#1
|
||||
|
||||
นักวิชาการ ม.อ. ชี้ ปี 53 ปะการังฟอกขาววิกฤตสุด
นักวิชาการ ม.อ. ชี้ ปี 53 ปะการังฟอกขาววิกฤตสุด นักวิชาการ ม.สงขลานครินทร์ ศึกษาผลปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว อ่าวไทย-อันดามัน พบวิกฤตกว่าที่คาด เร่งประสานกรมทรัพฯ ป้องกันและฟื้นฟู ก่อนสายเกินแก้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) และสถาบันการศึกษาต่างๆทั่วประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านแนวปะการัง ร่วมประชุมเพื่อสรุปสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในปี 2553 ซึ่งถือเป็นสถานการณ์วิกฤตของแนวปะการังรุนแรงที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยประสบมา และรุนแรงกว่าเหตุการณ์คลื่นสึนามิเมื่อปี 2547 โดยมี ดร. เกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นประธาน อ.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง หัวหน้าโครงการสำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพแนวปะการังและผลกระทบของการฟอกขาวที่มีต่อระบบนิเวศแนวปะการังในน่านน้ำไทย และอาจารย์ประจำสถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีววภาพแห่งคาบสมุทรไทย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวสรุปผลจากการประชุมว่า ถึงแม้ปะการังฟอกขาวในช่วงเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม 2553 ทำให้ปะการังยังไม่ตาย แต่ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบแนวปะการังหลายบริเวณทั้งอ่าวไทยและอันดามันตายลง และเสื่อมโทรมลงมากกว่าร้อยละ 70โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีแนวปะการังเขากวาง ส่วนใหญ่จะตายเกือบหมด ซึ่งจะส่งผลต่อระบบนิเวศแนวปะการังและกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างรุนแรง “ทั้งนี้พบว่า พื้นที่ที่ยังขาดความรู้ถึงสถานการณ์การตายของแนวปะการังที่ได้รับผลกระทบจากปะการังฟอกขาว เป็นพื้นที่แนวปะการังในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล ทางฝั่งทะเลอันดามันเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่กำลังเริ่มจะเปิดฤดูการท่องเที่ยวในเดือนพฤศจิกายนแล้ว แต่มาตรการการจัดการที่เหมาะสมยังไม่มีการเตรียมการแต่อย่างไร ดังนั้นผลจากการประชุมทางวิชาการได้เสนอให้อุทยานแห่งชาติต่างๆทางฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย เร่งประเมินสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในสภาวะปัจจุบัน และกำหนดมาตรการที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้แนวปะการังได้รับการฟื้นคืนสภาพทั้งโดยธรรมชาติและการช่วยเหลือจากมนุษย์” อาจารย์ศักดิ์อนันต์เพิ่มเติมว่า แนวปะการังหลายบริเวณอาจจะไม่จำเป็นต้องมีการจัดการใดๆ ปล่อยให้ธรรมชาติได้ฟื้นฟูตัวเองได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องทำอะไรเลย “ทุกวันนี้มีการใช้ประโยชน์อย่างมาก ดังนั้น อาจจะต้องมีการกำหนดรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม การป้องกันผลกระทบจากกิจกรรมอื่นๆ เช่น ควบคุมไม่ให้มีน้ำทิ้งหรือเศษอาหารจากเรือท่องเที่ยว ที่พัก และกิจกรรมบริเวณชายฝั่งทะเลลงสู่แนวปะการัง แนวปะการังบางบริเวณอาจจะจำเป็นต้องปิด ไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมอื่นๆ ในขณะที่แนวปะการังบางบริเวณจะต้องได้รับการฟื้นฟูด้วยวิธีการที่จำเพาะเหมาะสมสำหรับแต่ละบริเวณ” นอกจากนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยังจะต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในสถานการณ์ปะการังฟอกขาวให้เป็นที่รับทราบกันในทุกภาคส่วน เพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาปะการังฟอกขาวของประเทศ ในขณะที่ทางด้านวิชาการจะต้องเตรียมตัวศึกษาหาองค์ความรู้ และจัดการองค์ความรู้อย่างเร่งด่วน เพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาปะการังฟอกขาว ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก จาก ................ ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 22 ตุลาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
|||
|
|||
ปีนี้น่าเป้นห่วงจริงๆค่ะ ขอให้ปะกังแข็งแรงไวๆนะคะ เพราะกว่าภาครัฐจะออกมาจัดการอะไร ก็คงอีกหายเดือน ป่านนั้น จะปิดสถานที่ท่องเที่ยวก็คงไม่ทันแล้ว
|
#3
|
||||
|
||||
เห็นภาพการฟอกขาวในฝั่งอันดามันแล้วน่ากลัวกว่าฝั่งอ่าวไทยมาก....และน่าเสียใจที่ปะการังที่ฟอกขาวตายไปแล้วถึง 70 % ถ้าจะมาถูกกระทบจากการประมงแถมด้วยการท่องเที่ยวที่ไร้การควบคุมด้วย ก็ยิ่งจะเป็นการซ้ำเติมให้ความเสียหายสูงขึ้นไปอีก... นอกจากการที่เราจะระมัดระวังในการไม่ไปกระทำการใดๆ ที่จะไปทำร้ายปะการังทั้งโดยตรงและโดยอ้อมแล้ว เราคงจะช่วยอะไรอีกไม่ได้มากนัก ก็ขอเป็นกำลังใจ ให้ทางการรีบๆหาวิธีการดูแลเยียวยาให้มีการฟื้นตัวของปะการังโดยเร็ว อย่ามัวแต่รีๆรอๆ เดี๋ยว "กว่าถั่วจะสุก.....งาก็ไหม้...." หมดกันพอดี...
