#1
|
||||
|
||||
เอาเยี่ยงอีโคทาวน์.......ทางรอดมาบตาพุด
อีโคทาวน์ (ECO TOWN) สำหรับเมืองคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นบทเรียนสำคัญของมาบตาพุด ที่จะเดินหน้าไปสู่การที่ภาคอุตสาหกรรมและชุมชน จะอยู่อย่างเกื้อกูลกันอย่าง ยั่งยืน ทว่า.......อีโคทาวน์ที่คาวาซากิ ซิตี้ นั้น มีนิยาม ต่างกับแนวคิดอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนในเมืองไทย คัตซึยามา ที่นั่น อีโคทาวน์หมายถึงพื้นที่เฉพาะของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่ใช่บริเวณโรงงานที่มีชุมชนล้อมรอบ และไม่ใช่ที่ที่คนจะเข้าไปอยู่ ทั่วประเทศญี่ปุ่นมีอีโคทาวน์ 26 แห่ง...ตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายลดปริมาณขยะจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ทั่วประเทศ ญี่ปุ่น แยกย้ายกันไปในแต่ละพื้นที่ เพื่อไม่ให้ขยะกระจายล้นออกมาจากบริเวณโรงงาน ฉะนั้น...อีโคทาวน์ จึงเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่เอาไว้รองรับของเสีย ด้วยการนำกลับมารีไซเคิล ย้าย ฐานอุตสาหกรรมและชุมชนเกื้อกูลกันอย่างยั่งยืน มาที่ นิคมอุตสาหกรรมอิจิฮารา จังหวัดชิบะ ที่ตั้ง บริษัท มิตซุย เคมิคอลส์ โรงงานมิตซุยฯทำอุตสาหกรรมครบวงจรเกี่ยวกับปิโตรเคมี มีพนักงาน 12,964 คน มีนโยบายสิ่งแวดล้อม ภายใต้กฎหมายสิ่งแวดล้อม 40 ข้อ ควบคุมมลพิษทาง อากาศ...ปลายทางมีระบบการตรวจจับแบบออนไลน์ และรายงานไปยังสำนักงานจังหวัดท้องถิ่นตลอด 24 ชั่วโมง ควบคุมมลพิษ ทางน้ำ...บำบัดทางชีววิทยา พักน้ำทิ้งตามกระบวนการบำบัดน้ำเสีย มีค่าซีโอดีน้ำทิ้งอยู่ที่ 15 พีพีเอ็ม ควบคุมมลพิษทางเสียง...ผ่านจุดวัด 4 แห่ง อัตราเสียงช่วงเช้า... น้อยกว่า 65 เดซิเบล ช่วงกลางวัน...อยู่ที่ไม่เกิน 70 เดซิเบล และช่วงเย็น... อยู่ที่ไม่เกิน 60 เดซิเบล นอกจากนี้โรงงานยังมีข้อตกลงร่วมกับจัง หวัดชิบะ เพื่อเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมมลพิษมากกว่ากฎหมายควบคุม โดยกำหนดค่าก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) น้อยกว่า 150 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร และปริมาณฝุ่นน้อยกว่า 0.05 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร พร้อม กันนี้ยังมีการประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชนใกล้เคียงได้รู้ว่า โรงงานมีการรักษาสิ่งแวดล้อม และระบบบริหารจัดการอย่างเข้มงวด กรณี...หากมีการรั่วของสารต่างๆลงในแม่น้ำ ไหลออกสู่ทะเลก็จะแจ้งให้ชุมชนทราบทันที เพื่อจะได้ไม่ไปจับสัตว์น้ำ ดั้งเดิม...นิคมอุตสาหกรรมกับชุมชนก็มีปัญหาระหว่างกัน โรงงานกว่า 30 แห่ง แม้ว่าจะมีการผูกมัดด้วยสัญญาข้อตกลง แต่ก็ทำแบบต่างคนต่างทำ ต่างก็มีระบบป้องกันของตัวเอง ไม่ได้ร่วมด้วยช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมในภาพรวมเหมือนอย่างวันนี้ กติกา ผูกมัดที่ว่านี้...ชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรง แต่ทำโดยผ่านผู้แทนชุมชน มร.เคน จิ อิชิ ผู้ช่วยฝ่ายเศรษฐกิจ เมืองอิจิฮารา บอกว่า อิจิฮาราห่างจากโตเกียว 50 กิโลเมตร เป็นเมืองที่มีโรงงานเยอะ ตัวเลขการผลิตโดยรวมเป็นรองแค่เมืองโตโยตา "ก่อนหน้าที่จะถมพื้นที่ ชายหาด ลึกลงไปในทะเลเพื่อสร้างโรงงาน ผู้คนในอิจิฮาราประกอบอาชีพประมงกับเกษตรเป็นหลัก กระทั่งราวทศวรรษที่ 60 ก็พัฒนากลายมาเป็นเมืองอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ" แต่...ประเด็นน่า สนใจมีว่า อิจิฮารามีสนามกอล์ฟ 32 แห่ง...มากที่สุดในญี่ปุ่น อีกจุดเด่นก็คือด้านการเกษตรก็ไม่น้อยหน้า มีพื้นที่เป็นอันดับสองของจังหวัดชิบะ ปลูกข้าว ข้าวสาลี หัวไชเท้า วันนี้แม้ภาคอุตสาหกรรมจะเติบโตมากขึ้นเป็นเท่าทวี แต่เชื่อมั่นได้ว่าในอนาคต อิจิฮาราจะทำรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวได้อย่างมหาศาล" มร.ทัตซึนิโอ โอตะ ผู้นำชุมชนจากอาโอยาอีโคทาวน์ ละแวกใกล้เคียงนิคมอุตสาหกรรมอิจิฮารา วัย 69 ปี บอกว่า เขาเกิด...โตที่นี่ ตอนเด็กๆยังช่วยพ่อปลูกสาหร่าย จับหอยลายในทะเล "กระทั่งโรงงานเริ่มเข้ามาจับจองยึดพื้นที่ ความเปลี่ยนแปลงมากมายก็เกิดขึ้นตามมา" ปัญหามีว่า...โรงงานเกิด แต่สิ่งแวดล้อมแย่ลง โรงงานก็ให้ความสนใจกับปัญหานี้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เครื่องยืนยันคือปัจจุบันชาวบ้านยังตกปลาในแม่น้ำ สายเล็กๆที่ไหลเชื่อมต่อกับทะเลได้เหมือนเดิม "ชาวบ้านยังจับหอยได้ เหมือนเดิม โดยไม่ต้องกังวลถึงสารพิษตกค้าง แถมหอยลายยุคนี้ก็ยังตัวอ้วน สมบูรณ์ ไม่ต่างกับสมัยผมยังเด็ก" ยามที่เกิดปัญหา โรงงานก็จะแจ้งไปยังชุมชน ไม่ว่าจะเรื่องควัน กลิ่นทุกครั้ง ทำให้มีการติดต่อระหว่างชุมชนกับโรงงานสม่ำเสมอ จนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้...นอก จากชุมชนไม่ย้ายหนีโรงงานแล้ว ยังมีคนจำนวนไม่ใช่น้อยๆ ย้ายเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้น เพราะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ใน ชุมชนของ ทัตซึนิโอ ยังมีจำนวนเด็กเกิดใหม่เพิ่มขึ้นด้วย เห็นได้จากปริมาณนักเรียนชั้นประถมที่มีอยู่กว่า 880 คน จนอาคารเรียนไม่พอเรียน ต้องสร้างเพิ่ม "ถือว่า...เด็กๆที่อิจิฮารา มีเยอะกว่าเมืองรอบๆ" มร.คัตซึยามา มิตซึรุ นายกสหกรณ์ประมง จังหวัดชิบะ เสริมว่า หอยลายอาซาริเป็นภาพสะท้อนที่ดีของสภาพแวดล้อมทะเลอ่าวโตเกียว นอกจากเป็นอาชีพ ที่ยังดำรงคงอยู่แล้ว ยังสร้างรายได้มหาศาลจนเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งของประเทศ แรกเริ่มเดิมที จังหวัดชิบะ มีชาวประมง 19,000 คน...ราวปี 1955-1972 ระยะเวลา 15 ปีที่มีการเริ่มถมพื้นที่ในทะเล... ชาวประมงที่นี่เหลือแค่ 2,000 ชีวิตเท่านั้น โรงงานเข้ายึดพื้นที่ประมงแบบมัดมือชก ชาวประมงได้รับการเยียวยาช่วยเหลือ ขณะเดียวกันโรงงานปล่อยน้ำเสียผู้คนจากทั่วสารทิศย้ายเข้ามาอยู่ น้ำเสียจากบ้านเรือนก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว "ปัญหาน้ำเสีย ทำให้ปลาตาย หอยตาย ย้อนไปวันวานแน่นอนว่าชาวประมงกับโรงงานนั้นทะเลาะกัน ยืนกันคนละมุม...ราวทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา รัฐบาลกลางก็มีการออกกฎหมายสิ่งแวดล้อม ห้ามปล่อยของเสียลงทะเล" กฎหมาย นี้ออกมาพร้อมๆกับข้อตกลงร่วมระหว่างโรงงาน...จังหวัด...เขต รวมทั้งสหกรณ์การประมงชิบะ เพื่อจะร่วมกันแก้ปัญหา จับตาดูผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง "เรียกได้ว่ากว่าจะถึง ปัจจุบัน พวกเราผ่านประสบการณ์มามากมาย... กว่าจะไม่มีปัญหาในวันนี้" คัต ซึยามา ยังจำได้แม่นยำ โรงงานเข้ามาตั้งเป็นนโยบายจังหวัด ไม่ได้คิดอย่างอื่น เพียงแค่คิดว่าจ่ายค่าชดเชยชาวประมงให้เลิกอาชีพไป ไม่ได้คิดเลยไปถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมที่จะมีปัญหาตามมา "โรงงานจ่าย เงิน...ชาวประมงที่ไม่เลิก ก็ย้ายไปทำประมงในพื้นที่อื่นก็เท่านั้น" ชาว ประมง 17,000 ชีวิตที่เลิกอาชีพบรรพบุรุษ เพราะพื้นที่ทำประมงดั้งเดิมถูกใช้ทำโรงงาน บางส่วนจำนวนไม่น้อย...เมื่อไม่ทำประมงก็หันไปทำงานในโรงงาน สำหรับ คัตซึยามา แม้ว่าจะผ่านช่วงเวลาตรงนั้นมาเกือบ 40 ปีเต็ม ก็ยังจำได้ ไม่เคยลืม สหกรณ์ประมงจังหวัดชิบะ ก่อตั้งปี 1952 ช่วงที่มีปัญหาก็มีการรวมตัวไปปิดหน้าโรงงาน ทางทะเลก็เอาเรือไปขวาง รวมถึงเดินทางไปร้องเรียนหน่วยงานราชการ ยุคนั้นเรียกได้ว่าเป็นยุค ที่เมืองที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศญี่ปุ่น เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมกระจายตัวไปทั่ว โรงงานสร้างปัญหาน้ำเสีย ใหม่ๆทะเลสกปรกมาก ปลาจับมาได้ก็ไม่กล้ากิน ยุคนี้ดีขึ้นมากแล้ว มีการกำหนดค่าต่างๆด้านสิ่งแวดล้อม แต่ที่น่าเป็นห่วงคือน้ำเสียจากภาคการเกษตร สกปรกกว่า อันตรายกว่า...เพราะเจือปนมาด้วยปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฯลฯ เมืองอุตสาหกรรม กับการดำรงรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมไม่ให้เกิดมลพิษเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขกัน อย่างจริงจัง และมีมาตรการรองรับที่ชัดเจน เหลียวมองกลับมาที่มาบตา พุด เมืองอุตสาหกรรมที่น่าจะโชติช่วงชัชวาล วันนี้เดินหน้าไปถึงไหนกันแล้ว จะ เริ่มนับหนึ่งใหม่ หรือจะรอเวลาอีกเป็นสิบๆปีเพื่อให้อุตสาหกรรม... ชุมชน เยียวยากันและกันให้แนบแน่นเสียก่อน. ไทยรัฐออนไลน์ โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 8 กรกฎาคม 2553, 05:12 น.
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 08-07-2010 เมื่อ 13:18 |
#2
|
||||
|
||||
อ่านบทความนี้แล้วชอบใจมาก....
เมื่อไรบ้านเมืองเราจะคิดและทำได้อย่างญี่ปุ่นบ้างนะคะ ความเจริญทางอุตสาหกรรมจะได้เดินร่วมทางควงคู่กันได้กับความเจริญทางสังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ถ้าทำไม่ได้ก็อยากจะเดินกลับไปกินไปอยู่แบบพอเพียงเหมือนเมื่อ 50-60 ปีก่อนดีกว่า....
