. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ / เก็บขยะ / ตัดอวน อันดามันเหนือ เดือน มค.-กพ. 2556" โดยสมาชิก www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ ณ. อุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะสิมิลัน และ สุรินทร์ ระหว่าง 30 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2556 ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ เรือฟ้าใส ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี ได้มีการปล่อยม้าน้ำ จำนวน 200 ตัว และปลาการ์ตูน 100 ตัว ซึ่งได้รับการเพาะพันธุ์จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และ เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำได้เพียงเล็กน้อย ส่วนมากเป็นสายเบ็ด ส่วนหอยมือเสือที่ได้ปล่อยไว้ที่อุทยานฯ สิมิลันไม่พบ เนื่องจากกระแสน้ำแรง ไม่สามารถว่ายถึงจุดที่ปล่อยหอยได้ ในกามีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการนี้ทั้งสิ้น 18 คน และมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายผั่งทะเล และป่าชายเลน ผู้เชี่ยวชาญด้านม้าน้ำจากแคนาดา นิสิตและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และธรรมศาสตร์ ได้ไปร่วมทำงานรวม 7คน 91. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน หินเพลิง เดือนกุมภาพันธ์ 2556" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET ณ. หินเพิง และจุดอื่นๆในทะเลระยอง เมื่อวันเสาร์ที่ 16 – วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 ในการนี้ได้รับความช่วยเหลือจาก Deep Sea Commercial Diving Co.Ltd. ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำงานและการเชื่อมต่อใต้น้ำ จำนวน 6 คน ไปช่วยในการตัดเชือกปากอวนที่ไส้กลางเป็นสายลวดสลิง และเก็บขยะ ร่วมกับสมาชิกอาสาสมัครของ SOS จำนวน 25 คน เก็บขยะ/อวน/เชือกปากอวน ได้น้ำหนักรวมราว 500 กก. 92. ดำเนินกิจกรรม "โครงการทำความสะอาดใต้ทะเลพัทยา และเยี่ยมหอยมือเสือ เดือนมีนาคม 2556" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET ณ. เกาะริ้น เกาะไผ่ เกาะสาก และจุดอื่นๆในพัทยา เมื่อ วันเสาร์ที่ 9 – อาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2556 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้เพียงเล็กน้อย ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 30 คน 93. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และเก็บขยะ / ตัดอวน อันดามันใต้เดือนมีนาคม - เมษายน 2556" ดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 1 เมษายน 2556 ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ เรือฟ้าใส ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทาง ได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี ได้มีการปล่อยม้าน้ำ จำนวน 200 ตัว และปลาการ์ตูน 200 ตัว ซึ่งได้รับการเพาะพันธุ์จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และ มีการเก็บขยะและเศษอวนได้น้ำได้เพียงเล็กน้อย ส่วนมากเป็นสายเบ็ด มีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการนี้ รวมทั้งสิ้น 27 คน 94. ดำเนินกิจกรรม "โครงการ เก็บขยะ / ตัดอวน ที่ โลซิน" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET" เมื่อวันที่ 16 – 20 พฤษภาคม 2556 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้ประมาณ 80 กก. ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 27 คน 95. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน ที่ เกาะเต่า-ชุมพร เดือนกรกฎาคม 2556" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET ณ.บริเวณ เกาะเต่า และ หมู่เกาะชุมพร ในระหว่างวันที่ 11 – 14 กรกฎาคม 2556 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 100 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวนรวม 28 คน 96. ดำเนินกิจกรรม "โครงการทำความสะอาดใต้ทะเลพัทยา เดือนกรกฎาคม 2556" ดำเนินงานโดย www.saveoursea.net ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2556 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้เพียงเล็กน้อย ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 15 คน 97. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน ที่ หมู่เกาะชุมพร เดือนกันยายน 2556" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET ณ. หมู่เกาะชุมพร ในวันที่ 6 – 8 กันยายน 2556 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 800 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวนรวม 27 คน
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 18-01-2016 เมื่อ 21:15 |
#7
|
||||
|
||||