__________________
Saaychol |
#4
|
||||
|
||||
ปะการังฟอกขาวอ่าวไทย-อันดามันวิกฤติ นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพคาบสมุทรไทย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) เปิดเผยว่า การติดตามการเปลี่ยนแปลงของปะการัง พบว่าสถานการณ์ปะการังฟอกขาวปีนี้วิกฤตของแนวปะการังรุนแรงที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยประสบมา ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว เพราะยังคงพบเห็นการทิ้งสมอเรือ เศษอาหารในแนวปะการังอยู่ และยังมีนักท่องเที่ยวเข้าไปดำน้ำตื้น เหยียบปะการังเสียหาย โดยยังไม่มีกระบวนการจัดการที่เหมาะสม นายศักดิ์อนันต์ เปิดเผยว่า ปะการังฟอกขาวในช่วงเดือน เม.ย.-ก.ค. ทำให้ปะการังยังไม่ตาย แต่ในเดือน ก.ย. พบแนวปะการังหลายบริเวณ ทั้งอ่าวไทยและอันดามันตายลง และเสื่อมโทรมลงมากกว่าร้อยละ 70 โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีแนวปะการังเขากวาง ส่วนใหญ่จะตายเกือบหมด ส่งผลต่อระบบนิเวศแนวปะการังและกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างรุนแรง และทางฝั่งทะเลอันดามันกำลังเริ่มจะเปิดฤดูการท่องเที่ยวในเดือน พ.ย. อีก ยิ่งทำให้ปะการังยิ่งวิกฤติ “การป้องกันด้วยการควบคุมไม่ให้ มีน้ำทิ้งหรือเศษอาหารจากเรือท่องเที่ยว ที่พักและกิจกรรมบริเวณชายฝั่งทะเลลงสู่แนวปะการัง แนวปะการังบางบริเวณอาจจะจำเป็นต้องปิดไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว ขณะที่แนวปะการังบางบริเวณจะต้องได้รับการฟื้นฟูด้วยวิธีการที่จำเพาะเหมาะสม” นายศักดิ์อนันต์ กล่าวปิดท้าย. จาก ................ เดลินิวส์ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
วิกฤตปะการังฟอกขาว นักวิชาการจี้หามาตรการรับมือ สถานการณ์ปะการังฟอกขาวเกิดขึ้นทั้งในแถบอ่าวไทยและอันดามัน นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ประจำสถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ในฐานะหัวหน้าโครงการสำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพแนวปะการังและผลกระทบของการฟอกขาวที่มีต่อระบบนิเวศแนวปะการังในน่านน้ำไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมเพื่อสรุปสถานการณ์ปะการังฟอกขาว ซึ่งจัดโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในช่วงกลางเดือนต.ค.ที่ผ่านมา มีนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆทั่วประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านแนวปะการังเข้าประชุม 80 ท่าน ได้รายงานถึงสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในปี 2553 ซึ่งถือเป็นสถานการณ์วิกฤตของแนวปะการังรุนแรงที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยประสบมา ทั้งนี้ มีข้อมูลระบุว่า ในเดือนก.ย.