__________________
Saaychol |
#3
|
||||
|
||||
Udomlert
ตั้งกรรมการกันมา จวนจะ 9 เดือนแล้ว ยังไปไม่ถึงไหน ตราบใดที่ยังทำงานกันแบบลูบหน้าปะจมูก และคนในอุตสาหกรรมยังคิดกันว่า ไอ้ชาวบ้านนี่มันช่างวุ่นวายกันเสียจริง คนไม่กี่คนรับจ้างมาประท้วง ...ไม่ได้ดูตัวเองกันเลย เช่น ที่แอบปล่อยอะไรกันตอนกลางคืน แล้วก็มาโม้ว่า good governance
แล้วคนที่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหานี้ ก็ยังเพ้อเรื่อง .....แห่งชาติอยู่นั่นแล้ว
__________________
We make a living by what we get, we make a life by what we give. (Winston Churchill) |
#4
|
||||
|
||||
Udomlert
อูย มือพาไป ..ต้องเซ็นเซอร์ไม้นี่
__________________
We make a living by what we get, we make a life by what we give. (Winston Churchill) |
#5
|
||||
|
||||
เมืองคาวาซากิเป็นแบบอย่างที่ดีจริงๆครับ .. แต่เราจะทำได้อย่างบ้านเขาหรือเปล่า อันนี้ยังน่าสงสัย ..
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon |
#6
|
||||
|
||||
อืมมมมมม!!!! น่าคิดค่ะ น่าคิด
ที่สำคัญ...........ตรงไหนหนอ จะเป็นบริเวณที่เหมาะสม???????? อยากเห็นเร็วๆจัง เมื่อไหร่หนอ??????????? |
#7
|
||||
|
||||
Udomlert
หวังว่า คงไม่ใช่ Southern Seaboard นะครับ ตอนนี้คนสตูลก็เริ่มออกมาบอกเล่าความไม่ชอบมาพากล
__________________
We make a living by what we get, we make a life by what we give. (Winston Churchill) |
#8
|
||||
|
||||
ข่าวนี้อ่านแล้วสะท้อนสะท้านใจ.... มลพิษระยองน่าห่วง สารปรอทกระทบหญิงท้อง กลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม เผยผลการตรวจสุขภาพประชาชนพื้นที่จังหวัดระยอง พบประชาชนมี อนุพันธ์ของสารเบนซิน มากกว่าปกติ 3.1% เสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง และพบโลหะหนักประเภทปรอทและสารหนู อีก 34.8% อันตรายมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์... 14 ก.ค. น.ส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม เปิดเผยผลการตรวจสุขภาพประชาชนพื้นที่จังหวัดระยอง ตามโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนในเขตควบคุมมลพิษและนอกเขตควบคุมมลพิษ พบประชาชนมีอนุพันธ์ของสารเบนซินมากกว่าปกติ 3.1% และพบโลหะหนักประเภทปรอทและสารหนู อีก 34.8% ว่า แม้ผลการตรวจสุขภาพประชาชนในพื้นที่จังหวัดระยองครั้งนี้ จะพบสารอันตรายในระดับไม่สูงมากจนน่าวิตก และเป็นผลสำรวจที่เสร็จเพียง 80% ก็ตาม "ต้องยอมรับว่า มีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นจริงในพื้นที่ ซึ่งยังไม่สามารถระบุลงไปได้ชัดเจนว่า เกิดขึ้นจากสารพิษประเภทใดบ้าง แต่เชื่อว่าหากประชาชนยังคงได้รับสารพิษสะสมอยู่ตลอดเวลา ก็จะเกิดการสะสมและส่งผลเสียต่อสุขภาพรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะหากประชาชนยังคงต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษอยู่ ก็ยังวางใจไม่ได้ ยกตัวอย่างสารเบนซินที่พบ เป็นสารอินทรีย์ที่ระเหยง่าย และเป็นสารก่อมะเร็ง หากชาวบ้านยังคงต้องหายใจในอากาศที่มีสารเบนซินสะสมอยู่ทุกวันๆ ก็อาจสะสมพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้ หรือกรณีสารปรอท เป็นสารที่ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง อันตรายมากโดยเฉพาะในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หากได้รับสารสะสมในร่างกายปริมาณสูง อาจทำให้ทารกในครรภ์พิการได้" น.ส.เพ็ญโฉม กล่าว นอกจากนี้ ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม กล่าวอีกว่า ข้อเสนอแนะการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชน ควรดำเนินการใน 2 ส่วนหลักคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตั้งระบบการเฝ้าระวังมลพิษอย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ และอีกส่วนคือชุมชน ต้องมีการจัดระบบการเฝ้าระวังด้วยตัวเอง เช่น เมื่อได้กลิ่นผิดปกติจะต้องรู้แล้วว่าควรป้องกันตัวเองอย่างไร ส่วนกระทรวงสาธารณสุขจะต้องมีระบบการติดตามตรวจสอบสุขภาวะของประชาชนใน พื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการติดตามการการแพร่กระจายของมลพิษในพื้นที่ต่อไป
