#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 29 ? 31 มี.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยทั่วไป หลังจากนั้นในวันที่ 1 - 3 เม. ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกจะมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 1 ? 3 เม. ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ชาวเกาะปันหยี หาหอยหวานประทังชีวิต หลังโควิด-19 ทำท่องเที่ยวฟุบไร้รายได้ ชาวบ้านเกาะปันหยี ลงหาหอยหวานริมชายหาด ลดค่าใช้จ่ายครัวเรือนฝ่าวิกฤติโรคโควิค-19 เนื่องจากขาดรายได้หลักจากธุรกิจท่องเที่ยว ทาง อบต.เกาะปันหยี เร่งหาทางช่วยเหลือความเป็นอยู่คนบนเกาะ เมื่อวันที่ 28 มี.ค.63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หน้าที่ทำการ อบต.เกาะปันหยี บ้านท่าด่าน ต.เกาะปันหยี อ.เมือง จ.พังงา มีประชาชนในพื้นที่นำอุปกรณ์ที่ทำขึ้นเองเข้าหาหอยหวาน บริเวณริมชายหาดบ้านท่าด่าน โดยชาวบ้านออกหาหอยหวานเพื่อนำประกอบอาหารลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เป็นผลกระทบเหตุการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ทำให้ประชาชนต้องดิ้นรนหาอาหารเพื่อประทังชีวิตในครอบครัว เนื่องจากชาวบ้านภายในเกาะปันหยี ส่วนมากประกอบอาชีพธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว พายเรือนำเที่ยว จำหน่ายสินค้าของที่ระลึก ได้รับผลกระทบ จนต้องอาศัย การออกหาปู หาปลา สัตว์น้ำในทะเล และทำประมงพื้นบ้าน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและการขาดรายได้ ส่วนหนึ่งที่ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับความช่วยเหลือจากท้องถิ่น ซึ่งทาง อบต.เกาะปันหยี ได้ประชุมสภา อบต.เกาะปันหยี เร่งด่วน หามาตรการช่วยเหลือความเป็นอยู่ของประชาชน พร้อมมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 เข้าสู่ชุมชน เนื่องจากชุมชนเกาะปันหยี อาศัยอยู่บนเกาะ มีความหนาแน่นของประชาชน ทำให้ทาง อบต. ต้องหามาตรการที่ต้องเข้าใจกันภายในชุมชน ทั้งการตรวจหาผู้เดินทางเข้า-ออก หมู่บ้าน และการเฝ้าระวัง นายดำรง สินโต นายก อบต.เกาะปันหยี กล่าวว่า สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุม ทางท้องถิ่นจึงต้องเข้าช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ความรับผิดชอบ สำหรับชาวบ้านในพื้นที่ขณะนี้หันมาจับอุปกรณ์ประมงพื้นบ้านมากขึ้น หลังจากอาชีพเกี่ยวเนื่องท่องเที่ยวต้องหยุดชะงัก ส่วนใหญ่ชาวบ้านหาสัตว์น้ำเพื่อประทังชีวิตในครัวเรือนเพื่อรอให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลาย เบื้องต้นทาง อบต.เกาะปันหยี อนุมัติ เงินช่วยเหลือ เร่งจ้างงานภายในพื้นที่เพิ่มขึ้น และเร่งหาแนวทางการช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เร็วที่สุด. https://www.thairath.co.th/news/local/south/1806549
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
มาตรการรัฐป้องกันฝุ่นควันภาคเหนือล้มเหลวซ้ำซาก ไฟป่ายังลามหนักทำเชียงใหม่จมใต้ฝุ่นหนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สั่งเพิ่มความเข้มงวดมาตรการป้องกันไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ ด้านองค์กรสิ่งแวดล้อมและเครือข่ายภาคประชาชนใน จ.เชียงใหม่ ชี้ นโยบายแก้ไขปัญหาหมอกควันต้องคำนึงถึงรูปแบบการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายจัดการรักษาป่า เมื่อวันที่ 27 มีนาคม รัฐมนตรีว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วราวุธ ศิลปอาชา เข้าร่วมเป็นประธานการประชุมติดตามการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน (ส่วนหน้า) จ.เชียงใหม่ พร้อมทั้งลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่เกิดไฟป่า ร่วมหารือแนวทางการฟื้นฟูสภาพป่าและให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ณ บริเวณพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ? ปุย เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสถานีไฟป่าฯ หน่วยงาน และชุมชนในพื้นที่ ร่วมกันดับไฟป่าในพื้นที่ป่าดอยสุเทพ //ขอบคุณภาพจาก: อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จากสถานการณ์ไฟป่าใน จ.เชียงใหม่ ยังคงลุกลามต่อเนื่อง แม้ว่าทีมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครดับไฟป่าจะระดมสรรพกำลังเร่งดับไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนืออย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่าสัปดาห์ โดยจากการตรวจสอบตำแหน่งจุดความร้อนด้วยดาวเทียมระบบ VIIRS โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ชี้ว่า เช้าวันนี้ (28 มีนาคม) พื้นที่ จ.