กิจกรรมและผลงาน (ต่อ) 98. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ / เก็บขยะ / ตัดอวน อันดามันเหนือ เดือนกุมภาพันธ์ 2557" โดยสมาชิก www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ ณ. อุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะสิมิลัน และ สุรินทร์ ระหว่าง ระหว่างวันที่ 5 - 10 กุมภาพันธ์ 2557 ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ เรือฟ้าใส ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี ได้มีการปล่อยม้าน้ำ จำนวน 200 ตัว และปลาการ์ตูน 100 ตัว ซึ่งได้รับการเพาะพันธุ์จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และ เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำได้เพียงเล็กน้อย น้ำหนักรวม 15 กก.ส่วนมากเป็นสายเบ็ด ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการนี้ทั้งสิ้น 21 คน และมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (จ.ตรัง) และนิสิตปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ไปร่วมทำงานด้วยรวม 2 คน 99. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และเก็บขยะ / ตัดอวน อันดามันใต้ เดือนมีนาคม 2557" ดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ ระหว่างวันที่ 26 - 31 มีนาคม 2557 โดยเจ้าของเรือฟ้าใส ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้เล็กน้อย ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 27 คน และนิสิตปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ไปร่วมทำงานด้วยรวม 1 คน 100. ดำเนินกิจกรรม "โครงการ เก็บขยะ / ตัดอวน ที่ โลซิน" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET" เมื่อวันที่ 19 - 23 พฤษภาคม 2557 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้ประมาณ 50 กก. ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 26 คน และมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมสำรวจและทำกิจกรรมด้วย 3 คน 101. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน ที่ เกาะเต่า-ชุมพร เดือนกรกฎาคม 2557" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET ณ.บริเวณ เกาะเต่า และ หมู่เกาะชุมพร ในระหว่างวันที่ 3 - 7 กรกฎาคม 2557 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 176 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวนรวม 27 คน และมีนิสิตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ไปร่วมทำงานด้วยรวม 1 คน 102. ดำเนินกิจกรรม "โครงการ เก็บขยะ / ตัดอวน ที่ โลซิน" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET" เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม - 1 กันยายน 2557 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้ประมาณ 132 กก. ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 18 คน และมีนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมสำรวจและทำกิจกรรมด้วย 3 คน 103. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน ที่ หมู่เกาะชุมพร เดือนกันยายน 2557" ณ. เกาะร้านเป็ด-ร้านไก่ หินกองสามเหลี่ยม และหมู่เกาะชุมพร ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET" เมื่อวันที่ 19 - 21 กันยายน 2557 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้ประมาณ 99 กก. และทำการย้ายลอบขนาดใหญ่ออกจากแนวปะการัง 7 หลัง ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 22 คน 104. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ / เก็บขยะ / ตัดอวน อันดามันเหนือ เดือนกุมภาพันธ์ 2558" โดยสมาชิก www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ ณ. อุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะสิมิลัน และ สุรินทร์ ระหว่าง ระหว่างวันที่ 11 - 16 กุมภาพันธ์ 2558 ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ เรือฟ้าใส ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี ได้มีการปล่อยปลาการ์ตูน 175 ตัว และ ปลาสลิดหินเหลืองมะนาว จำนวน 56 ตัว ซึ่งได้รับการเพาะพันธุ์จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และ เก็บขยะ เป็นอุปกรณ์ประมงประเภท เศษอวน เม็ดตะกั่ว และเอ็นเบ็ด น้ำหนักรวม 83 กก. ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการนี้ทั้งสิ้น 24 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร ได้ไปร่วมทำงานด้วยรวม 2 คน 105. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และเก็บขยะ / ตัดอวน อันดามันใต้ เดือนมีนาคม 2558" ดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 25 - 30 มีนาคม 2558 โดยเจ้าของเรือฟ้าใส ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี ได้มีการปล่อยปลาการ์ตูนส้มขาว 200 ตัว และปล่อยหอยมือเสือจำนวน 100 ตัว เก็บขยะ เป็นอุปกรณ์ประมงประเภท เศษอวน เม็ดตะกั่ว และเอ็นเบ็ด น้ำหนักรวม 172 กก. ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 26 คน 106. ดำเนินกิจกรรม "โครงการ เก็บขยะ / ตัดอวน ที่ โลซิน" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET" เมื่อวันที่ 21 - 25 พฤษภาคม 2558 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะเป็นเศษอวน สายเอ็นเบ็ด และขยะทั่วไป รวมน้ำหนักประมาณ 341 กก. โดยแบ่งเป็น ขยะจากโลซิน 13 กก. และ ขยะจาก รถถัง / ตู้รถไฟปะการังเทียม 328 กก. ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 27 คน และมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เข้าร่วมสำรวจและทำกิจกรรมด้วย 2 คน นอกจากนี้ ยังจัดให้มี workshop พิเศษ เพื่อทบทวน First Aids & CPR โดย พ.ท.น.พ.สุเมธ เติมมธุรพจน์ หนึ่งในสมาชิก SOS ให้บนเรืออีกด้วย 107. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน ที่ เกาะเต่า-ชุมพร เดือนกรกฎาคม 2558" ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET ณ.