ที่ผ่านมา พบแนวปะการังหลายบริเวณทั้งอ่าวไทยและอันดามันตายและเสื่อมโทรมลงมากกว่า 70% จากสถานการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีแนวปะการังเขากวางที่ส่วนใหญ่จะตายเกือบหมด ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศแนวปะการังและกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างรุนแรง อาจารย์ศักดิ์อนันต์ กล่าวด้วยว่า นักวิชาการยังพบว่า ยังมีบางพื้นที่ที่ขาดความรู้ถึงสถานการณ์การตายของแนวปะการังที่ได้รับผลกระทบจากปะการังฟอกขาว โดยเฉพาะพื้นที่แนวปะการังในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเลทางฝั่งทะเลอันดามันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสถานการณ์ถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก เนื่องจากฤดูกาลท่องเที่ยวจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนพ.ย.นี้ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีมาตรการการจัดการที่เหมาะสมเข้ามารองรับแต่อย่างใด ดังนั้นที่ประชุมวิชาการจึงได้เสนอให้อุทยานแห่งชาติต่างๆทางฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย เร่งประเมินสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในสภาวะปัจจุบัน และกำหนดมาตรการที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้แนวปะการังได้รับการฟื้นคืนสภาพทั้งโดยธรรมชาติและการช่วยเหลือจากมนุษย์ "แนวปะการังหลายบริเวณอาจจะไม่จำเป็นต้องมีการจัดการใดๆ สามารถปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเองได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะทุกวันนี้มีการใช้ประโยชน์อย่างมาก ดังนั้นอาจจะต้องมีการกำหนดรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม การป้องกันผลกระทบจากกิจกรรมอื่นๆ เช่น ควบคุมไม่ให้มีน้ำทิ้งหรือเศษอาหารจากเรือท่องเที่ยว ที่พัก และกิจกรรมบริเวณชายฝั่งทะเลลงสู่แนวปะการัง ขณะที่แนวปะการังบางบริเวณอาจจะจำเป็นต้องปิด ไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมอื่นๆ ในขณะที่แนวปะการังบางบริเวณจะต้องได้รับการฟื้นฟูด้วยวิธีการที่จำเพาะเหมาะสมสำหรับแต่ละบริเวณ" นายศักดิ์อนันต์กล่าว จากบทสรุปในการประชุมเพื่อสรุปสถานการณ์ปะการังฟอกขาว กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ยังจะต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในสถานการณ์ปะการังฟอกขาวให้เป็นที่รับทราบกันในทุกภาคส่วน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาปะการังฟอกขาวของประเทศ ในขณะที่ทางด้านวิชาการจะต้องเตรียมตัวศึกษาหาองค์ความรู้ และจัดการองค์ความรู้อย่างเร่งด่วน เพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาปะการังฟอกขาว ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี เนื่องมาจากปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก จาก ................ ข่าวสด วันที่ 2 พฤศจิกายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
|||
|
|||