__________________
Saaychol |
#9
|
||||
|
||||
คนญี่ปุ่นมาพูดเรื่องมาบตาพุดเอง....ลองอ่านดูนะตะ จาก...คมชัดลึก http://www.komchadluek.net/detail/20100714/66568 [COLOR="Navy"]ญี่ปุ่นจี้นายกฯเร่งแก้ปมมาบตาพุดลั่นผิดหวังรัฐจัดการช้า-เตือนเสีย โอกาสแข่งขัน นายกฯ พบนักลงทุนญี่ปุ่น ปลอบใจให้รอรัฐแก้ปัญหาโครงการมาบตาพุด ด้านประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ สวนกลับผิดหวัง ชี้รัฐออกประกาศประเภทกิจการรุนแรงล่าช้า ทำให้วางแผนลงทุนลำบาก เตือนหากปล่อยนานไทยเสียโอกาสทางการแข่งขัน ญี่ปุ่นอาจหันไปลงทุนประเทศอื่นในอาเซียน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษงาน “นายกรัฐมนตรีพบนักธุรกิจญี่ปุ่น” จัดโดยสมาคมไทย-ญี่ปุ่น ร่วมกับหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (เจซีซี) โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญและบทบาทของนักลงทุน และนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น ที่สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา มีหลายบริษัทจากญี่ปุ่น เช่น มิตซูบิชิ โตโยต้า และนิสสัน ที่ประกาศแผนขยายการลงทูนในไทย เพื่อผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการให้ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทย พร้อมทั้งขอให้นักธุรกิจญี่ปุ่นอดทนรอการแก้ไขปัญหาในโครงการมาบตาพุด ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกำลังเร่งแก้ไขอยู่ นายจุนอิจิ มิโซโนะอูเอะ ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ กล่าวว่า ปัญหาที่ทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นกังวลใจในขณะนี้คือ ปัญหาการเมืองและปัญหาการลงทุนในโครงการมาบตาพุด โดยที่น้ำหนักจะอยู่ที่มาบตาพุดมากกว่า โดยเฉพาะความไม่ชัดเจนในการประกาศประเภทกิจการ หรือโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และสุขภาพ (เอชไอเอ) ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นต้องการเห็นการประกาศฉบับนี้ออกมาโดยเร็ว แม้นายกฯ ระบุว่าจะประกาศประเภทกิจการภายใน 2 เดือน แต่นักลงทุนมองว่าช้าเกินไป และมีผลต่อแผนการลงทุนในอนาคตของนักลงทุน “ความไม่ชัดเจนในการประกาศประเภทกิจการที่มีผลกระทบรุนแรงฯ ส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุนในอนาคตของนักลงทุน ทำให้เรารู้สึกผิดหวัง เพราะเรารอมานานแล้ว แม้ว่านายกฯ ระบุว่าจะประกาศประเภทกิจการที่อาจมีผลกระทบรุนแรงฯ ภายใน 2 เดือน แต่ถือว่ายังช้าไป นักลงทุนต้องการให้ประกาศโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม เห็นด้วยที่ไทยจะมีการประกาศมาตรฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่สูงขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม แต่นักลงทุนก็ต้องการให้ประกาศฉบับนี้ออกมาโดยเร็ว" นายจุนอิจิ ระบุ ทั้งนี้ หากไทยไม่มีการพัฒนาตัวเองก็จะสูญเสียอำนาจในการแข่งขัน เมื่ออาเซียนรวมตัวเป็นตลาดเดียวกันในปี 2015 การที่นักลงทุนญี่ปุ่นจะหันไปลงทุนประเทศอื่นๆ ในอาเซียนก็มีโอกาสสูง แต่ยอมรับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนฯ ของไทยมีความแข็งแกร่งมาก นักลงทุนญี่ปุ่นจะยึดไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ต่อไป ขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ก็มีศักยภาพมากเช่นกัน ด้านนายฮิเดโนริ มัสสอิ ประธานบริษัทโตชิบาไทยแลนด์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยการเมืองถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย แต่นักลงทุนญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นที่จะลงทุนในไทย หากพิจารณาระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับโอกาสการลงทุน พบว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ไทยยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนที่สุดขณะนี้
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 15-07-2010 เมื่อ 15:18 |
|
|