บริเวณ เกาะเต่า และ หมู่เกาะชุมพร ในระหว่างวันที่ 23 - 27 กรกฎาคม 2558 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 165.2 กิโลกรัม ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวนรวม 25 คน และมีนักศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ไปร่วมทำงานด้วยรวม 2 คน นักศึกษาปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปร่วมทำงานด้วยรวม 1 คน และนักวิจัยจาก Project Seahorse ไปร่วมทำงานด้วยรวม 2 คน 108. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน ที่ หมู่เกาะชุมพร เดือนกันยายน 2558" ดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ ณ. หมู่เกาะง่าม จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 11 - 13 กันยายน 2558 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี ได้มีการปล่อยหอยมือเสือจำนวน 100 ตัว เก็บขยะและเศษอวนได้ประมาณ 130 กก. และทำการย้ายลอบขนาดใหญ่ออกจากแนวปะการัง 5 หลัง ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 29 คน 109. ดำเนินกิจกรรม "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน ที่ เกาะสันฉลาม เดือนพฤศจิกายน 2558" ดำเนินงานร่วมโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET ณ.บริเวณ เกาะสันฉลาม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ในระหว่างวันที่ 21 - 22 พฤศจิกายน 2558 ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี ได้มีการปล่อยฉลามกบจำนวน 12 ตัว เก็บขยะและเศษอวนได้ประมาณ 2,000 กก. ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 28 คน 110. ดำเนินกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ / เก็บขยะ / ตัดอวน อันดามันเหนือ เดือนมกราคม 2559" โดยสมาชิก www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ ณ. อุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะสิมิลัน และ สุรินทร์ ระหว่าง ระหว่างวันที่ 13 - 18 มกราคม 2559 ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ เรือฟ้าใส ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้คิดค่าบริการให้ในราคาพิเศษ ผลการปฏิบัติการเป็นไปด้วยดี ได้มีการปล่อยปลาการ์ตูน 200 ตัว ซึ่งได้รับการเพาะพันธุ์จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ และ เก็บขยะและเศษอวนได้น้ำได้เพียงเล็กน้อย น้ำหนักรวม 10 กก. ในการนี้ มีสมาชิก SOS เข้าร่วมโครงการนี้ทั้งสิ้น 27 คน ระยะเวลาดำเนินการ 1. ระยะแรก ปี 2546 - 2547 2. ระยะที่สอง ปี 2548 - 2550 3. ระยะที่สาม ปี 2551 - 2556 4. ระยะที่สี่ ปี 2557 - 2565 แผนการในอนาคต 1. จัดกิจกรรมปล่อยหอยมือเสือและปลาคืนสู่ธรรมชาติ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อมติดตามผลการปล่อยปีละอย่างน้อย 3 ครั้ง 2. จัดกิจกรรมเก็บขยะและตัดอวนในทะเล อย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง 3. จัดกิจกรรมเพื่อการสงเคราะห์เยาวชนที่ด้อยโอกาสอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 4. จัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 5. เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ทะเลไทยที่หน่วยงานเอกชน หรือหน่วยราชการจัดขึ้น ตามแต่เวลาและโอกาสจะอำนวย ผู้ดำเนินการ 1. กลุ่มนักดำน้ำและผู้สนใจทั่วไป 2. ผู้ประสงค์จะสนับสนุนโครงการ งบประมาณ 1. เงินบริจาคสมทบทุนจากสมาชิกและผู้สนับสนุนโครงการที่ดำเนินการโดยสมาชิกของ www.SaveOurSea.net 2. เงินที่ได้มาจากการขายผลิตภัณฑ์ที่สมาชิกร่วมกันผลิตและจัดจำหน่าย หมายเหตุ: SOS มิได้ทำการค้าเพื่อหวังผลกำไรแต่อย่างใด ในการทำกิจกรรมทุกครั้ง สมาชิกต้องจ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด เฉลี่ยเท่ากันทุกคน เงินทั้งหมดที่ได้รับ จะนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆที่ได้วางโครงการไว้ในแต่ละโครงการ เงินที่เหลือจากการดำเนินโครงการ จะนำเข้าสมทบในบัญชีกองทุนกลางที่ตั้งไว้เพื่อโครงการค่ายเยาวชน โครงการปลูกป่าชายเลน และอื่นๆ แล้วแต่จะตกลงกันในมวลหมู่สมาชิก ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. จิตสำนึกที่จะรัก....หวงแหน...และพร้อมจะปกปักรักษาธรรมชาติทางทะเลและสิ่งแวดล้อมของนักดำน้ำ และประชาชนทั่วไปดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 2. สภาพธรรมชาติทางทะเลและสิ่งแวดล้อมและของไทย ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 3. นักดำน้ำได้รับความรู้ด้านเทคนิคและวิชาการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการดำน้ำเพิ่มมากขึ้น
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 19-08-2022 เมื่อ 19:08 |
#8
|
||||
|
||||
ดีใจครับที่ได้เข้ามาร่วมกับ sos แม้ส่วนตัวจะเข้ามาได้ไม่กี่ปี แต่ก็ทำให้การดำน้ำมีความหมายมากขึ้นจริงๆ พร้อมความรู้สึกดีๆจากเพื่อนร่วมกิจกรรมทุกครั้ง
|
#9
|
|||
|
|||
จะคอยเป็นกำลังเล็กๆ ช่วยเหลือพี่สองสาย เมื่อโอกาสอำนวยนะคะ อิอิ
__________________
คิดดี ทำดี ชีวีเป็นสุข |
#10
|
||||
|
||||
"โครงการค่ายเยาวชนรักษ์ทะเล ครั้งที่ 1" ปี 2547 เป็นกิจกรรมแรกที่ได้มีส่วมร่วมกับ sos ผ่้านไปเร็วจัง เกือบ 10 ปีแล้ว
ขอบคุณพี่สองสาย ที่เป็นต้นแบบ และเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ค่ะ
__________________
¸¸.·´¯`·..."★__ oO ทะเลก็เหมือนบ้าน.....ห่างกันก็คิดถึง Oo...★''¸¸.·´¯`·... |
|
|