ปีนี้บอบช้ำทั้งคน ทั้งทะเล.....เพิ่งกลับจากสิมิลันมาครับ ไปเห็นภาพป่าช้าปะการังในทะเลแล้วสลดจริงๆ...... ปลากลุ่มเด่นๆหายไปเยอะเลย เห็นปลาสลิดหินที่ยังคงอาศัยอยู่อย่างหงอยๆในกอปะการังที่ยืนต้นตายแล้วนึกถึงภาพข่าวที่น้ำท่วม และพายุถล่มภาคใต้เลย...... ปลายังคงต้องอยู่อาศัยหลบภัยในปะการังที่ตายแล้วเพราะไม่มีที่ให้ไป......คนก็เหมือนกันไม่ว่าบ้านจะโดนถล่มพังขนาดใหนก็ยังต้องอยู่เพราะไม่มีที่ให้ไป.........ที่สำคัญคือหลายๆพื้นที่ยังคงไร้การได้รับความช่วยเหลือเหมือนกัน
|
#7
|
||||
|
||||
เรื่อง ปะการังฟอกขาวนั้น ในฐานะบุคลธรรมดาๆคนหนึ่ง....ไม่ใช่นักวิชาการ ที่มีความรู้ความสามารถ เราก็รู้สึกได้ถึงความบอบช้ำของแนวปะการัง และตามมาด้วยความห่วงใยจากใจจริงของคนไทยคนหนึ่งที่รักทะเล และรักษ์ทะเลค่ะ..... จากสมองที่มีอยู่น้อยนิด เรารู้สึกได้ว่า มนุษย์กำลังได้รับการลงโทษจากการทำให้โลกร้อน....... น้ำทะเลที่ร้อน....ทำให้สรรพชีวิตใต้ท้องทะเลพลอยฟ้า พลอยฝนเดือดร้อนตามไปด้วย แนวปะการังเสียหายล้มตาย สัตว์ทะเลที่อาศัยแนวปะการังเป็นบ้าน...เป็นแหล่งอนุ บาล...เป็นแหล่งอาหาร และเป็นที่ซ่อนตัวหลบภัย ต้องพลอยถูกทำให้ระส่ำระสาย ไร้แหล่งอาหาร ไร้ที่หลบภัย ต้องอ่อนล้าอ่อนแรง และล้มหายตายจากตามไปด้วยในที่สุด... ถ้ามนุษย์เรายังไม่รู้สึกสำนึกได้ทันเวลา....พากันไป ซ้ำเติมทำร้ายปะการังที่เจ็บหนักใกล้ตาย ให้ต้องเจ็บหนักโคม่าเข้าไปอีก ทั้งด้วยการเข้าไปเหยียบย่ำรังแก ทิ้งน้ำเสียและของเสียลงทะเล ถมทะเล เดินเรือใหญ่ใกล้แนวปะการัง ทิ้งสมอเรือไม่เลือกที่ ทำประมงแบบล้างผลาญ ลากทั้งอวน ทิ้งทั้งลอบ ตามด้วยการระเบิดปลา.... และแล้วสักวันหนึ่ง....ทะเลก็จะไม่เหลืออะไรเลย....ไ ม่เหลืออะไรเลย... แล้วมนุษย์ล่ะ....จะเป็นอย่างไรเมื่อถึงวันนั้น......
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 22-01-2011 เมื่อ 06:54 |
#8
|
||||
|
||||
เห็นด้วยกับพี่น้อยค่ะ แต่ก็มีอีกมุมมองหนึ่งในฐานะผู้ประกอบการเช่นกัน....
ถ้ามีมาตรการปิดเกาะที่ฝั่งทะเลอันดามันจริง น่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจดำน้ำ ซึ่งตอนนี้ ก็ประสบปัญหาอยู่แล้ว ให้ผู้ประกอบการตัวเล็กๆๆ อย่าง snr ได้ขาดอากาศหายใจแน่นอน..... ถึงแม้นว่าพวกเราจะได้ช่วยกันรณณรงค์เรื่องขยะกันแล้ว ก็ไม่สามารถหยุดยั้งเรื่องเหล่านี้ได้เลย....และตอนนี้ทางอุทยานก็ได้ขยายที่พัก จัดเขตแหล่งท่องเที่ยวบนฝั่ง แต่เรื่องขยะ น้ำเสีย ก็ไม่สามารถกำจัดได้เลย แล้วที่นี่จะทำอย่างไรล่ะ จะหันมาจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวอีกไหม คราวนี้ละก็เป็นเรื่องเลย.... ไม่ใช่ว่าจะไม่อนุรักษ์ และรักท้องทะเลบ้านเรานะคะ แต่ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เรียกเอาคืนนั้น เกินกว่าจะเยียวยาแล้ว หันมาทำตอนนี้ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย....แต่ควรทำให้ต่อเนื่อง เดี๋ยวจะเหมือนเกาะเต่า ที่เคยไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนนี้แทบจะไม่เลืออะไรให้ดูเลย ว่าแล้วเรื่องนี้มันก็เป็นเรื่องเศร้าระดับชาติ...