เชียงใหม่ มีจำนวนจุดความร้อนถึง 518 จุด เพิ่มขึ้นจากจำนวนจุดความร้อนที่ตรวจเมื่อเมื่อบ่ายวานนี้กว่า 100 จุด มลพิษควันไฟป่าจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ? ปุย ยังส่งผลให้ปริมาณฝุ่นควัน PM2.5 ในพื้นที่ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ตอนช่วงเช้าของวันนี้ พุ่งถึงระดับวิกฤตถึง 1,000 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานของประเทศไทยที่ 50 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร กว่า 20 เท่า โดยในการนี้ วราวุธ ได้สั่งการให้ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัด มุ่งเป้าแก้ไขปัญหาสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันอย่างเร่งด่วน โดยเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจกับประชาชน ถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พื้นที่ป่า รัฐมนตรีว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้พิจารณาปรับเพิ่มงบประมาณสนับสนุน เพื่อจัดหาอุปกรณ์ที่มีความทันสมัย มีความเหมาะสมสำหรับเจ้าหน้าที่ทั้งทีมลาดตระเวน และทีมดับไฟป่า พร้อมทั้งพิจารณาแนวทางในการเสริมเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำในหมู่บ้านต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังการลอบเผาป่าในพื้นที่ที่พบว่ามีการเผาบ่อยครั้ง รัฐมนตรีว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วราวุธ ศิลปอาชา ลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่เกิดไฟป่า พื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ? ปุย //ขอบคุณภาพจาก: TOP Varawut ? ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา นอกจากนี้ วราวุธ ยังได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่เข้มงวดตรวจตราการบุกรุกป่าในช่วงที่ประกาศปิดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และหากพบผู้บุกรุกก็ให้เจ้าหน้าที่จับกุมดำเนินคดีโดยไม่มีข้อยกเว้น "อย่าลืมครับว่า 99% ของไฟป่า มาจากฝีมือมนุษย์ ในวันที่ประเทศชาติกำลังเผชิญภาวะโรคระบาด แล้วยังมีไฟป่าที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศมาซ้ำเติม สุดท้ายแล้วคนที่ได้รับผลกระทบก็คือครอบครัว ลูกหลาน เพื่อนบ้าน และตัวผู้เผาเองนะครับ ขอให้หยุดซ้ำเติมประเทศด้วยการกระทำแบบนี้" เขากล่าว อย่างไรก็ดี ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงความเห็นว่า ถึงแม้ว่าภาครัฐจะยกระดับการบังคับใช้มาตรการการจับกุมเอาผิดผู้บุกรุกลักลอบเผาป่าให้เข้มงวดขึ้น แต่ท้ายที่สุดแล้ว การดำเนินนโยบายห้ามเผาที่สั่งการตรงลงมาจากส่วนกลาง ก็จะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการลักลอบเผาป่าและมลพิษหมอกควันได้ ซ้ำร้ายยังเป็นการสุมไฟความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนในท้องที่ "จากการที่ภาคเหนือประสบกับปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ในช่วงฤดูแล้งของทุกปี แสดงให้เห็นว่ามาตรการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือของภาครัฐ ซึ่งมุ่งเน้นบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อควบคุมการเผาในที่โล่งและการเผาป่าให้เป็นศูนย์ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง กระนั้นเราก็ยังพบว่า รัฐบาลยังคงเดินหน้ามาตรการเช่นนี้ทุกๆ ปี โดยไม่มีการทบทวนข้อผิดพลาด หรือปรับปรุงแก้ไขเลย" ธารา กล่าว เขาชี้ว่า ความล้มเหลวของการแก้ปัญหามลพิษฝุ่นควันของรัฐ แสดงให้เห็นถึงปัญหาในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล ซึ่งยังคงติดกับกรอบวิธีแบบราชการ และการบริหารจัดการทรัพยากรแบบเก่า ที่มุ่งเน้นการออกนโยบายที่มีรูปแบบเดียวและสั่งการจากส่วนกลางเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างหลากหลาย ทั้งทางด้านสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และรูปแบบการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่ ดังนั้นมาตรการการแก้ปัญหาแบบรวมศูนย์ จึงไม่สามารถแก้ปัญหามลพิษหมอกควันภาคเหนือ ซึ่งในแต่ละพื้นที่ต่างก็มีความซับซ้อนไม่เหมือนกันได้ "ทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือ คือรัฐบาลปฏิรูปรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น และควรถ่ายโอนอำนาจในการตัดสินใจ และกำหนดทิศทางนโยบายแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของตนได้ เพราะในแต่ละชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือต่างก็มีภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรและป่าไม้ที่มีมาแต่เดิมอยู่แล้ว ให้ชาวบ้านเป็นผู้รักษาป่าและสามารถหาประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน" ธารา เสนอ ค่าตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM2.5 ที่อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 28 มีนาคม ข้อเสนอแนะของธารา สอดคล้องกับข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหามลพิษอากาศอย่างยั่งยืน โดยสภาลมหายใจเชียงใหม่ ที่เน้นย้ำให้รัฐบาลทบทวนกรอบนโยบายและแผนแก้ปัญหาฝุ่นควันตามวาระแห่งชาติ เพราะนโยบายดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาในพื้นที่ภาคเหนือได้จริง สนับสนุนให้มีการบริหารจัดการเขตป่าอนุรักษ์ระหว่างภาครัฐและชุมชน พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลไกเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและสิ่งแวดล้อม https://greennews.agency/?p=20604
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|