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS |
#9
|
||||
|
||||
เรื่องทำมาหากินหรือเรื่องปากท้องของคนนี่เป็นเรื่องใหญ่นะคะ พอมีข่าวใดที่จะทำให้กระทบกระเทือนถึงเรื่องเหล่านี้ ผู้เกี่ยวข้องบางคนก็เริ่มโวยวาย ไม่ยอมรับความจริง และ ไม่คิดที่จะช่วยกันหาวิธีแก้ไข..... แต่น่าดีใจ....ที่ยังมีคนที่ยอมรับความจริง คิดและเสนอแนะวิธีแก้ไข เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งรวมทั้งประโยชน์เพื่อปากท้องของเขาเองด้วย อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่เขาไม่ใช่คนไทย แต่เป็นฝรั่งต่างชาติที่เข้ามาหากินในบ้านในเมืองเราค่ะ ลองอ่านข้อคิด...ข้อเขียน...ข้อเสนอแนะของเขาดูนะคะ...I I just come back from a 5 diving days at Similan, Bon Tachai and Richelieu Rock and we may say that: - All coral reefs between surface and 20 meter depth are dead at 60-80% and some dive spots at 100%. - Anemones and soft corals have been reduced by 50% between surface and 25 meters. - Below 25 meters, corals, anemone and soft corals are in fair condition with minimal impacts on density excepted in few dive spots. - All commercial fish have gone and we have only juvenile fusilier left as fishermen have been poaching heavily during the closure period of May -October. - Anchoring on shallow coral reefs by fishermen during storm are evident (Anita's reef). - Fishing traps in deeper water (30-40 meters) have to be blame for the catch of groupers, travely, parrot and other reef fish. - Thai Navy Zodiac Dinghy at Koh Miang/Similan is not maintained and looks that it had not been by the sea since several months; so I doubt that they would be able to rescue any one or be used to control poaching by fishermen at night. Personnal comments: - What is happening this year in the Andaman Sea is must worst that the December 2004 tsunami. - As all coral reefs has been completely dead, it will take at least 5-10 years to recover so tour and dive operators will have limited snorkeling and dive sites for a while. - The only places left to dive will be in deeper water below 20 meters and dive sites with large boulders as fishermen, storms and El Nimo were not able to remove them. - As Similan and Surin Islands are open since 3 weeks only, fews knew the truth, but in the coming weeks, bad comments on forums by divers about the devastated reefs in Thailand and lack of fish will push dive tour operators and divers around the world to find alternative liveaboard dive destinations in other oceans for the coming years; so we may expect much less reservations and a lot of cancellations within few weeks. We need help by government agencies by: - Opening ASAP Fantasy Reef as corals on top of the rocks may be dead but we may have a good dive in deeper waters. - National Park Rangers, Marine Police, Thai Navy, Immigration and Labour Department should reinforce the National Park regulations in order to limit the numbers of day-trippers and divers as too many liveaboard dive operators employ too many foreigners without work-permit or foreign Instructors who are not properly registered. Many foreign Instructors set up tour and dive companies with proxy shareholders, directors and Thai staffs in order to get a work-permit at the expense of properly registered Thai dive companies. - National park Regulation stipulate than all tour and dive boats can not stay more than five consecutive days but this year again, many tours and dive boats will be permanently at similan for the whole 6 month period and using fresh water from the few sources at Koh Similan. - Artificial reefs in the 20-30 meter depht for recreational diving (Cement blocks or shipwrecks) should be a perfect way to add dive sites for divers. - Scientists and marine biologists should convince the Thai Administrations to ban new fishing boats and start to buy back old fishing boats for scrap as European countries, North America and Australia are doing since many years. Do not forget that on 100 Baht sales, 80 baht goes for diesel, 10-15 baht goes to Burma crew and less than 10-15 Baht are for Thai people including investors. Industrial Economic Zones in Ranong, Trang and Satun may help to create new jobs for those laying off in the fishing industry.
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 01-12-2010 เมื่อ 19:18 |
#10
|
||||
|
||||
เมื่อวานได้ไปเป็นผู้สังเกตการณ์การประชุมคณะกรรมการแก้ปัญหาผลกระทบของการฟอกขาวทำให้ใจชื้นว่า การกระตุ้นและการสร้างให้เกิดการแก้ไขปัญหาปะการังฟอกขาวของบ้านเรา กำลังมีความเป็นรูปธรรมจับต้องได้มากขึ้น และพร้อมที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งในขณะนี้และในระยะยาวได้.... อย่างไรก็ตาม...ความสำเร็จที่จะมีขึ้นได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ และการเสียสละของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และองค์กรอิสระต่างๆ ถ้ามัวแต่เห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้กันอยู่ ความสำเร็จก็คงจะยากที่จะเกิดขึ้นได้... สิ่งที่พวกเราจะต้องทำในขณะนี้ก็คือ....เราต้องยอมรับความจริงว่าเรื่องปะการังฟอกขาวที่มีสาเหตุมาจากโลกร้อนนี้ ทำความเสียหายอย่างมากมายต่อแนวปะการัง และเหตุการณ์นี้ จะเกิดขึ้นถึ่ขึ้น และรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัย นักวิชาการ นักจัดการ และผู้ใช้ประโยชน์จากแนวปะการังรวมไปถึงทะเล ที่มีทั้งผู้ประกอบการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการประมง รวมไปถึงนักท่องเที่ยว และชาวบ้านธรรมดาผู้หาเช้ากินค่ำ จะต้องตระหนักและรวมมือร่วมใจกัน ภายใต้แผนงานที่ต้องจัดทำขึ้นในระยะสั้น และระยะยาว....
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 01-12-2010 เมื่อ 20:59 |
|
|